=+=+= สู่จุดหมาย/ตัณหา =+=+=

:::::::: ตัณหา//ความอยาก ::::::::
 

สามารถแบ่งได้เป็น

1. กามตัณหา คือ อยากได้ในสิ่งที่รักใคร่ พอใจ

2. ภวตัณหา คือ ความที่อยากให้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ตามใจเรา

3. วิภวตัณหา คือ ความที่ไม่อยากให้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ตามใจเรา

ตัณหาหรือความอยาก เกิดจากอวิชชา หรือความไม่รู้ หลงคิดว่าทุกสิ่งเป็นตัวเรา ของเรา ทำให้เราอยากโน่น อยากได้อยากเป็น อยากโน่นอยากนี่ไปเรื่อยๆ แต่เมื่อเราไขว่คว้าทำตามความอยากของเราไม่ได้ ก็ทำให้เราทุกข์ และถ้าเราทำได้เราก็เป็นทุกข์อีกเช่นกัน เช่นเราอยากเป็นหัวหน้าห้อง ถ้าเราไม่ได้เป็นเราก็เป็นทุกข์ว่าทำไมเราไม่ได้เป็น แต่ถ้าเราได้เป็นเราก็เป็นทุกข์อีกเช่นกัน

เนื่องจากแต่ละคนย่อมต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบ ยิ่งมีตำแหน่งสูง ก็ยิ่งต้องมีความรับผิดชอบมาก

สำหรับการอยากได้ถ้าเราได้มา ก็จะต้องคอยดูแลรักษา ไม่ให้หายหรือบุบสลาย ซึ่งเป็นไปได้ยาก สิ่งต่างๆไม่สามารถรักษาสภาพความใหม่ ความสวยงามได้ตลอดไป

หากเราอยากได้อยากเป็นโดยที่ไม่มีการคิดใคร่ครวญแล้ว สุดท้ายก็จะทำให้เราเป็นทุกข์นั่นเอง การที่เราจะระงับความอยากของเรานั้น เราต้องมาพิจารณาถึงไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นลักษณะสามัญของสิ่งทั้งปวง นั้นคือ ทุกสิ่งเป็นทุกข์ ไม่มีความจีรังยั่งยืน และไม่มีตัวตน นั่นคือ ทุกสิ่งที่เกิดมาย่อมเป็นทุกข์ในตัวเอง เมื่อเกิดขึ้น ก็มีการดำรงอยู่ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ และเสื่อมสลายไป ในที่สุด ก็กลับสู่ความไม่มีอะไรเลย เป็นความไม่มีตัวตน สิ่งที่เราอยากได้ อยากเป็นทั้งหลายก็เป็นไปเช่นเดียวกัน แต่คนเราจะไม่ให้มี ให้เป็นอะไรเลยก็ไม่มี ดังนั้นการที่เราจะมีจะเป็นอะไรนั้น เราจึงต้องใช้ปัญญาพิจารณาถึงความไม่ยั่งยืนของสิ่งต่างๆ และไม่เข้าไปมีไปเป็นอะไรตามความอยาก แต่ทำไปด้วยหน้าที่ที่ต้องทำ

 


หน้าหลัก
ทำไมจึงเรียนพระพุทธ
เค้าสอนอะไรบ้าง
ภาษิตมีไว้ทำไม
ทางแห่งชาวพุทธ
สมาธิ
สู่จุดหมาย
สรุปแล้ว...ได้อะไร