ฐานสามเส้าของเทนนิส
องค์ประกอบพื้นฐาน 3 ประการของกีฬาเทนนิส(The Three Basics Visions)
องค์ประกอบพื้นฐานสำคัญสามประการของกีฬาเทนนิส คือ
ก. | คอร์ต |
ข. | ลูกบอล |
ค. | นักเทนนิสทั้งสองฝ่าย |
1. วิธีการฝึกเพื่อเสริมสร้างพื้นฐานสามประการของกีฬาเทนนิสทำได้ดังนี้ คือ
1.1 การมองเห็นสามสิ่ง (The Three Visions) การมองเห็นสามสิ่งในขณะที่คุณเล่นเทนนิส คือ
ก. | การที่คุณรู้เรื่องเกี่ยวกับคอร์ต โดยรู้ถึง ตำแหน่ง ต่างๆที่คุณจะสามารถตีไปลงในแดนคู่ต่อสู้ |
ข. | รู้เรื่องเกี่ยวกับลูกบอล โดยรู้ถึงชนิดของลูกบอล วิธีการหมุน (Spin) ของลูกบอลที่ลอยมาและวิถีของลูกบอล |
ค. | ู้เรื่องเกี่ยวกับคู่ต่อสู้ โดยรู้ถึงท่าทางการตีลูกบอลของคู่ต่อสู้ |
ตำแหน่งยืนของคู่ต่อสู้และความสามารถของคู่ต่อสู้ในการตีแต่ละลูกในสถานการณ์ต่างๆจะเห็นได้จากกีฬาฟุตบอล วอลเล่ย์บอล บาสเก็ตบอล และ กีฬาประเภททีมอื่นๆนักกีฬาจะไม่พะวงอยู่กับการมองลูกบอลเพียงอย่างเดียว นักกีฬาจะต้องรู้ว่าตัวเองอยู่ที่ไหน เพื่อนร่วมทีมอยู่ที่ไหน และทีม คู่ต่อสู้อยู่ส่วนใดของสนาม จะต้องรู้ว่าคู้ต่อสู้กำลังทำอะไรอยู่ ทำอย่างไร และกำลังจะทำอะไรต่อไป ซึ่งก็ทำได้โดยการสังเกตจากตำแหน่งของเท้า ไหล่ จังหวะการเล่น ซึ่งเป็นองค์ประกอบของกีฬาประเภทนั้นๆเทนนิสก็เช่นกัน คุณไม่ควรที่จะพะวงอยู่กับการมองลูกบอลเพียงเพื่อที่จะตีกลับไปอย่างเดียว เพราะบางครั้งเมื่อคุณก้มหน้าก้มตาตีลูกบอลออกไปได้อย่างสวยงามและตรงตามทิศทางที่ตั้งใจ แต่ครั้นเงยหน้าขึ้นมาก็พบว่าคู่ต่อสู้ของคุณ ยืนรอ ลูกบอลไว้อยู่แล้ว จะเป็นอย่างนั้นอยู่เรื่อยไปหากคุณไม่เคยที่จะสนใจในตำแหน่งของคู่ต่อสู้เลย
มีนักวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องสายตากล่าวไว้ว่าเราจะไม่สามารถมองเห็นลูกบอลที่กำลังเคลื่อนที่มาหาเราในระยะห่างประมาณสามถึงหกฟุต ก่อนถึง จุดที่ไม้ปะทะลูกบอล ตัวเองก็เคยสงสัยเหมือนกันว่า ทำไมผมพยายามฝึกเท่าไหร่ก็ไม่เคยเห็นลูกบอลปะทะไม้เลย หลังจากที่ผมได้ศึกษาเรื่อง การ มองบอลแล้ว จึงได้รู้ว่าแม้นักเทนนิสในระดับอาชีพ ก็ไม่สามารถมองเห็นลูกบอลในจังหวะที่ไม้ปะทะลูกบอลได้เช่นกัน ถ้าเช่นนั้น ทำไมนักเทนนิส เหล่านั้นจึงตีถูกลูกได้ตรงกลางไม้อย่างสวยงามอย่างนั้นล่ะครับเหตุผลง่ายๆก็คือ นักเทนนิสสามารถที่จะคาดคะเนวิถีการเคลื่อนที่ของลูกบอล ต่อเนื่อง ไปจนถึงจุดปะทะบอลได้อย่างแม่นยำ เช่นเดียวกับการรับจานร่อนอ (Frisbee) ด้านหลังตัว ซึ่งผู้รับไม่อาจจะมองเห็นจานร่อนในขณะที่มือจับจานร่อน ได้ แต่อาศัยการคาดคะเนวิถีการเคลื่อนที่ของจานร่อนได้ แต่อาศัยการคาดคะเนวิถีการเคลื่อนที่ของจานร่อนได้อย่างแม่นยำ แบบฝึกสำหรับ การ มองเห็นพิเศษ (Special Visions) นี้ ทำได้โดยการเล่นเกม"ลิงชิงบอล" อย่างน้อยต้องมีผู้เล่น 3 คนขึ้นไป หรือฝึกการโยนลูกบอลสลับกัน สอง-สามลูก บนอากาศ
