ความเคลื่อนไหวของตั๋วเมือง พ.ศ. 300 การปรากฎของอักษรพราหมีในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชของอินเดีย พ.ศ. 450 การบันทึกผลการสังคายนาพระไตรปิฎกในลังกา พ.ศ. 1050-1150 มีการใช้อักษรปัลลวะในเขมร พุทธศตวรรษที่ 12-13 ปรากฎอักษรปัลลวะที่อาณาจักรศรีเกษตร พุทธศตวรรษที่ 12-13 ปรากฎอักษรปัลลวะที่ปฐมเจดีย์ ประเทศไทย พุทธศตวรรษที่ 17 อักษรปัลลวะพัฒนาเป็นอักษรมอญโบราณ พุทธศตวรรษที่ 17 มีการนำเอาอักษรมอญโบราณไปใช้ในพม่า พ.ศ. 1596-1641 มีการใช้อักษรมอญโบราณที่ลำพูนในรัชสมัยของพระเจ้าสวาธิสิธิ พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทย โดยทรงได้เค้ามาจากอักษรขอม พ.ศ.1836 พระยามังรายตีได้เมืองลำพูน พ.ศ. 1913 สร้างศิลาจารึกด้วยอักษรและอักขรวิธีสุโขทัยที่วัดพระยืน จังหวัดลำพูน พ.ศ. 1919 สร้างจารึกลานทองที่วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย พ.ศ. 1974 ปฏิรูปอักขระวิธีของอักษรล้านนาในสมัยพระเจ้าติโลกราช พ.ศ. 1999 สร้างจารึกด้วยอักษรสุโขทัยแต่มีอักขรวิธีล้านนาเข้ามาปน พ.ศ. 2008 สร้างจารึกตั๋วเมืองที่ฐานพระพุทธรูปวัดเชียงมั่น เชียงใหม่ พ.ศ. 2020 สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 ของโลก ที่วัดเจ็ดยอด เชียงใหม่ พ.ศ. 2038 จารใบลานตั๋วเมืองภาษาบาลีเรื่อง มิลินทปัณหา ลำปาง พ.ศ. 2101 พม่าตีได้เมืองเชียงใหม่และหัวเมืองล้านนา พ.ศ. 2318 พระเจ้ากรุงธนบุรีและพระเจ้ากาวิละขับไล่พม่าไปจากล้านนาไทย พ.ศ. 2427 กรุงรัตนโกสินทร์เริ่มเข้าควบคุมหัวเมืองล้านนาไทยอย่างใกล้ชิด พ.ศ. 2435 มิชชันนารีอเมริกันประดิษฐ์ตัวพิมพ์ตั๋วเมืองและเริ่มตั้งโรงพิมพ์ พ.ศ. 2436 ตั้งโรงเรียนฝึกหัดข้าราชการที่เชียงใหม่ ประกาศใช้อักษรไทยกลางเป็นอักษรราชการ พ.ศ. 2446 ตั้งโรงเรียนที่ใช้ภาษาไทยอย่ากว้างขวางในล้านนา พ.ศ. 2446 เริ่มพิมพ์นิตยสารรายเดือนตั๋วเมือง"สิริกิตติศัพท์" พ.ศ. 2449 มีโรงพิมพ์ตั๋วเมืองเพิ่มขึ้น พ.ศ. 2453 มิชชันนารีเริ่มพิมพ์วรรณกรรมท้องถิ่น พ.ศ. 2460 นายเมืองใจ ชัยนิลพันธ์ พิมพ์คร่าวซอเรื่องหงส์หิน พ.ศ. 2464 เปิดทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ พ.ศ. 2469 มิชชันนารีขายโรงพิมพ์ให้นายเมืองใจ ชัยนิลพันธ์ พ.ศ. 2495 นายเมืองใจ ชัยนิลพันธ์ เริ่มพิมพ์คร่าวซอด้วยอักษรไทยกลาง พ.ศ. 2509 ผู้ช่วยศาสตราจารย์มณี พยอมยงค์ เริ่มสอนวิชาล้านนาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประมาณปีพ.ศ.2543- พ.ศ. 2546 สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ได้มีการเปิดการเรียนการสอนวิชาเกี่ยวกับตั๋วเมือง วัดต่างๆและการรวมกลุ่มกันขึ้นมาของคนล้านนาในจังหวัดเชียงใหม่ได้เปิดสอนการเขียนตั๋วเมืองแก่ ผู้ที่สนใจในวันหยุดเสาร์อาทิตย์เช่น วัดสวนดอก,วัดลอยเคราะห์และวัดอื่นๆที่เปิดการสอนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มักจะมีการสอดแทรกการเขียนตั๋วเมืองเข้าไว้ด้วย โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยได้บรรจุการเขียนตั๋วเมืองไว้ในหลักสูตรวิชาเพิ่มเติมวิชาภาษาและวรรณกรรมล้านนาสอนโดยพ่อครูบุญคิด วัชรศาสตร์