วันที่ 16 มกราคม 2548

Donation information
ข้อมูลสำหรับผู้บริจาค

ค้นหาคนหาย ผู้บาดเจ็บ ผู้เสียชีวิต ฯลฯ


ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง - ภาษาไทย

o ศูนย์รับข้อมูลกลางเกี่ยวกับผู้สูญหาย (เนคเทค) missingpersons.or.th [Thai/English]

o ศูนย์ข้อมูลกลาง สึนามิในประเทศไทย (กระทรวง ICT) thaitsunami.com

o กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย www.disaster.go.th

Useful Related Sites - English

o Government's "Official" Tsunami and Disaster Center thaitsunami.com

o Central registration system for missing persons missingpersons.or.th

o Tsunami Central Resource Directory www.onethailand.com. [English]

o Thailand Tsunami Relief Information (Internet Thailand) [English]

o I am Alive Alliance [ English and Japanese] - Tell us that you are ok.


รายงานพิเศษ
แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์แห่งปี พ.ศ. 2547
จัดทำโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

รวมรายงานการประเมินสถานการณ์สึนามิ โดยผู้เชี่ยวชาญจากหลายแหล่ง

ทวีศักดิ์ กออนันตกูล

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2548 ผมได้มีโอกาสประชุมกับ คุณวัฒนา กันบัว ซึ่งเป็นท่านหนึ่ง ที่ทำงานร่วมกับ ทีมผู้เชี่ยวชาญไทย-ญี่ปุ่น ที่ได้ออกเดินทางไปเก็บข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ และประเมินความรุนแรงของคลื่น ณ บริเวณต่างๆที่เกาะภูเก็ต รวมทั้งได้รับ Movie file ของการจำลองสถานการณ์ แผ่นดินไหว และ สึนามิ จากมหาวิทยาลัย Harvard ผลการศึกษาต่างๆ ดังกล่าว มีข้อมูลบางประเด็นที่น่าสนใจ ควรแก่การนำมาเล่ากันฟัง เพื่อช่วยให้เรา เข้าใจสถานการณ์ได้ดีขึ้น ในบทความนี้ ผมจะนำเสนอ เฉพาะประเด็นย่อๆ ที่ได้มีการเปิดเผย สู่สาธารณชนแล้ว พร้อมทั้งข้อมูล ที่ได้จากแหล่งอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม จาก CRISP/NUS สิงคโปร์ ที่เป็นหน่วยงานแรกของโลก ที่นำภาพถ่ายดาวเทียม ความชัดสูง (เห็นวัตถุขนาด 1 เมตร) ออกสู่สายตาของชาวโลก ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2547 และจัดแสดงภาพเปรียบเทียบ กับภาพก่อนเหตุการณ์ (ส่วนใหญ่ถ่ายไว้ เมื่อมกราคม 2546) สำหรับประเทศไทย ท่านอาจชมภาพความเสียหายได้เพิ่มเติมที่ สทอภ (GISTDA)

รายงานเรื่อง ความสูงของคลื่น ความลึกของการเข้าถึงพื้นดิน ความเร็วของน้ำ ทางแนวนอน [และเวลาที่เกิดคลื่นยักษ์ ซึ่งกำลังสรุปข้อมูลกันอยู่]

รายงานความแรงของคลื่นสึนามิ ที่ภาคใต้ของไทย วันที่ 26 ธันวาคม 2547

บริเวณที่ศึกษา

ความสูง ของคลื่น (.)

ระยะทางเข้าไป
ในพื้นดิน (.)

ความเร็วของวัตถุ
ลอยน้ำ (./วินาที)

