Picture of NECTEC's logo งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ฯ
Picture of Thailand the Big Picture's logo เนคเทค
Picture of UK flag Picture of USA flag English/ Picture of Thai flag ไทย ทั่วโลก

ประธานในพิธีเปิด

งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ปี พ.ศ. 2548
23 - 28 สิงหาคม 2548
เวลา 9.00 - 21.00 น.
ณ ฮอลล์ 1 - 4
ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี

ประมวลภาพงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์
VDO นำเสนอผลงานของเนคเทค
รวมโปสเตอร์ความรู้ผลงานของเนคเทค
ความเป็นมา
มหัศจรรย์แห่งแสง (Miracle of Light)
ย้อนกลับหน้าแรก

Miracle of Light Multimedia e-Book : Miracle of Light

      แสง เป็นพลังงานที่อยู่ในรูปที่สายตามนุษย์สามารถจะมองเห็นได้ แสงเกิดจากการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า กำลังเคลื่อนที่ ลำแสงแรกสุดในจักรวาลนี้เกิดเมื่อไหร่ไม่มีใครรู้ อาจจะเกิดขึ้นมาก่อนหรือพร้อมๆ กับการระเบิดครั้งใหญ่ในจักรวาลที่เรียกกันว่า Big Bang เวลาผ่านไปอีกหมื่นล้านปี ระบบสุริยะจักรวาลพร้อมดาวเคราะห์บริวารได้กำเนิดขึ้น และถือเป็นการเกิดขึ้นของแสงที่ก่อให้เกิดชีวิตขึ้นมาในระบบสุริยะจักรวาล

     แสงจากดวงอาทิตย์สามารถจะให้พลังงานที่ก่อให้เกิด การเปลี่ยนแปลงมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการเติบโต ของพืช พืชสามารถแปรเปลี่ยนพลังงานในแสงอาทิตย์ไปเก็บ อยู่ในรูปของสารเคมีผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสง (Photosynthesis) พลังงานที่ได้จากน้ำมันปีโตรเลียม ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากซากพืชเมื่อหลายล้านปีก่อน ก็ล้วนแล้วแต่เป็นกระบวนการทางเคมีที่ได้มาพลังงานจาก แสงอาทิตย์ทั้งสิ้น

     ธรรมชาติของแสงสามารถจะเปล่ง (Emitted) หรือ แผ่รังสีจากอิเล็กตรอนที่วิ่งรอบนิวเคลียสของอะตอม แสงเป็นพลังงานที่อิเล็กตรอนปล่อยออกมาซึ่งเรียกกันว่า โฟตอน (Photons)

    วิทยาการของฟิสิกส์สมัยใหม่สามารถจะแบ่งสรรพสิ่ง ในธรรมชาติเป็นองค์ประกอบที่เล็กลงเรื่อยๆ แต่มหัศจรรย์ ยิ่งกว่านั้นคือ เราไม่อาจจะแบ่งแยกแสงได้ ไม่มีใครให้คำจำกัดความลงไปได้ว่าแสงคืออะไรกันแน่ นักวิทยาศาสตร์ ได้เรียนรู้จากการทดลองแล้วพบว่าแสงมีพฤติกรรมที่เป็นได้ทั้งอนุภาคและคลื่น (แม่เหล็กไฟฟ้า) ในเวลาเดียวกัน ในรูปแบบที่เป็นอนุภาค เรียกว่า โฟตอน (Photons) จะมีความแตกต่างไปจากอนุภาคของสสารทั่วไป ตรงที่โฟตอนไม่มีมวลและเคลื่อนที่ในสภาวะสุญญากาศด้วยความเร็ว คงที่ประมาณ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 186,000 ไมล์ต่อวินาที และแสงยังสามารถที่จะการเลี้ยวเบน เมื่อมี สิ่งกีดขวางได้เช่นเดียวกับคลื่น