1.2 ความสัมพันธ์ของตา-มือ-เท้า (Eye-Hand-Feet Coordination)
ความสัมพันธ์ของตา-มือ-เท้า คือ ความสามารถของตาที่มองเห็นลูกบอลที่เคลื่อนที่ไป-มาบนคอร์ตเทนนิส หลังจากนั้นประสาทตาก็จะสั่งงานไป ที่สมองและสมองก็จะสั่งงานไปที่มือและเท้า เพื่อให้อวัยวะทั้งสองทำงานสัมพันธ์กันกับการมองเห็นของตา เราจะเห็นตัวอย่างของการสั่งงานของสมอง ในลักษณะดังกล่าวจาการเสิร์ฟลูก การโต้ลูกกราวน์สโตรคในสถานการณ์ปกติ การตบลูกเหนือศีรษะและการโต้ลูกต่างๆในสถานการณ์ปกติ การสั่งงานอีกระบบหนึ่งซึ่งไม่ผ่านสมอง โดยใช้ประสาทไขสันหลังเป็นตัวสั่งงานนั้นเรียกว่า ระบบประสาทอัตโนมัติ (Automatic Nervous System) ซึ่งเป็นการตอบสนองกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเหนือความคาดหมายหรือเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เราเรียกปฏิกิริยานี้ว่าปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (Reflex Action) เช่น การรับลูกที่มาอย่างรวดเร็วจากลูกเสิร์ฟ การดักเพื่อตีลูกวอลเล่ย์ การโฉบลูกบอล การโดนคู่ต่อสู้ตีลูกอัดใส่ตรงตัว และสถานการณ์ คับขันอื่นๆ
แบบฝึกความสัมพันธ์ของตา-มือ-เท้า
แบบฝึกที่ 1 "การจับบอลในท่าแขนปกติ"
ขั้นตอนที่ 1 | คนขว้างถือลูกบอลสองลูกในมือข้างเดียวกันในระดับใบหน้า คนฝึกยืนในท่าเตรียมพร้อมโดยงอเข่า และยกส้นเท้าขึ้นเล็กน้อย |
ขั้นตอนที่ 2 | คนขว้างลูกบอลทั้งสองลูกไปยังคนรับซึ่งยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามในระยะพอประมาณที่ลูกบอลจะกระดอนขึ้นในระดับหน้าอก ของคนฝึก |
ขั้นตอนที่ 3 | คนฝึกก้าวเท้าใดเท้าหนึ่งทำหน้าเพื่อการทรงตัวที่ดี พร้อมกับจับลูกบอลไว้ในท่าแขนปกติ โดยจับลูกบอลมือละหนึ่งลูก |
แบบฝึกที่ 2 "การจับบอลในท่าแขนไขว้"
ขั้นตอนที่ 1 | ท่าเตรียมตัวเช่นเดียวกันกับแบบฝึกที่ 1 ขั้นตอนที่ 1 |
ขั้นตอนที่ 2 | ท่าเตรียมตัวเช่นเดียวกันกับแบบฝึกที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 |
ขั้นตอนที่ 3 | คนฝึกก้าวเท้าใดเท้าหนึ่งทำหน้าเพื่อการทรงตัวที่ดี พร้อมกับจับลูกบอลไว้ในท่าแขนไขว้ โดยจับลูกบอลมือละหนึ่งลูก |
แบบฝึกที่ 3 "การจับบอลด้วยมือเดียว มืออีกข้างใช้ไม้เทนนิส"
