รายงานพิเศษ  แผ่นดินไหว  คลื่นยักษ์สึนามิ  ความเสียหาย กลับสู่หน้าแรก
แผ่นดินไหวระดับ 8.9 ริคเตอร์ทางตะวันตกของเกาะสุมาตราตอนเหนือ
และคลื่นยักษ์ที่สร้างความเสียหายให้กับหลายประเทศในเอเชีย
วันที่ 26 ธันวาคม 2547 เวลา 07:58:50 (เวลาประเทศไทย)

จัดทำโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คลิก เพื่อชมแผนที่ขยาย
ชมแผนที่ขยาย

เมือวันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เวลาประมาณ 8:00 น.ได้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นในบริเวณตะวันตกของเกาะสุมาตราเหนือ ประชาชนคนไทยที่อยู่บริเวณฝั่งทะเลอันดามันในหลายๆพื้นที่ ได้รับผลกระทบอย่างแรงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ และในเวลาต่อมา ประมาณใกล้เที่ยง ปรากฏว่ามีคลื่นยักษ์ ซัดเข้าสู่ฝั่ง มีรายงานความเสียหายอย่างรุนแรงที่เกาะพีพี เกาะภูเก็ต กระบี่ พังงา ฯลฯ  ในต่างประเทศ มีรายงานผู้เสียชีวิตจำนวนมากที่ศรีลังกา อินเดีย

เว็บรายงานเกี่ยวกับแผ่นดินไหวนี้ จัดทำขึ้นเพื่อติดตามและศึกษาสถานการณ์ เพื่อบันทึกเหตุการณ์ และเชื่อมโยงถึงแหล่งความรู้ต่างๆสำหรับผู้สนใจ และผู้รับผิดชอบ นำไปใช้แก้ปัญหาต่อไป

หมายเหตุ ความถูกต้องและแม่นยำของข้อมูลเหล่านี้อยู่ในระดับ "ดีที่สุด" เท่าที่จะค้นหาได้ในว้นที่รายงาน คณะผู้นำเสนอจะพยายามปรับปรุงข้อมูลนี้ให้ทันสมัยเท่าที่จะทำได้ และข้อมูลทั้งหมด จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาและการอ้างอิงเท่านั้น


กลับไปบนสุด

ข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเอเชีย

หน่วยงานเจ้าของรายงาน USGS - United States Geological Survey (กรมสำรวจธรณีวิทยา กระทรวงมหาดไทยของสหรัฐอเมริกา)
http://earthquake.usgs.gov/eqinthenews/2004/usslav/
ความรุนแรง 8.9
วันที่-เวลา

วันอาทิตย์ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547 เวลา 00:58:50 (UTC)
เวลาในประเทศไทย 07:58:50
เวลาท้องถิ่นที่เกิดเหตุการณ์ (สุมาตรา) 06:58:50

ตำแหน่ง 3.298°N, 95.779°E
ความลึก 10 กม. (6.2 ไมล์)
บริเวญที่เกิด นอกชายฝั่งด้านตะวันตกของสุมาตราตอนเหนือ
แผนที่แสดงจุดที่มีรายงานแผ่นดินไหว  แผนที่แสดงขอบของ Tectonic plates ที่พื้นมหาสมุทรจาก NEIC
แผนที่แสดงจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหว

ระยะทางจากเมืองต่างๆ

250 กม. (155 ไมล์) ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ (SSE) ของบันดา อะเจะ  เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย
320 กม. (200 ไมล์) ทางทิศตะวันตกของ เมดาน เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย
1260 กม. (780 ไมล์) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ (SSW) ของกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
1605 กม. (1000 ไมล์) ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของนครจาร์กาต้า อินโดนีเซีย

ประมาณค่าความผิดพลาดของตำแหน่ง +/- 9.2 กม. (5.7 ไมล์) ทางแนวนอน; depth fixed by location program
ค่าทางวิทยาศาสตร์ Nst=157, Nph=157, Dmin=>999 km, Rmss=1.35 sec, Gp= 29°,
M-type=moment magnitude (Mw), Version=9
(อ่านความหมายของค่าต่างๆ)
ที่มาของข้อมูล U.S. Geological Survey, National Earthquake Information Center
World Data Center for Seismology, Denver
  [USGS NEIC (WDCS-D)]
Event ID usslav
รายงานเบื้องต้น

ที่บันดาอะเจะ มีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 9 คน  อาคารถล่ม และบริการโทรศัพท์ขาดตอน  คลื่นยักษ์ (สึนามิ) คร่าชีวิตคนจำนวนมากในประเทศไทยและศรีลังกา  มีรายงานผู้เห็นคลื่นยักษ์ที่บังคลาเทศ อินเดีย พม่า สิงคโปร์และประเทศไทย  นับเป็นแผ่นดินไหวที่แรงอันดับที่ 5 ของโลกตั้งแต่ปี ค.ศ.1900 (ความรุนแรง 9.5 ที่ชิลี)  และเป็นครั้งที่แรงที่สุดนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1964 (ความรุนแรง 9.2) ที่ Prince William Sound มลรัฐอลาสกา

หลังจากแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง จะมีแผ่นดินไหวตามมาอีกหลายครั้ง (after shocks) ซึ่งในกรณีนี้ แม้ after shock ก็มีความรุนแรงสูงกว่าระดับ 6 ที่บันดาอะเจะ

เขาศึกษาแผ่นดินไหวกันอย่างไร จึงมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญที่ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ติดตามความเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก แผ่นดินไหวและภูเขาไฟ คือเครื่องวัดความสั่นสะเทือนของพิภพ (Seismic monitoring station) ที่ติดตั้งอยู่ตามจุดต่างๆในโลก และวิทยาการสำคัญที่เกี่ยวกับด้านนี้ คือวิชาธรณีวิทยา (geoscience หรือ geology)  ความรู้ทางธรณีวิทยาและการสำรวจ ช่วยในการสำรวจแหล่งน้ำมัน ก๊าส และน้ำใต้ดิน  

สำหรับการบันทึกแผ่นดินไหวครั้งนี้ สถานีวัดความสั่นสะเทือนจำนวนมากที่ติดตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา มีรายงานบันทึกความสั่นสะเทือนประมาณ 1,200 วินาทีหลังจากเกิดเหตุการณ์ที่สุมาตรา ชมภาพรวมของบันทึกการสั่นสะเทือน 

การทำนายแผ่นดินไหวล่วงหน้า ยังเป็นหัวข้อการวิจัยที่ยังไม่มีคำตอบสำเร็จในปัจจุบัน  เราทราบชัดเจน ว่าจะมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวที่ไหน แต่ไม่มีวิธีการที่ทำนายล่วงหน้าแน่นอนก่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหว อย่างไรก็ดี เราสามารถขอสมัครเป็นสมาชิก ของ USGS เพื่อให้เขาส่ง email แจ้งให้เราทราบ เมื่อใดก็ตามที่เกิดแผ่นดินไหว  หากเราอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางในมหาสมุทร อย่างน้อย คลื่นสึนามิต้องเดินทางหลายนาทีก่อนที่จะมาถึงตัวเรา หากทราบ เราอาจจะเตรียมการป้องกันกันได้ดีกว่านี้

อ่านเพิ่มเติม:  การวัดความสั่นสะเทือน  วิชาธรณีวิทยา 
การเตรียมตัวเพื่อรับกับแผ่นดินไหว
รวมรายงานแผ่นดินไหวของโลกที่มีความรุนแรงกว่า 8.0 นับตั้งแต่ปี 1990 
รวมรายงานแผ่นดินไหวที่รุนแรงกว่า 7.0 ในปี 2004
รวมแผนที่แสดงความหนาแน่นของแผ่นดินไหว  
รวมข้อมูลแผ่นดินไหวที่อินโดนีเซีย 1990-2000 
รวมเหตุการณ์ที่เป็นข่าว
รายงานข่าวที่ขัดแย้งกันในเรื่องความแรงของแผ่นดินไหว

ข่าวและข้อมูลอื่นๆจาก USGS: Huge earthquake wreaks havoc   Earthquake hits Indonesia, tremors in Malaysia, Singapore, Bangkok  Earthquake data Historical Seismicity  Theoretical P-Wave Travel Times  Phase Data   

ท่านอยากจะเล่าประสบการณ์ให้ผู้อื่นทราบไหม?

หากท่านอยู่ในเหตุการณ์หรือมีข้อมูลจะแจ้งให้ผู้อื่นทราบ ขอเชิญนำมาเล่าสู่กันฟัง ร่วมรายงานเป็นภาษาอังกฤษ เขียนลงเว็บบอร์ดภาษาไทย


กลับไปบนสุด

ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับคลื่นยักษ์ สึนามิ

คลื่นยักษ์ หรือ สึนามิ เกิดจากแผ่นดินไหวใต้มหาสมุทรที่อยู่ในระดับแรงมาก  เมื่อคลื่นเดินทางมายังบริเวณที่มีความลึกที่ไม่มากนัก ขนาดความสูงของคลื่นก็จะมากขึ้นๆ ประมาณ 50-100 ฟุต (16 - 34 เมตร)  และเมื่อซัดเข้าฝั่ง อาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมที่มีระดับสูงกว่าระดับเฉลี่ยของทะเลถึง 1000 ฟุตได้ ในช่วงที่เป็นทะเลน้ำลึก เรือเดินสมุทร อาจจะไม่ทราบว่ากำลังจะมีสึนามิเข้าสู่ชายฝั่ง อ่านรายละเอียด 