เวลาที่คลื่นมา
ครั้งแรก

หมายเหตุ

หาดป่าตอง

5.88

N/A

N/A

N/A


หาดกะรน

4.92

147.62

N/A

N/A


หาดกะตะ

3.5

N/A

N/A

N/A


ท่าเรือ

3.83

N/A

N/A

N/A


หาดป่าหล่าย

3.28

N/A

N/A

N/A


คลองบางโรง

1.35

N/A

N/A

N/A


เกาะพีพี -
โรงแรมปรินเซส

6.3

N/A

N/A

N/A


เกาะพีพี -
อ่าวต้นไทร

5.3

N/A

N/A

N/A


หาดเขาหลัก

11.6

287

N/A

N/A


ที่มา: จากรายงานของ คณะผู้เชี่ยวชาญ ไทย-ญี่ปุ่น

จากตารางข้างบน จะเห็นได้ว่าความสูง (สูงสุด) ของคลื่นที่เข้าฝั่งแต่ละจุดมีขนาดไม่เท่ากัน และหาดเขาหลักมีคลื่นที่สูงที่สุด คือ 11.6 เมตร ส่วนระยะทางที่เข้าไปในพื้นดิน ที่เขาหลักก็กว้างมากที่สุดเช่นกัน คือเกือบ 290 เมตรจากฝั่ง

รายงานเกี่ยวกับเวลาโจมตีของคลื่นสึนามิในวันที่ 26 ธันวาคม 2547

จากการสอบถามจากหลายๆ ท่าน ผมพบว่าไม่มีผู้ใดได้สนใจบันทึกเวลากันมากนัก แต่ก็ทราบว่า คลื่นใหญ่ที่มีแรงทำลายสูง เข้าถึงฝั่งที่หาดต่างๆ ในเวลาที่ต่างกัน และทางฝั่งอันดามัน ของภูเก็ตจะโดนก่อน ด้านตะวันตกของเกาะภูเก็ต เกาะพีพี และกระบี่ ซึ่งจะโดนทีหลัง  นอกจากนี้ แม้บริเวณที่ไม่มีคลื่น ก็จะถูกกระทบจากน้ำขึ้นน้ำลง ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สั้นๆ ระดับน้ำที่สูงขึ้นสามารถ ยกระดับรถยนต์ อาคาร ลอยขึ้น และพุ่งเข้าฝั่งได้ด้วยความเร็วสูง และไปกระแทกสิ่งปลูกสร้างต่างๆจนเสียหายมาก ร่างกายของผู้ที่ถูกน้ำซัดจำนวนมาก มีบาดแผล อันเนื่องมาจาก การเคลื่อนตัวของระดับน้ำด้วย

สำหรับระดับน้ำขึ้น-ลง ที่มีการวัดแน่นอน มีความแม่นยำทางด้านเวลาที่บันทึก เท่าที่มีอยู่ในขณะนี้ คือ จากกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ซึ่งสถานีวัด ไม่ได้อยู่ด้านทะเลอันดามัน ระดับน้ำที่วัดได้ปรากฏว่า น้ำลดต่ำสุด เวลา 10:16 น. (2 ชั่วโมง 17 นาทีหลังจากแผ่นดินไหวครั้งแรก) และกลับขึ้นมาสูงสุดครั้งแรก เวลา 10:33 น.(2 ชั่วโมง 34 นาทีจากแผ่นดินไหวครั้งแรก) ตามผังบันทึกระดับน้ำ วัดที่เกาะตะเภาน้อย ข้างล่าง (รูปที่ 1)


รูปที่ 1 ระดับน้ำทะเลที่วัดได้ ที่เกาะตะเภาน้อย ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะภูเก็ต

เปรียบเทียบเวลาของกรมอุทกศาสตร์ กับการจำลองแบบของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้จัดทำคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ จำลองภาพคลื่นสึนามิ โดยกำหนดให้ต้นตอของคลื่น เกิดจากแผ่นดินไหวแบบ Megatrust ใต้มหาสมุทร ซึ่งเกิดขึ้นหลายครั้ง ตามแนวของแผ่น Tectronic ที่พื้นสมุทร เกิดความเคลื่อนไหวทางแนวดิ่งในเวลา 07:59 (GMT+7 หรือเวลาในประเทศไทย) จากนั้น (ชม ภาพ animation) ได้เกิดแผ่นดินไหวที่ตามมา (after shocks) อีกหลายครั้ง (ดูแผนที่และเวลาของ after shocks ที่นี่) ตามแนวตะวันตก นอกชายฝั่งสุมาตราตอนเหนือ ไปถึงบริเวณ หมู่เกาะอันดามัน และหมู่เกาะนิโคบาร์  จากแนวที่มีการสร้างคลื่น เป็นเส้นแนวเหนือใต้ จะทำให้เกิดการก่อตัว ของคลื่นสึนามิ ในเวลาที่เรียกว่า 0:00 เทียบกับเวลาแผ่นดินไหว ตามรูปที่ 2 และ  รูปที่ 3 แสดงผล จากการเดินภาพ ของการจำลอง มาถึงจุดที่ ระดับน้ำที่หาดป่าตอง (ชายฝั่งอันดามัน ของเกาะภูเก็ต) ลดลงต่ำสุด ที่เวลา 01h 35m (หนึ่งชั่วโมง 35 นาที นับจากแผ่นดินไหว) และ รูปที่ 4 แสดงการจำลองภาพ ณ จุดที่ระดับน้ำ ที่หาดป่าตอง มีระดับสูงสุด ที่เวลา 2h 05m (สองชั่วโมง 5 นาที นับจากแผ่นดินไหว)


