มาตรการในการตรวจสอบสำหรับลูกวอลเล่ย์
( Volley Checkpoints )
1. ความเข้าใจที่ผิดในการตีลูกวอลเล่ย์ ( Misconception )
คำพูดที่นำไปใช้ในการเล่นลูกวอลเล่ย์ ที่ทำให้นักเทนนิสเข้าใจผิดกันได้โดยง่าย เช่นการชกลูกวอลเล่ย์ ( Punching the Volley ) หรือการตีลูกบอลให้หน้าตัวมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
การชกลูกวอลเล่ย์ นั้นจะทำให้ผู้เล่นเหยียดแขนตึง โดยเฉพาะการตีในด้านโฟร์แฮนด์ จะถือว่าเป็นท่าอันตรายที่มีโอกาสทำให้เกิด การบาดเจ็บได้สูง เพราะบริเวณปะทะบอลในด้านโฟร์แฮนด์นี้จะมีระยะทางประมาณ 6-10 นิ้วเท่านั้น ท่าทางที่ถูกต้องจึงควรจะเป็นดังนี้คือ ท่าเตรียม เริ่มการตีด้วยข้อศอกที่งอและจบสิ้นการตีด้วยข้อศอกที่งออยู่เช่นเดิม ซึ่งคุณต้องการการเคลื่อนที่ของไม้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนในท่าการชก ลูกวอลเล่ย์นั้น การเคลื่อนที่ของไม้ที่จุดปะทะบอลจะยาวไป สำหรับผู้เล่นที่พยายามที่จะตีลูกบอลให้หน้าตัวมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้นั้น จะทำให้ ไม่สามารถปรับหรือเปลี่ยนแปลงท่าทางการตีให้เข้ากับสิ่งที่ไม่ได้คาดหวังเอาไว้แต่ได้เกิดขึ้นเช่น ลม การตีโดนขอบไม้ การคำนวณกะระยะ- ทิศทาง -จังหวะผิดไป และเขาก็จะไม่สามารถที่จะดันลูกบอลให้ระยะทางยาวขึ้นได้อีกเพราะแขนตึงอยู่แล้วจึงไม่สามารถที่จะตีลูกบอลให้แรงเพิ่มขึ้นอีกได้
ความเข้าใจที่ผิดอีกอย่างหนึ่งก็คือ การเปลี่ยนกริปขณะโต้ลูกวอลเล่ย์ สลับไป-มาโฟร์แฮนด์และแบคแฮนด์ เพราะโดยปกติแล้วเมื่อยืนอยู่ หน้าตาข่าย คู่ต่อสู้ของคุณจะพยายามตีลูกให้ผ่านคุณซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นลูกบอลที่มีความเร็ว หรือไม่ก็ในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญหน้ากับคู่ต่อสู้ ที่อยู่ หน้าตาข่ายด้วยกัน ซึ่งต้องอาศัยความเร็วในการตี คุณก็จะมีปัญหาในการเปลี่ยนกริปทันที ฉะนั้นจึงแนะนำให้คุณใช้กริปคอนติเนนตัล ( Continental ) ในการตีลูกวอลเล่ย์
ข้อดี คือ
(ก) คุณใช้ตีได้ทั้งโฟร์แฮนด์และแบคแฮนด์
(ข) ข้อมือคุณจะอยู่ในลักษณะที่แข็งแรงมั่นคง (firm)
(ค) หน้าไม้จะเปิดเพื่อง่ายต่อการตีอันเดอร์สปิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญในการตีลูกวอลเล่ย์
2.