ขั้นตอนที่ 1 | ท่าเตรียมตัว เช่นเดียวกันกับแบบฝึกที่ 1 ขั้นตอนที่ 1 และมือขวาจับที่คอไม้เทนนิส |
ขั้นตอนที่ 2 | ท่าเตรียมตัวเช่นเดียวกันกับแบบฝึกที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 |
ขั้นตอนที่ 3 | คนฝึกก้าวเท้าซ้ายนำหน้าเพื่อการทรงตัวที่ดีพร้อมกับจับลูกบอลไว้ด้วยมือซ้าย มือข้างขวาใช้ไม้เทนนิส ตีลูกกลับไป ที่คนขว้าง |
แบบฝึกเหล่านี้จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าผู้เล่นคนใดมีพรสวรรค์ในเรื่องความสัมพันธ์ของตา-มือ-เท้าและผู้เล่นใดที่ยังคงฝึกเพิ่มเติมอีก ถ้าไม่เคยเล่นกีฬา มาก่อนเลยสิ่งที่น่าหนักใจยิ่งกว่านั้นก็คือ จะไม่มีความสัมพันธ์ของตา-มือ-เท้า จะเริ่มโดย
ก. | ใช้มือเปล่าโยนลูกบอลขึ้นบนอากาศแล้วจับ |
ข. | ขว้างลูกบอลลงพื้นแล้วก็จับอย่างง่ายๆ |
ค. | ให้เดาะลูกบอลด้วยหน้าไม้ขึ้นบนอากาศ |
ง. | เคาะลูกบอลลงพื้นด้วยหน้าไม้ |
จ. | ใช้ขอบไม้เทนนิสเคาะบอลลงบนพื้น |
ฉ. | เดาะลูกบอลโดยใช้ขอบไม้เทนนิสขึ้นบนอากาศ |
สองวันต่อมาก็สามารถที่จะโต้ลูกในคอร์ตเล็ก (Mini-Tennis) ได้มากกว่าหนึ่งร้อยครั้งต่อเนื่องกัน ทั้งนี้ความยากง่าย ก็จะขึ้นอยู่กับระดับของผู้เล่น ความคิด (Concept) นี้นิยมใช้กันมากในหมู่ประเทศที่มีความก้าวหน้าในกีฬาเทนนิสทั้งในทวีปยุโรป และทวีปอเมริกา
1.3 เทนนิสคอร์ตเล็ก (Mini-Tennis)
เทนนิสคอร์ตเล็ก คือ บริเวณพื้นที่สนามตั้งแต่ตาข่ายถึงเส้นเสิร์ฟทั้งสองข้างของช่องเสิร์ฟ าการเล่นเทนนิส คอร์ตเล็กนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการฝึก พื้นฐานสามประการของกีฬาเทนนิส โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกความเข้าใจเกี่ยวกับคอร์ต ในระยะเวลาที่ผ่านมา ได้พยายามเปลี่ยนแปลงระบบ วิธี การสอนอยู่ตลอดเวลา แต่สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยคือการเล่นเทนนิสคอร์ตเล็ก เพราะที่บริษัทปีเตอร์ เบอว์วอช อินเตอร์เนชั่นแนล ก็ใช้วิธีการนี้ อยู่เช่นกัน คนส่วนมากมักจะชอบตีอัดลูกแรงๆจากท้ายคอร์ตเพราะว่าเห็นนักเทนนิสในระดับแข่งขันตีกัน คนเหล่านี้หารู้ไม่ว่านักเทนนิส ในระดับ แข่งขันนั้นใช้วิธีการเล่นเทนนิสคอร์ตเล็กเป็นการวอร์มร่างกายและจังหวะการตีลูกก่อนที่จะตีลูกบอลแรงขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่ดีในการเล่นเทนนิส คอร์ต เล็ก สำหรับผู้หัดใหม่ก็คือ ความสามารถในการตีโต้ลูกข้ามตาข่ายได้หลายๆครั้งในทันทีที่เล่นเทนนิส สำหรับผู้เล่นที่มุ่งแต่จะตีแรงๆและคิดว่า การเล่น เทนนิสคอร์ตเล็กเป็นของสำหรับเด็กหรือผู้เล่นหัดใหม่นั้นก็ขอให้คุณจงถ่อมใจลงบ้าง เพราะการเล่นเทนนิสคอร์ตเล็กนั้นเป็นสิ่งที่นักเทนนิส ระดับ โลก ชาวออสเตรเลี่ยน คือ ร็อด เลเวอร์ (Rod Laver)และโทนี่ โรช (Tony Roche) ก็ยังใช้เป็นการวอร์มร่างกายและฝึกฝน นักเทนนิสในระดับ อาชีพ ทั่วโลกก็ทำเช่นเดียวกันในปัจจุบันนี้
