พุทธศาสนานั้นมีคำสอนอยู่มากมาย
แต่สิ่งที่เป็นความเชื่อของชาวไทยมาแต่โบราณมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
และมักจะมีคำพูดติดปากกันบ่อยๆว่า เวรกรรม เหล่านี้
ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับอิทธิพลมาจากพุทธศาสนา นั่นก็คือจากคำสอนเรื่องกฎแห่งกรรมนั่นเอง
บางคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องงมงาย
บางคนก็เชื่ออย่างไร้เหตุผลจนวันๆไม่ทำอะไร เฝ้าแต่รอผลบุญให้ตกมาถึง
ซึ่งความคิดเหล่านี้ล้วนเป็นความคิดในทางที่ไม่สมควรทั้งสิ้น
เราจึงควรทำความเข้าใจกับ กรรมเสียใหม่
ส่วนใหญ่
- - คนเราทั่วไปจะไม่ค่อยได้สนใจและเห็นความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้สักเท่าไร
ตราบจนถึงวัยชรา ใกล้ตายแล้ว จึงค่อยมาสำนึกถึงกรรมต่างๆที่เคยทำไว้
และพยายามที่จะแก้ไขความผิดเหล่านั้น แต่หารู้ไม่ว่ากว่าจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว
ดังนั้นเราจึงควรมาค้นหาว่าเท่าที่เราจำได้
กรรมที่เราได้กระทำลงไปเป็นกรรมในชนิดไหน และมีการให้ผลอย่างไร
ตามการจำแนกกรรมเป็นประเภทในพุทธศาสนาเพื่อนๆจะเห็นได้ว่าคนทำดี
ย่อมมีบัญชีเป็นกุศลกรรมซึ่งเราจะสมมติให้เป็นบัญชีที่เป็นบวก
ยังมีเงินอยู่ในบัญชี แต่คนที่ทำชั่วจะมีบัญชีเป็นอกุศลกรรมซึ่งเราสมมติให้เป็นการติดลบในบัญชี
แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอย่างไหนที่เราทำจะเป็นกรรมดี
อย่างไหนที่เราทำจะเป็นกรรมชั่ว ดังที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสเอาไว้ว่า
กรรมใดที่ทำแล้วก่อให้เกิดความเดือดร้อนภายหลัง
กรรมนั้นถือเป็นกรรมชั่ว
กรรมใดที่ทำแล้วไม่เกิดความเดือดร้อนภายหลังกรรมนั้นถือเป็นกรรมดี
ดังนั้นสิ่งที่เราเห็นอาจมิได้เป็นความจริงเสมอไป
บางคนอาจทำชั่วแต่เราเห็นเค้าได้ดี แต่บางคนทำดีแต่กลับเห็นเค้าไม่ได้ดีเท่าคนอื่น
เหมือนกับว่าโลกนี้ไม่มีความยุติธรรม แต่นั่นอาจเป็นเพียงช่วงสั้นๆ
อาจเป็นเพราะกรรมที่เค้าเคยทำมาเพิ่งมาให้ผลในตอนนี้
และเมื่อกรรมเก่าหมดไป กรรมที่เค้ากระทำอยู่ในตอนนี้ก็จะเริ่มให้ผลในระยะที่ยาวกว่า
สำหรับคนที่ทำชั่วเช่นทุจริตโกงกินบ้านเมือง
อาจเห็นว่าตอนนี้เค้าเป็นอยู่สุขสบาย มีเงินให้ใช้จ่ายได้อย่างฟุ่มเฟือย
ครอบครัวมีฐานะร่ำรวยมั่งคั่ง นั่นก็คือเค้าจะได้รับผลที่ดีในตอนแรก
แต่ก็ไม่ถือว่าจะไม่ได้รับอกุศลกรรมเลย นั่นก็เพราะว่าในใจก็ยังมีความเดือดร้อน
กลัวว่าผู้อื่นจะจับได้เป็นต้น แล้วต่อมาภายหลังในระยะยาวหากมีผู้จับได้ก็อาจต้องเข้าคุก
ถูกยึดทรัพย์ หรือประหารชีวิต ก็ถือเป็นสิ่งที่ได้รับจากการกระทำซึ่งสามารถเห็นผลได้ชัดๆภายในชาตินี้
ไม่ต้องรอไปชาติหน้าชาติไหนเลย
แต่สำหรับคนที่ทำดีนั้น
เช่นมีความซื่อสัตย์สุจริตขยันทำงาน ประหยัดและอดทน
ในช่วงแรกเค้าอาจได้รับความเดือดร้อนว่าอาจมีฐานะการเงินที่ไม่ค่อยดี