     ตามทฤษฎีของไอน์สไตน์ กล่าวว่า ไม่มีอะไรจะมีความเร็วเท่ากับแสงได้อีกแล้ว เครื่องบินโดยสารที่บินอยู่ เหนือศีรษะของเรา ก็บินเร็วเพียง 500 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น กว่า 400 ปี ที่ได้มีการพัฒนาการของการวัดความเร็วแสงให้แม่นยำขึ้น จนในปี ค.ศ. 1983 ( พ.ศ. 2526) นักวิทยาศาสตร์ได้กำหนดว่า แสงมีความเร็วในสุญญากาศเท่ากับ 299,792,458 เมตรต่อวินาที

     ความรู้ในคุณสมบัติเหล่านี้ได้นำไปสู่การพัฒนาไปเป็น เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ได้อย่างมหัศจรรย์ หากเรามองรอบๆ ตัว จะพบว่า แสงได้เข้า มามีส่วนสำคัญในชีวิตประจำอย่างมากมาย

วัตถุสะท้อน แสงอาทิตย์นำภาพวัตถุนั้นมาเข้าสู่ตา ทำให้คนเรามองเห็นวัตถุต่างๆ รอบข้าง แสงอาทิตย์ ยังช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการสร้างวิตามินดี ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อกระดูกและฟัน

แสงอาทิตย์ ช่วยให้พืชสังเคราะห์แสง กลายเป็นอาหาร เลี้ยงคนและสัตว์ทั้งโลก และเมื่อซากพืชซากสัตว์เกิด การทับถมกันเป็นเวลานานๆ ก็จะเปลี่ยนรูปแบบของ การสะสมพลังงานกลายเป็นเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ ให้ขุดเจาะขึ้นมาใช้

โซล่าร์เซลล์ สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าได้

แสงอาทิตย์ ก่อให้เกิดความร้อนสะสมบนพื้นผิวโลก ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในสภาพภูมิอากาศ เช่น ฝนตก ลมพายุ การระเหยของน้ำ เป็นต้น

โลกเราใช้แสงสว่างทั้งกลางวันและกลางคืนเพื่อให้เกิดความสว่างในบ้าน สำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม ร้านอาหาร ถนน และอื่นๆ

อิเล็กตรอนที่วิ่งไปชนกับสารเรืองแสง จนเกิดแสงเรืองขึ้นมานำไปใช้ ประโยชน์ในการทำจอภาพ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ รวมทั้งหลอดไฟบางชนิด เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์

แสงเลเซอร์ในความถี่ต่างๆ ที่วิ่ง อยู่ในเส้นใยแก้วนำแสง เกิดการสะท้อนภายในสามารถใช้ในการสื่อสารเพื่อส่งข้อมูล จำนวนมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว

แสงยังสามารถนำไปใช้ในการแพทย์และอุตสาหกรรม เช่น เลเซอร์สำหรับการผ่าตัด เลเซอร์สำหรับการตัด วัตถุหรือแกะสลัก เลเซอร์สำหรับการวัดระยะทางหรือ วัดระดับ แสงอุลตร้าไวโอเล็ตสำหรับการฆ่าเชื้อโรค เครื่องตรวจวัดสารเคมี

ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์มากมายที่แสงเข้าไปมี บทบาท เช่น หัวอ่านเขียน ซีดีรอม รีโมตคอนโทรล กล้องดิจิทัล กล้องวีดิโอ

การหักเหของแสง ในตัวกลาง เช่น กระจก พลาสติก ทำให้ คนเราสามารถจะใช้ ประโยชน์จากการหักเหของ แสงในรูปแบบต่างๆ ได้อย่าง มากมาย เช่น เลนส์แว่นตา กล้อง จุลทรรศน์ กล้องส่องทางไกล

นี่คือที่มาของคำว่า "มหัศจรรย์แห่งแสง"


NSTDA  ||  NECTEC ||  BIOTEC  ||  MTEC ||  NITC ||  SOFTWARE PARK ||  GITS ||  e-Learning ||  BID ||  Courseware ||  BCP  ||  RDD

สงวนลิขสิทธิ์โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 โทร 02-564-6900 ต่อ 2346-55
E-mail : หรือ
แผนที่