ตำแหน่งการยืนบนคอร์ตในการตีลูกวอลเล่ย์
( Volley
Positions )
การตีลูกวอลเล่ย์นั้นควรจะใช้เมื่อคุณยืนอยู่ใน 3 ตำแหน่ง ดังนี้
2.1
ตำแหน่งวอลเล่ย์ที่เหมาะสม
( The Benefitial Volley Positions )
คือ
ตำแหน่งที่อยู่กึ่งกลางระหว่างเส้นเสิร์ฟกับตาข่าย
ตำแหน่งนี้
เหมาะที่สุด
สำหรับการตีลูกวอลเล่ย์
ข้อดีของตำแหน่งนี้คือ
(ก) มีเวลาตั้งท่าในการตีลูกบอลที่เร็วได้
(ข) สามารถตีลูกฉีกมุมด้านข้างได้
(ค) มีระยะทางที่ไม่ไกลนักและมีเวลาในการที่จะถอยไปตบลูกบอลเหนือศีรษะได้
(ง) เป็นตำแหน่งที่ปิดมุม ( คลุมพื้นที่ ) จากการที่คู่ต่อสู้จะตีลูกผ่าน ( Passing Shot ) ได้ดีที่สุด
(จ) สามารถตีลูกวอลเล่ย์หยอดได้ในตำแหน่งนี้
(ฉ) สามารถป้องกันการที่คู่ต่อสู้จะตีลูกบอลลงเท้าได้
2.2 ตำแหน่งวอลเล่ย์ฝ่ายรับ ( The Protective Volley Position ) คือ ตำแหน่งบริเวณเส้นเสิร์ฟ โดยส่วนใหญ่แล้วตำแหน่งนี้ จะเป็นตำแหน่ง การยืนหลังจากที่ผู้เล่นเสิร์ฟลูกแล้ววิ่งขึ้นหน้าตาข่าย
ข้อเสียเปรียบ คือ
(ก) ตำแหน่งนี้มักจะเป็นการตีลูกบอลที่ค่อนข้างต่ำใกล้เท้าผู้เล่น ทำให้ต้องตีงัดลูกบอลขึ้นซึ่งคุณอาจจะตีพลาดโด่งเหนือตาข่ายได้
(ข) ตำแหน่งนี้ยากต่อการตีลูกฉีกมุมด้านข้างเพราะไกลจากตาข่าย
(ค) คู่ต่อสู้มีมุมกว้าง ( พื้นที่ ) ในการตีลูกผ่านมาก
(ง) ไม่เหมาะในการตีลูกวอลเล่ย์หยอด ( Drop Volley ) เพราะทำให้คู่ต่อสู้มีเวลามากขึ้นในการวิ่งเข้ามารับลูกบอล
ข้อได้เปรียบ คือ
(ก) ถอยหลังไปตบลูกบอลได้ง่าย
(ข) มีเวลาตั้งท่าในการตีลูกบอลที่มาเร็วได้ง่าย แต่ผู้เล่นที่ดีในประเภทเดี่ยวมักจะไม่ยืนในตำแหน่งนี้ ยกเว้น การยืนเพื่อเริ่มเล่น ในประเภทคู่ ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นพาร์ทเนอร์ของผู้รับลูกเสิร์ฟ
ในตำแหน่งนี้ คุณไม่ควรที่จะตีลูกบอลฆ่าคู่ต่อสู้เลยทันที หรือตีฉีกมุมด้านข้าง เพราะการที่คุณยืนอยู่ห่างตาข่ายจะทำให้คู่ต่อสู้ของคุณมีเวลา มากพอที่จะวิ่งมารับลูกบอลที่ตีไปได้ทัน ฉะนั้นคุณควรที่จะตีลูกบอลบเพื่อวางทางเสียก่อนแล้วจึงเคลื่อนที่เข้าชิดตาข่าย เพื่อหาโอกาสที่จะทำแต้มใน ลูกต่อ ๆ ไป
2.3 ตำแหน่งวอลเล่ย์ที่ดีที่สุด ( The Optimum Volley Position ) คือ บริเวณเหนือตาข่ายฝั่งผู้เล่น
ข้อได้เปรียบ คือ
(ก)
ผู้เล่นสามารถตีลูกบอลฉีกมุมด้านข้างได้เกือบ
180
องศาในแนวเดียวกับตาข่าย
(ข) ในตำแหน่งนี้ถึงแม้คุณจะตีลูกบอลโดนขอบไม้ ลูกบอลก็ยังมีโอกาสที่จะข้ามตาข่ายได้เกือบทุกลูก
ข้อเสียเปรียบ คือ
(ก) ผู้เล่นอาจจะโดนคู่ต่อสู้ตีลูกโง ( Lob ) ข้ามศีรษะได้ง่าย ถึงแม้ว่าลูกโด่งนั้นจะเป็นลูกโด่งนั้นที่สั้น
(ข) ในกรณีที่คู่ต่อสู้ตีลูกมาแรงหรือเร็ว ผู้เล่นแทบจะไม่มีเวลาตั้งท่าในการตีลูกบอล
(ค) ขณะตีลูกบอล โอกาสที่ไม้จะสัมผัสกับตาข่ายเป็นไปได้ง่าย เพราะยืนชิดตาข่ายมากซึ่งถือว่าผิดกติกา และคุณเสียแต้ม
ในตำแหน่งนี้ คุณควรจะวิ่งเข้ามาตีเฉพาะในลูกบอลที่ลอยมาอย่างช้า ๆ และตีลูกฉีกเพื่อทำ แต้มไปได้เลย แต่คุณไม่ควรที่จะมายืนรอเพื่อ ที่จะ ตีลูกบอลในตำแหน่งนี้ เพราะถ้าคู่ต่อสู้ของคุณเป็นผู้เล่นที่ฉลาดเขาจะต้องตีลูกโด่งข้ามศีรษะคุณ ทำให้คุณตกอยู่ในสภาวะเสียเปรียบ ทันทีที่ต้องวิ่งไล่ลูกบอลเพื่อไปตีกลับมา
3.