แบบฝึกการเล่นเทนนิสคอร์ตเล็กประเภทเดี่ยว
กติกา
1. | ห้ามตีลูกบอลแรง |
2. | ห้ามตีลูกบอลบนอากาศ และอนุญาตให้กระดอนได้เพียงครั้งเดียวในแดนของคุณ |
3. | สำหรับนักกีฬาแข่งขัน ทุกๆลูกที่ตีให้ใช้วิธีการตีแบบอันเดอร์สปิน (Underspin) ซึ่งคนไทยมักจะเรียกว่าลูกสไลซ์ (Slice) โดยตีตัด ให้ลูกบอลผู้เล่นคนใดสามารถทำแต้มได้ถึง 11 แต้มก่อนจะเป็นผู้ชนะ |
แบบฝึกที่ 1 "ทำความคุ้นเคยกับไม้เทนนิสและลูกบอล"
ขั้นตอนที่ 1 | ใช้ลูกบอล 1 ลูก ตีโต้ไปในครึ่งคอร์ตเล็กที่อยู่ตรงข้ามกัน ตีตามกติกา |
ขั้นตอนที่ 2 | จากขั้นตอนที่ 1 เมื่อเกิดความชำนาญแล้ว ให้ใช้ลูกบอล 2-3 ลูก โต้ลูกในขณะเดียวกัน แบบฝึกหัดนี้จะทำให้เกิด ความคุ้นเคยกับไม้เทนนิสและลูกบอลและสามารถบังคับการตรงตีได้ด้วย |
แบบฝึกที่ 2 "ฝึกตีทิศทาง"
ขั้นตอนที่ 1 | ผู้เล่นทั้งสองจะยืนทแยงมุมกันบนคอร์ตด้านซ้ายหรือขวาก็ได้ ตีโต้ลูกทแยงในครึ่งคอร์ตเล็กที่ตรงข้ามตาข่ายและ ทแยงกัน ตีตามกติกา |
ขั้นตอนที่ 2 | เหมือนแบบฝึกหัดที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 การฝึกทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณได้รู้ สัมผัสถึงทิศทางและเข้าใจในการที่จะตีบอลให้ไป ในตำแหน่งที่คุณต้องการได้ |
แบบที่ 3 "รางรถไฟ"
ขั้นตอนที่ 1 | ใช้พื้นที่ระหว่างเส้นข้างเดี่ยว และเส้นข้างคู่ หรือภาษาที่ไม่เป็นที่รู้จักกันในบรรดานักเทนนิส บ้านเราเรียกง่ายๆ ว่า "รางรถไฟ" |
ขั้นตอนที่ 2 | ให้ตีโต้ลูกไป-กลับ ในช่องรางรถไฟ โดยไม่วางเป้า ช่องนี้มีขนาด 4 ฟุตครึ่งจึงทำให้คุณไดฝึกการบังคับลูกบอลได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถฝึกสมาธิและการบังคับบอลได้ดีทีเดียว |
แบบฝึกที่ 4 "เป้านิ่ง บนรางรถไฟ"
ขั้นตอนที่ 1 | เหมือนแบบฝึกที่ 3 ขั้นตอนที่ 1 และ 2 โดยใช้เป้าวางไว้ |
ขั้นตอนที่ 2 | วางเป้าที่ช่องรางรถไฟในแนวตรงกับเส้นเสิร์ฟ โดยพยายามเล็งตีลูกบอลให้โดนเป้า แบบฝึกนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจถึง"ความลึก"ของคอร์ต คือการที่คุณรู้จักการตีลูกให้สั้นก็ได้ ลึกก็ได้ ในหลายๆระดับ ของ ความลึกบนคอร์ต |
