ระบบบำบัดน้ำเสียของโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี
บ่อกรอง
1) ส่วนเกรอะ ทำหน้าที่แยกตะกอนและไขมันออกจากน้ำเสียพร้อมทั้งเกิดการย่อยสลายสารอินทรีย์ หรือความสกปรกต่างๆ โดยแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจน ( Anaerobic bacteria )ดังนั้นน้ำเสียที่ผ่านส่วนนี้ไปแล้วจะถูกลดความสกปรกลงได้ 30 - 40 %
2) ส่วนกรองไร้ออกซิเจน ( Anaerobic Filter Chamber ) ในส่วนนี้จะทำหน้าที่บำบัดน้ำเสียต่อจากส่วนแรกโดยอาศัยจุลินทรีย์ที่อยู่บนผิวและภายในช่องว่างของสื่อชีวภาพ ( Bio - media ) สื่อชีวภาพจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้จุลินทรีย์เกาะ จุลินทรีย์จะทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียจนกลายเป็นน้ำที่มีคุณภาพตามมาตรฐานน้ำทิ้ง
ถังบำบัดน้ำเสียที่ฝังอยู่ใต้ดิน
3) ส่วนตกตะกอน ( Sedimentation Chamber ) น้ำที่ผ่านการบำบัดจากส่วนกรองไร้ออกซิเจน แล้วจะมีคุณภาพดีขึ้น แต่อาจจะมีตะกอนจุลินทรีย์บางส่วนติดออกมาด้วย ถังบำบัดน้ำเสีย จึงจัดให้มีส่วนตกตะกอน เพื่อดักตะกอนในน้ำก่อนที่จะเข้าสู่ส่วนต่อไปของถังบำบัด ในส่วนตกตะกอนนี้จะช่วยให้ค่า BOD ลดลงได้ เนื่องจากการแยกตะกอนออกไป
4) ส่วนทำลายเชื้อโรคและดักซัลไฟด์ ( Disinflection And Desulfide Chamber ) ส่วนนี้จะทำหน้าที่ในการทำลายเชื้อโรคในน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วตลอดจนแก้ปัญหาเรื่องกลิ่นที่เกิดขึ้นจากขบวนการบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้ออกซิเจน โดยอาศัยคลอรีนในการทำงานซึ่งจะช่วยในการทำลายเชื้อโรคและทำปฏิกิริยากับสารละลายซัลไฟด์ในน้ำเสียก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำหรือท่อระบายน้ำสาธารณต่อไป ขนาดของถังส่วน Disinfection นี้ได้รับการออกแบบให้น้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วสามารถสัมผัสกับคลอรีนได้อย่างทั่วถึง และใช้เวลาผสมคลอรีนกับน้ำไม่น้อยกว่า 15 นาที