ความรู้เกี่ยวกับคอร์ต (Court Conciousness)
ความรู้เกี่ยวกับคอร์ตนี้ถือว่าเป็นพื้นฐานแรกของเทนนิส และเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดในการมุ่งสู่การเป็นนักเทนนิสที่ดี หากคุณมีความเข้าใจ อย่างถ่องแท้ในเรื่องคอร์ต คุณก็จะมีความเข้าใจเกี่ยวกับกีฬาเทนนิสด้วย ความรู้เกี่ยวกับคอร์ตนี้จะไม่มีติดมาเองตามธรรมชาติ ถึงแม้ว่าคนนั้น จะมีพรสวรรค์ในการเล่นกีฬาก็ตาม น้อยครั้งมากที่ผมจะเห็นผู้เล่นหัดใหม่มีความรู้เกี่ยวกับคอร์ตทันที เพราะผู้เล่นหัดใหม่จะรู้สึกว่ามีเส้นหลายเส้น ซ้าย ขวา หน้า หลัง ลายไปหมด และในเวลาต่อมาจึงจะค่อยๆเรียนรู้ว่ามีพื้นที่หน้าตาข่าย พื้นที่ท้ายคอร์ต ช่องเสิร์ฟ และยังมีอื่นๆอีกมากมายที่เรา จะต้องเรียนรู้เพิ่มเติม
1. เป้าหมายเจ็ดตำแหน่งบนคอร์ต(The Seven Targets on the Court) บนคอร์ตเทนนิสในแดนคู่ต่อสู้จะมีเป้าหมายเจ็ดตำแหน่ง
มุมที่ 1,2 มุมท้ายคอร์ต ใช้สำหรับการตีลูกท้ายคอร์ต เพื่อตรึงคู่ต่อสู้ไว้บริเวณท้ายคอร์ต ทำให้ลำบากต่อการวิ่งขึ้นหน้าเน็ตหลังจากที่ตีลูกตก บริเวณดังกล่าว
มุมที่ 3,4 มุมติดตาข่าย ใช้สำหรับการตีลูกหยอด เพื่อดึงคู่ต่อสู้ขึ้นหน้าตาข่าย ในกรณีที่คู่ต่อสู้ไม่ถนัดในการเล่นลูกวอลเล่ย์หรือหยอดเพื่อ ทำแต้มเลย ในกรณีที่คู่ต่อสู้เสียหลัก หรือยืนอยู่ไกลมาก
มุมที่ 5,6 มุมด้านข้างที่เส้นเสิร์ฟ(Side-T)เป็นมุมใช้สำหรับใช้ในการตีลูกเพื่อทำแต้มจากการตีวอลเล่ย์ และเป็นการตีวางลูกจากการตี กราวน์สโตรค เพื่อทำให้คู่ต่อสู้ต้องออกไปยืนตีในตำแหน่งนอกคอร์ตด้านข้างพื้นที่ทั้งสนามก็จะว่างและง่ายต่อการตีลูก เพื่อทำแต้มในโอกาสต่อไป
มุมที่ 7 มุมตรงกลางคอร์ตที่เส้นเสิร์ฟ เป็นมุมที่ใช้ตีสำหรับใช้ตีเมื่อพบกับคู่ต่อสู้ที่มีความสามารถตีลูกจากมุมด้านข้างได้ดีเพื่อ เป็นการบีบ บังคับให้คู่ต่อสู้มีมุมที่จะตีกลับมาแดนของคุณแคบลง และวางลูกลงเท้าเมื่อคู่ต่อสู้เสิร์ฟ แล้ววิ่งขึ้นหน้าตาข่าย ลูกนี้จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อใช้กับ คู่ต่อสู้ที่ตัวสูงโย่ง
หลังจากที่คุณเรียนรู้เป้าหมายเจ็ดตำแหน่งบนคอร์ตแล้ว ก็ต้องอาศัยการฝึกฝนเป็นอย่างมากเพื่อความชำนาญแบบฝึกที่ดีเพื่อการพัฒนา เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับคอร์ตอย่างง่ายๆก็คือ การขว้างลูกบอลไปยังเป้าหมายต่างๆในแดนตรงข้าม