แต่อย่างน้อยจิตใจของเค้าก็ไม่ต้องไปกังวลกับการที่กลัวว่าใครจะมาจับผิด
กลับจะมีแต่ความภาคภูมิใจว่าเราได้ปฏิบัติงานอย่างสุจริตต่างหาก
นั่นคือผลที่จะได้เป็นอันดับแรก และเมื่อเวลาผ่านไป
การประหยัดอดออมที่ว่า ก็จะทำให้เค้าสามารถสร้างฐานะขึ้นได้
และการทำงานอย่างสุจริตเมื่อมีผู้พบเห็นเข้าก็จะได้รับแต่การสรรเสริญยกย่อง
ผิดกับผู้ที่ทำชั่ว ซึ่งจะได้ผลในทางตรงข้ามกัน
จากเรื่องที่กล่าวมาแล้วหากเรามองแต่ในเวลาสั้นๆเพียงไม่กี่วันไม่กี่ปี
อาจทำให้เราไขว้เขวในสิ่งที่เราเห็นว่าความชั่วอาจเป็นความดี
ความดีอาจเป็นความชั่วไป ทำให้เราเอาอย่างในทางที่ผิดๆได้
แต่ถึงแม้ว่าเราทำดีในตอนนี้
แต่เราคิดว่าเราทำดีแล้ว เราคงไม่ต้องทำอีก นั่งนอนอยู่เฉยดีกว่าเดี๋ยวกรรมดีก็มาสนองเราเองนั้นไม่ได้
เนื่องจากเราลองคิดดูก่อนว่าหากเราไม่ทำอะไรเลย
ก็ย่อมจะไม่ได้รับอะไร ดังเช่นเราขยันอ่านหนังสือเมื่อใกล้สอบ
แต่กลับไม่ไปเข้าห้องสอบ นอนอยู่กับบ้านคิดว่าเราขยันแล้วเป็นกุศลกรรมเดี๋ยวก็มีคะแนน
เช่นนั้นก็ไม่ได้รับผลของกุศลกรรมที่ได้สะสมไว้จากการขยันอ่านหนังสือ
เนื่องจากนอกจากที่เราสะสมกุศลกรรมแล้วเรายังต้องขวนขวายเอาเองด้วย
ไม่ใช่นอนรอผลของกรรมนั้น นั่นย่อมเป็นเรื่องจริง
แต่สำหรับคนทำชั่วนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะมีความชั่วติดตัวเรื่อยไป
เราสามารถทำดีละลายความชั่วได้ ดังที่มีแก้วน้ำอยู่ใบหนึ่งมีน้ำสกปรกอยู่เต็มแก้ว
แต่เราได้ใส่น้ำสะอาดบริสุทธิ์ลงไปทีละน้อยทุกวัน
สักวันหนึ่งน้ำในแก้วนั้นก็จะใสสะอาด แต่เราไม่ได้เน้นว่าต้องทำดีให้มากๆ
แต่เราจะเน้นว่าต้องทำอย่างสม่ำเสมอต่างหาก เช่นเดียวกับเมื่อเราเคยทำไม่ดีต่อผู้อื่นไว้
เราสำนึกได้และทำดีทดแทน แต่การทำความดีมากๆเพียงครั้งเดียวย่อมไม่เท่าการทำดีน้อยแต่ทำบ่อยๆ
ซึ่งจะสามารถชนะใจผู้อื่นในด้านการมีความจริงใจอีกด้วย
หลักธรรมในข้อนี้ของพุทธศาสนาเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีการคอรัปชั่น การโกงต่างๆมากมายโดยที่ไม่เกรงกลัวต่อปาบกรรม
ทำให้สังคมสับสนวุ่นวาย แต่การเข้าใจในเรื่องกรรมผิดๆก็เป็นผลเสียเช่นกัน
ทำให้คนเราไม่ยอมทำงานโดยอ้างว่าทำดีแล้ว เดี๋ยวก็ต้องได้ผลดีตอบแทน
เรื่องกรรมเหล่านี้หากเข้าใจในทางที่ถูกแล้ว ก็จะทำให้สังคมเกิดความสงบสุข
โดยทึ่ผู้คนจะหันมาทำความดีกันมากขึ้น เห็นใจกันมากขึ้น
ช่วยเหลือกันมากขึ้น และขยันขันแข็งกันมากขึ้น
ทำให้สังคมเกิดความสงบสุข ทั้งสิ่งต่างๆก็จะเจริญไปพร้อมกับจิตใจของผู้คนที่เจริญขึ้น
มิใช่เจริญเพียงวัตถุภายนอก
เอาล่ะ
คราวนี้พวกเรามีข้อคิดข้อควรระวังในการทำความดีมาให้กับเพื่อนๆได้คิดใคร่ครวญก่อนทำว่า
มันจะเป็นความดีที่แท้จริงหรือเปล่า ทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นในภายหลังหรือเปล่า
ไปดูต่อกันเลย!!!
+++++ ทำความดีกันเถอะ
+++++ |