ประวัติความเป็นมา
เหล่านี้วิวัฒนาการแตกต่างกันไปตามยุคสมัย อักษรล้านนานั้น ชาวล้านนานิยมเรียกว่า " ตั๋วเมือง " เข้าใจว่าจะมีความเก่าแก่กว่าลายสือไทยของอักษรล้านนา ตั๋วเมืองที่ใช้บันทึกภาษาไทยถิ่นล้านนา หรือภาษาไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) ในอาณาจักรล้านนาไทยนั้นมีอยู่ 2 ชนิด คือ 1. ตัวอักษรฝักขาม เป็นตัวอักษรที่มีรูปร่างลักษณะที่มีรูปร่างลักษณะยาวคล้ายกับอักษรฝักขามสุโขทัย 2. ตั๋วมืองบางทีเรียกตัวธรรมหรืออักษรธรรม ซึ่งมีลักษณะกลมคล้ายอักษรมอญ ซึ่งเราจะเรียกว่า " อักษรล้านนา " ซึ่งเป็นอักษรของชนชาติไทยชนิดหนึ่ง มีใช้อย่างกว้างขวางหลายประเทศทั้งในประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศพม่าและประเทศจีน แต่จะเรียกแตกต่างกันไปตามชนชาติไทยถิ่นที่ใช้ เช่น ชาวไทยลื้อใช้เรียกว่า อักษรลื้อ ชาวไทยขึนใช้เรียก อักษรขึน เป็นต้น
เมื่อหลายร้อยปีผ่านไปทำใหัอักษรพ่อขุนรามคำแหง แต่ข้อนี้ยังหาข้อยุติไม่ได้ เพราะยังไม่พบหลักฐานศิลาจารึกที่จารด้วยตั๋วเมืองมีอายุเกินกว่าศตวรรษที่ 20 ทั้งนี้เป็นเพราะตั๋วเมืองนั้นเดิมคงไม่นิยมใช้จารลงในแผ่นศิลาหรือโลหะใดๆ ในสมัยโบราณให้ปรากฏ และประการหนึ่งตั๋วเมืองนั้นเหมาะสำหรับเขียนบาลีและพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าในใบลาน และสมุดข่อยมากกว่าที่จะเอา อักษรชนิดนี้ซึ่งมีลักษณะกลมๆ ไปจารลงในศิราจารึก ซึ่งทำได้ยาก ไม่เหมือนอักษรฝักขาม อักษรขอม และอักษรของพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งเป็นอักษรบรรจง มีลักษณะเป็นเหลี่ยมๆ ดังนั้นตั๋วเมืองจึงพบส่วนใหญ่ใช้จารในใบลานสมุดข่อยเป็นพื้น ซึ่งใบลานและสมุดข่อยเหล่านั้นจะมีอายุอยู่ได้ก็ไม่กี่ร้อยปีก็ผุกร่อน และมดปลวกทำลายได้ง่าย ถ้าไม่รักษาไว้ให้ดี ยิ่งถ้าเกิดศึกสงครามขึ้นเมื่อใดแล้วย่อมจะถูกทำลายจากฝ่ายข้าศึกได้โดยง่าย
เพราะฉะนั้นหากจะเอาหลักฐานทางโบราณคดีแล้วเราจึงไม่ทราบแน่นอนว่าตั๋วเมืองของไทยนั้นใครเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น และประดิษฐ์ขึ้นเมื่อใด คงเป็นเพียงข้อสันนิษฐานกันเท่านั้น อย่างไรก็ตามมีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพ่อขุนเม็งราย กษัตริย์องค์แรกของอาณาจักรล้านนาไทยเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น หลังจากที่เข้ายึดเมืองหริภุญไชยจากมอญได้แล้ว ดังปรากฏในศิลาจารึกมอญประมาณ พ.ศ. 1600 ถึง พ.ศ. 2000 โดยนำแบบอักษรมอญมาดัดแปลงขึ้น อย่างไรก็ตามหากเป็นจริง มีปัญหาว่า ก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะตีเมืองหริภุญไชย ชาวล้านนามีอักษรใช้หรือยัง และเมืองต่างๆ ในสมัยนั้น เช่น เมืองเงินยาง เชียงแสน เมืองพะเยา เมืองน่าน เมืองล้านช้าง เมืองเชียงรุ่ง เมืองเหล่านี้ต่างก็เป็นเมืองสำคัญของชนชาติไทยลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนและต่างก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด บนพื้นฐานของการเกี่ยวดองเป็นญาติกันทางการสมรส และสายโลหิตอยู่ในสมัยนั้น พ่อขุนเม็งรายทรงใช้อักษรอะไรในราชการในการติดต่อเชื้อเชิญซึ่งกันและกัน ในสมัยนั้น อักษรขอมหรือ ประเด็นนี้น่าตัดทิ้งไปได้ เพราะอักษรขอมไม่พบหลักฐานใดๆที่จารด้วยอักษรขอมหลงเหลืออยู่ในอาณาจักรล้านนาไทย หรือเมืองที่กล่าวถึงนี้เลย ข้อนี้น่าจะสันนิษฐานว่ามีใช้แล้ว อักษรนั้นน่าจะเป็นอักษรพื้นเมืองหรือตั๋วเมือง ที่เรียกว่าอักษรล้านนาหรือไม่ก็น่าจะเป็นอักษรฝักขาม (ถ้ามี) เหตุผลอีกประการหนึ่งคือตำนานต่างๆ เช่น ตำนานพระยาเจือง (พ.ศ. 1625 - 1705 ) ตำนานเมืองเชียงแสน ตำนานแสนหวี ฯลฯ เป็นต้น ตำนานเหล่านี้ได้กล่าวถึงเรื่องราวต่างๆ ในสมัยโบราณในยุคก่อนอาณาจักรล้านนาไทยไว้มากมาย และระบุเรื่องราวปีเกิดเหตุการณ์นั้นไว้อย่างชัดเจน แม้จะมีคลาดเคลื่อนอยู่บ้างก็เฉพาะในการคัดลอกสืบต่อกันมาเท่านั้นซึ่งนักประวัติศาสตร์ไทยต่างก็ยังเห็นความสำคัญและใช้เป็นหลักฐานค้นคว้าเรื่องราวในสมัย ประวัติศาสตร์ของชนเผ่าไทได้อยู่ อีกประการหนึ่งตั๋วเมืองนั้นเข้าใจว่ามาพร้อมกับพระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมอินเดียเป็นแน่แท้และโดยเหตุที่รูปลักษณะของอักษรล้านนามีลักษณะกลม คล้ายอักษรสิงหล อักษรมอญและพม่า ปัจจุบันยังมีอักษรหลายตัวที่ใช้ร่วมกันอยู่ จึงเชื่อว่าพระพุทธศาสนาที่ชาวล้านนานับถืออยู่แต่เดิมนั้นต้องได้รับโดยตรง มาจากสิงหล มอญและพม่าแน่ อาจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร กล่าวว่า ในปี 1912 จึงได้พระสุมนเถระจากสุโขทัยนำพระพุทธศาสนาไปเผยแพร่ในล้านนาไทยอีก ทีหนึ่ง ซึ่งขณะนั้นชาวล้านนานับถือพระพุทธศาสนาอยู่ก่อนแล้ว พระมหาสุมนเถระได้นำพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ พร้อมกับนำเอาอักษรฝักขามสุโขทัยไป เผยแพร่ด้วย โดยเหตุที่ตั๋วเมืองนั้นเป็นอักษรธรรมที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ใครจะข้ามเหยียบมิได้ เพราะเป็นอักษรที่ใช้จารึกพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จึงนิยมใช้กันเฉพาะ ในพระพุทธอาณาจักรเป็นส่วนใหญ่แต่ก็ใช้ในราชอาณาจักรด้วย เพราะสมัยนั้นมีเฉพาะตั๋วเมืองชนิดเดียวจึงต้องใช้เพียงอย่างเดียว ส่วนทางสุโขทัยคงใช้อักษร สองชนิด คือ อักษรขอมไทยใช้ในเฉพาะพุทธจักร ส่วนอักษรฝักขามใช้ในราชอาณาจักรทางอาณาจักรล้านนาไทย เมื่อเห็นท่านพระมหาสุมนเถระ นำเอา ฝักขาม ไปเผยแพร่(พ.ศ. 1912) จึงได้รับมาใช้ในราชอาณาจักรด้วย ดังปรากฏหลักฐานในจารึกหลักที่ 9 (วัดป่าแดด) และจารึกหลักที่ 62 ( วัดพระยืน ) จังหวัดลำพูน แต่หลังจากใช้อยู่ไม่นานนักก็เลิกใช้ และหันมาใช้ตั๋วเมืองอีกในสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1974) เพราะฉะนั้นในการทำสังคายนาครั้งที่8 (พ.ศ. 2020) ที่วัดโพธาราม (วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่ ) จึงใช้ตั๋วเมืองจารึกพระไตรปิฎก