การศึกษาเกี่ยวกับคลื่นยักษ์ในมหาสมุทรโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา มีวิธีการติดตามและบันทึก สภาวะของมหาสมุทรโดย สำนักงานบริหารด้านมหาสมุทรและภูมิอากาศแห่งชาติ (National Oceanic and Atmospheric Administration หรือ NOAA) ซึ่งได้ตั้งศูนย์วิจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางสมุทรศาสตร์แปซิฟิก  (Pacific Marine Environmental Laboratory หรือ PMEL) ขึ้นมาศึกษาเกี่ยวกับคลื่นสึนามิ ภายใต้โครงการวิจัยเกี่ยวกับคลื่นสึนามิ ที่ NOAA-PMEL

เขาศึกษาคลื่นยักษ์และสร้างระบบเตือนภัยได้อย่างไร

รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ได้ลงทุนทำการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสมุทรศาสตร์และชายฝั่งมาเป็นเวลานาน ได้มีการติดตั้งทุ่นวัดระดับน้ำทะเลและสภาพของคลื่นในทะเลจำนวนมาก เพื่อเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องและครบถ้วน ทำให้สามารถติดตามความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลได้ตลอดเวลา ได้ทั้งข้อมูลของน้ำขึ้น น้ำลง (tidal wave) และคลื่นยักษ์ และเมือเกิดเหตุการณ์พิเศษ เช่น สึนามิ ก็สามารถแจ้งเตือนภัยได้อย่างทันท่วงที

rotating globe
ชมข้อมูลรายงานสดจากสถานีวัดคลื่นในมหาสมุทรแปซิฟิก  แผนที่สรุปความสูงของคลื่นในมหาสมุทรทั่วโลก
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร

คลื่นยักษ์เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่าใด

ประมาณการอย่างหยาบๆ คือจากจุดกำเนิดมาที่เกาะภูเก็ต มีระยะทางประมาณ 500 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2-3 ชั่วโมง ดังนั้น ความเร็วของสึนามิเมื่อวันที่ 26 ธค. ก็น่าจะประมาณ 170 - 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

โครงการ Sea Watch ของประเทศไทย อินเดีย และเวียดนาม

โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อติดตั้งทุ่นเก็บข้อมูลในทะเล หรือ  National Data Buoy Programme (NDBP) จำนวน 15 สถานี สำหรับในประเทศไทย สภาวิจัยแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินโครงการ  ต่อมา ได้โอนหน้าที่ความรับผิดชอบไปยังสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) Seawatch Thailand

โปรดศึกษาจาก http://www.oceanor.no/products/systems/seawatch/sw_asia.htm

ข้อมูลสำหรับศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสึนามิ

West Coast & Alaska Tsunami Warning Center: Latest Tsunami Bulletin
Pacific Tsunami Warning Center: Latest Tsunami Bulletin
Tsunami Information Links


กลับไปบนสุด

ประมาณการความเสียหาย

จากข้อมูลทางโทรทัศน์ต่างๆในเวลาประมาณ 01:30 ของวันที่ 27 ธันวาคม 2547 ทำให้ทราบว่า ในหลายพื้นที่ คลื่นยักษ์ได้สร้ารงความเสียหายในวงกว้าง ทำให้การสื่อสารโทรคมนาคมกับโลกภายนอกถูกตัดขาดจนหมด จำนวนผู้เสียชีวิตในประเทศต่างๆในเวลานั้น ไม่ต่ำกว่า 5,800 คน (และตัวเลขคงจะเพิ่มขึ้นๆอีกหลายวัน) ประมาณได้ดังนี้

รายงานความเสียหายเบื้องต้น (01:30 ธันวาคม 2547) ข้อมูลจากแหล่งข่าวต่างๆ
พื้นที่ -
ประเทศ
ประมาณการ
จำนวนผู้เสียชีวิต
ประมาณการ
จำนวนผู้สูญหาย
ภูเก็ต พีพี กระบี่  - ไทย

280

หลายร้อย

อินโดนีเซีย

2000

มาก

มาเลเซีย

 

 

ศรีลังกา

3200

หลายร้อย

รัฐทมิฬนาดู อินเดีย

1725

 

หมู่เกาะอันดามัน/นิโคบาร์ อินเดีย

300

700

ส่วนอื่นๆของอินเดีย

300

1000

มัลดีฟส์

ขาดการสื่อสาร

หมายเลขโทรศัพท์เพื่อแจ้งหรือสอบถามเรื่องผู้เสียชีวิต: +66-2643-5262 or +66-2643-5000 ext 5003 and 5502. Fax: +66-2643-5256.
เว็บไซต์ในประเทศไทย: ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหวขึ้นที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงการต่างประเทศ


  hits since 01 Jan 2003