จัดทำโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภาพแสดงอาณาบริวณที่เกิดแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม
2547 ซึ่งมี Epicenter ที่มหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันตกของเกาะสุมาตราตอนเหนือ
ในเวลา 07:58 (ประเทศไทย) ซึ่งมีความรุนแรงในระดับ 8.9 พร้อมกับ Aftershock
อีกหลายครั้ง ซึ่งมีความแรงในระดับ 6 ถึง 7 ในหลายพื้นที่ ต่อมา
เวลาประมาณ 10:45 น. มีผู้รายงานว่าคลื่นขนาดความสูงไม่ต่ำกว่า 4-5 เมตร
เข้าสู่ชายฝั่งของไทยและเกาะต่างๆในทะเลอันดามัน
ส่งผลให้มีความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก โดยมีผู้รอดชีวิต
วิ่งหนีเข้าฝั่งและเข้นบนเนินที่สูงกว่าคลื่นได้
คลื่นยักษ์ ใช้เวลาเดินทางมายังภูเก็ต ประมาณ 2 ชั่วโมง 45 นาที นับจากเวลาที่เกิดเหตุการณ์ครั้งแรก ซึ่งมีความสั่นสะเทีอนส่งไปถึงสถานีวัดต่างๆในสหรัฐอเมริกากว่า 30 สถานี ทำให้สามารถคำนวณได้อย่างแม่นยำ ว่าจุดเริ่มของเหตุการณ์ (Epicenter) อยู่ ณ ที่ใด ทั้งนี้ สถานีวัดความสั่นสะเทือนในสหรัฐส่วนใหญ่ ได้บันทึกความเคลื่อนไหวที่เวลาประมาณ 08:20 (เวลาประเทศไทย)
ส่วนด้านฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรอินเดีย
มีรายงานความเสียหายจากคลื่นยักษ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ศรีลังกา อินเดียตอนใต้
(รัฐทมิฬนาดู และอันดระประเทศ)
ซึ่งมีความสูญเสียมากกว่าฝั่งประเทศไทยและมาเลเซีย
ส่วนหมู่เกาอันดามันและนิโคบาร์
ก็ได้รับรายงานว่ามีความสูญเสียอย่างมากเช่นเดียวกัน