รูปที่ 2 สถานภาพเมื่อเวลา 00h 00m นับจากเกิด Megatrust เป็นแนวเส้นเหนือใต้

รูปที่ 3 สถานภาพเมื่อเวลา 01h 35m เมื่อระดับน้ำที่หาดป่าตองลงต่ำสุด

รูปที่ 4 สถานภาพเมื่อเวลา 02h 05m เมื่อระดับน้ำที่หาดป่าตองขึ้นสูงสุด
ชมภาพ animation ของการก่อตัวของคลื่น (Animation provided by Kenji Satake, National Institute of Advanced Industrial Science and Technology, Japan)

สิ่งที่ต้องพิจารณา คือ เวลา 00h 00m ควรจะเป็นเวลากี่นาฬิกา ของวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ผมเชื่อว่า คลื่นสึนามิที่มาถึงภูเก็ต เขาหลัก ฯลฯ น่าจะเกิดจาก การเคลื่อนตัวของพื้นทะเลในแนวดิ่ง ตรงจุดที่ใกล้กับ หมู่เกาะอันดามัน และหมู่เกาะนิโคบาร์ ซึ่งหากอ่านจาก รายงานของ after shocks แล้ว ควรจะนับจากเวลา 01:22 UTC (08:22 น. เวลาไทย) ซึ่งเป็นช่วงที่มี after shock ระดับ 6.0 อีกสามครั้งในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน ดังนั้น หากใช้ Harvard Simluation เราคงได้ข้อสรุป ที่น่าสนใจหลายข้อ ว่า
  • 00h 00m คือ 08:22 น.
  • 01h 35m คือ 09:57 น. (เวลาที่น้ำทะเลที่หาดป่าตองลดวูบลงไปต่ำสุด
  • 02h 05m คือ 10:27 น. (เวลาที่ระดับน้ำที่หาดป่าตองขึ้นสูงสุด และมีคลื่นสึนามิเข้าครั้งแรก)
  • คลื่นสึนามิ เดินทางไปถึงศรีลังกา สร้างความเสียหายที่แรงกว่า และในเวลาที่ไกล้เคียงกับที่มาถึงภูเก็ต
  • ระดับน้ำสูงสุด ที่เกาะตะเภาน้อย ที่กองทัพเรือวัดได้ +1.10 ม. ณ 10:33 น. เป็นเวลาที่ ค่อนข้างสอดคล้อง กับ model
เนื่องจากผู้เขียนไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ และไม่ได้ถ่ายภาพ หรือวิดีโอ ที่มีการบันทึกเวลาลงในภาพ ดังนั้นจึงคงต้องรอพิสูจน์โดยผู้เชี่ยวชาญ (ตัวจริง) กันต่อไป การประมาณการเรื่องเวลา จากโมเดลของมหาวิทยาลัย Harvard นี้

ท่านผู้ใด มีข้อมูลหรือภาพถ่าย และการบันทึกเวลาของเหตุการณ์ ไม่ว่าที่ใด และท่านสนใจ จะช่วยให้การค้นหาเวลาของคลื่น แม่นยำขึ้น โปรดส่งภาพถ่าย หรือคำอธิบาย มาให้ผู้เขียนด้วย จะเป็นพระคุณยิ่ง โปรดส่งมาที่ htk (at) nectec (dot) or (dot) th [กรุณาเขียนเป็น email address ตามปกติ]

กลับไปบนสุด
ข่าวสารอื่นๆที่น่าสนใจ


  hits since 01 Jan 2003