กติกา อนุญาตให้กระดอนได้หนึ่งครั้งหรือจับลูกบอลที่ลอยอยู่บนอากาศได้ เมื่อรับลูกบอลไว้ได้แล้วให้ทั้งคู่รีบขว้างกลับไป-กลับมา แบบฝึกนี้ คุณและเพื่อนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับคอร์ตดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นแบบฝึกที่ดีสำหรับการฟิตร่างกาย ขั้นตอนต่อไป ก็ให้คนหนึ่งตีลูกบอลโดย ใช้ไม้เทนนิส และอีกคนใช้มือเปล่าจับลูกบอลและในที่สุดก็ให้ทั้งคู่ใช้ไม้เทนนิสตีโต้ลูกบอลไป-กลับ
แบบฝึกต่อไป ทำได้โดยให้คุณออกเสียงขาน"หมายเลข" ของเป้าหมายก่อนที่คุณจะตีไปยังเป้าหมายนั้น สำหรับนักเทนนิสก็ให้โค้ชหรือ เพื่อนขาน"หมายเลข" ของเป้าหมาย โดยให้เวลาซักเล็กน้อยก่อนที่คุณจะตีลูกบอล เพื่อว่าคุณจะได้ค้างไม้ไว้สักครู่จนกว่าจะถึงวินาทีที่คุณตีลูกบอล วิธีนี้เป็นแบบฝึกที่ดีมากในการฝึกซ่อนหน้าไม้ เพื่อที่จะหลอกคู่ต่อสู้และนำไปใช้ในการแข่งขันต่อไป
2. ตำแหน่งการยืนของผู้เล่นในการเล่นเดี่ยว
ก. | คือตำแหน่งเมื่อยืนอยู่หน้าตาข่าย |
ข. | คือตำแหน่งเมื่อยืนอยู่ท้ายคอร์ต |
ค. | คือตำแหน่งของลูกบอลที่จุดปะทะบอลของคู่ต่อสู้ |
จุดตัดของเส้นไข่ปลาในครึ่งขวาจะเป็น"จุดกึ่งกลางของคอร์ต"ไม่ใช่ที่จุดตัดของเส้นเสิร์ฟซึ่งยังมีหลายคนเข้าใจผิดอยู่ ถ้าคุณลากเส้นจาก ลูกบอลที่คู่ต่อสู้ตี โดยลากผ่าน"จุดกึ่งกลางของคอร์ต" คุณก็จะสามารถคำนวณได้ว่า คุณควรจะยืนอยู่ตำแหน่งใดบนเส้นทึบ ซึ่งเป็นตำแหน่งในการยืน เพื่อรับลูกบอลที่คู่ต่อสู้กำลังจะตีกลับมาหรือจะให้จำง่ายขึ้นก็คือ เวลาที่คุณยืนอยู่ท้ายคอร์ตให้คุณยืนทแยงกับลูกบอลที่คู่ต่อสู้จะตีกลับมา และเวลาที่คุณ ยืนอยู่หน้าตาข่ายให้คุณยืนอยู่ข้างเดียวกันกับลูกบอลที่คู่ต่อสู้จะตีกลับมา ตำแหน่งทั้งสองตำแหน่งนี้จะทำให้คุณยืนอยู่ตรงกลางของทิศทางที่คู่ต่อสู้จะมี โอกาสตีมาได้ในอัตราสูง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่โดยเฉลี่ยแล้วคุณเองจะสามารถวิ่งตีได้ในระยะทางเท่ากันทั้งสองข้าง เมื่อนักเทนนิสยืนอยู่ท้ายคอร์ต ในการตีลูกกลับไปทแยงการเคลื่อนที่กลับมายืนในตำแหน่งพร้อมที่จะรับลูกโต้กลับจากคู่ต่อสู้นั้นจะมีระยะทางสั้นกว่าการตีลูกไปขนานเส้นข้าง ในทางกลับกันกันจะเห็นว่าเมื่อนักเทนนิสยืนอยู่หน้าตาข่ายในการตีลูกกลับไปขนานเส้นข้าง การเคลื่อนที่กลับมายืนในตำแหน่งพร้อมที่จะ รับลูกโต้ กลับจากคู่ต่อสู้นั้นจะมีระยะที่สั้นกว่าการตีลูกไปทแยง ถ้าคุณใช้กฎนี้ก็จะไม่ค่อยพบว่าคุณยืนผิดตำแหน่ง และที่สำคัญคือเกมการเล่นของคุณจะพัฒนา ขึ้นทันที เพราะผู้เล่นส่วนใหญ่มักจะยืนผิดตำแหน่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับผู้เล่นทุกระดับรวมถึงนักเทนนิสในระดับแข่งขันด้วย