แบบฝึกการเล่นเทนนิสคอร์ตเล็กประเภทคู่
กติกา
1. | เหมือนกับการเล่นเทนนิสคอร์ตเล็กประเภทเดี่ยว ข้อ 1, 2 และ 3 |
2. | ให้ผู้เล่นแต่ละทีมผลัดกันตีคนละครั้ง (เหมือนการเล่นปิงปองประเภทคู่) |
เทนนิสคอร์ตเล็กนี้จะสอนให้คุณมีความคิดและความเข้าใจที่ถูกต้องต่อกีฬาเทนนิส ซึ่งจะช่วยไม่ให้คุณพะวงอยู่กับท่าทางตามแบบฉบับเก่า แต่ทำให้คุณรู้เกี่ยวกับคอร์ตมากขึ้น การเคลื่อนที่ในเทนนิสคอร์ตเล็กนี้จะเหมือนกับการเคลื่อนที่ของเทนนิสคอร์ตใหญ่ เพราะเป็นการเคลื่อนที่ แบบซอยเท้าในสนามที่มีขอบเขตจำกัด กติกาก็เหมือนกันในแง่ที่ว่ามีสิ่งกีดขวางคือตาข่ายและต้องตีลูกบอลให้ลงในสนามที่มีขอบเขตจำกัด
เทนนิสคอร์ตเล็กนี้ยังสามารถช่วยให้ผู้เล่นหัดใหม่ไม่ต้องมาคอยคิดถึงสิ่งต่างๆมากมายเมื่อจะตีแต่ละสโตรค เช่น การหันข้าง การเปลี่ยนกริป การก้าวไปข้างหน้า หัวไม้ต่ำหรือสูง เพราะการเรียนรู้ของกล้ามเนื้อนั้นจะต้องใช้เวลาที่จะปรับสภาพการเคลื่อนที่ตามแบบอย่างของกีฬาเทนนิส คุณอาจจะเคยเห็นผู้เล่นหัดใหม่ ทำท่าถูกต้องอย่างที่ครูผู้สอนเทนนิสบอกให้ทำ แต่ปรากฏว่าตีลูกบอลผิดพลาดหรือไม่ก็ตีไม่ถูกลูกบอลเลย เหตุการณ์ เช่นนี้จะทำให้ผู้เล่นเกิดอาการงง สับสน และขาดสมาธิ คุณจะเห็นได้ว่าประโยชน์ของเทนนิสคอร์ตเล็กนั้นมีมากมาย และใช้ได้ดีกับผู้เล่นหัดใหม่และ สำหรับนักเทนนิสในระดับแข่งขัน สามารถฝึกการตีแบบอันเดอร์สปิน ให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นทำได้โดย หน้าไม้หงายอยู่ในท่าสวิงไม้ไปข้างหน้าสั้นๆ เท้าซ้ายเฉียงไปข้างหน้า มือซ้ายกางออกเพื่อการทรงตัว ใช้ข้อมือเร่งความเร็วหัวไม้จนกระทั่งปะทะลูกบอล จึงล็อคข้อมือและรักษาระดับข้อมือ กับ หัวไม้ ให้ขนานกับตาข่ายเอาไว้ หน้าไม้จะยังคงหงายขึ้นฟ้า ฟอลโล่ว์ทรูสั้นๆเลยจุดปะทะบอลไปข้างหน้าประมาณ 6-10 นิ้ว การฝึกเช่นนี้จะทำให้ นักเทนนิสวอลเล่ย์ได้ดีขึ้นอีกด้วย และคุณยังสมารถฝึกการตีแบบท็อปสปิน(Topspin) ให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน ทำได้โดยหน้าไม้คว่ำอยู่ ในท่าสวิงไม้ไปข้างหลังสั้นๆในกรณีฝึกกับลูกบอลที่พุ่งมาด้วยความเร็ว และสวิงไม้ไปข้างหลังกว้างขึ้นในกรณีฝึกกับลูกบอลที่มาช้า ให้สะบัดข้อมือเพื่อ เพิ่มความเร็วของหัวไม้ปะทะลูกบอล จึงล็อคข้อมือ หน้าไม้จะขนานกับตาข่ายที่จุดปะทะบอล ฟอลโลว์ทรูโดยใช้สันไม้ตั้งฉากกับพื้น มืออยู่ระดับหน้า และ ไม้ตั้งฉากกับตาข่าย เน้นการตีทั้งสองวิธีนี้ให้ลูกบอลตกบริเวณเส้นเสิร์ฟ เมื่อคุณฝึกจนชำนาญแล้วจะสามารถตีลูกได้รุนแรงขึ้น