วิธีการตรวจสอบในการตีลูกวอลเล่ย์
( Volley
Checkpoints )
หน้าไม้เปิด ( The Open Racquet Face ) ในการตีลูกวอลเล่ย์ หน้าไม้จะต้องเปิด การใช้กริปคอนติเนนตัลจะช่วยให้หน้าไม้เปิดทั้ง โฟร์แฮนด์และแบคแฮนด์ และยังมีข้อมือที่แข็งแรงมั่นคงอีกด้วยเหตุผลที่คุณต้องการให้หน้าไม้เปิดนั้นก็เพราะ คุณสามารถที่จะตีลูกบอล ด้วยวิธีการ อันเดอร์สปินได้ และการที่คุณตีลูกบอลด้วยวิธีการอันเดอร์สปินนี้ ก็เพราะเป็นการตีด้วยการบังคับลูกบอล หลักในการตีลูกวอลเล่ย์ไม่ใช่ว่าจะต้อง เป็นลูกตีอัดชนิด “ดุเดือด” แต่ถือว่าเป็นการตีที่บังคับ ( Control)ลูกบอลได้
การที่คุณสามารถที่จะบังคับลูกบอลได้ในขณะตีลูกวอลเล่ย์นี้ คุณจะต้องเพิ่มการตีด้วยลูกหมุน ( Spin ) ให้มากขึ้น การหมุนของลูกบอล จะทำให้เกิดแรงเสียดทานในอากาศเพิ่มขึ้น ลูกบอลยิ่งหมุนมากเท่าใด ก็ยิ่งจะมีแรงเสียดทานในอากาศมากขึ้นเท่านั้น และนั่นก็จะส่งผลให้ลูกบอล ตกลงสู่พื้นเร็วขึ้น หลักการนี้จึงสามารถนำมาใช้ในการควบคุมการตีลูกบอลในระดับความลึก(Depth) ต่าง ๆบนคอร์ตได้ ไม่ว่าจะเป็นลูกสั้นหรือ ลูกลึก ก็ดี สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการเปิดหน้าไม้ก็คือการตีลูกบอลที่ต่ำกว่าตาข่าย ซึ่งคุณจะต้องอาศัยวิธีการตีให้มีวิถีโค้งเข้ามาช่วย เพื่อช่วยในการตี ลูกบอล ให้ข้ามตาข่ายได้ในเปอร์เซ็นต์ที่สูง
วิธีการตีลูกให้ลึก ทำได้โดยตีลูกบอลให้หมุนน้อยลง และในการตีลูกสั้นนั้นทำได้โดยตีลูกบอลให้หมุนมากขึ้น แน่นอนที่สุดว่าการตีใน ลักษณะ เช่นนี้ต้องอาศัยการฝึกซ้อมที่มากพอสมควร เพื่อให้เกิดความรู้สึก ( Feel ) ในการที่จะสามารถบังคับและปรับการหมุนของลูกบอล ให้มากขึ้น หรือน้อยลงตามที่คุณต้องการได้ ถ้าคุณคิดถึงอนาคตที่ดีของคุณในระดับขั้นสองขึ้นไปหรือในระดับอาชีพต่อไป คุณก็ไม่ควรที่จะละเลยการฝึกแบบนี้
จะมีอีกวิธีนะครับที่คุณสามารถที่จะบังคับการตีลูกบอลให้ตกสั้นหรือลึกได้ก็คือ การตีลูกให้เบาลงหรือแรงขึ้น ซึ่งผมไม่แนะนำให้คุณใช้ วิธีการตีแบบนี้ ก็เพราะเหตุผลที่ว่า
(ก) ร่างกายของคุณบางวันซึ่งอาจจะมีความรู้สึกในการตีลูกบอลได้ดี คุณก็จะสามารถที่จะตีลูกอัดแรง ๆ ได้ดีในวันนั้น แต่ถ้าวันไหนที่คุณ ไม่มีความรู้สึกในการตีลูกบอลได้ดีล่ะครับ! คุณก็จะไม่สามารถที่จะตีลูกอัดแรง ๆ ได้ดีเลย
(ข) ในพื้นที่ที่มีความสูงแตกต่างกัน แรงดึงดูดของโลกก็จะเปลี่ยนไปด้วย ฉะนั้นการที่คุณเป็นนักเทนนิสอาชีพที่ต้องตระเวน แข่งขัน ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกนั้น จะไม่เป็นการง่ายเลยในการที่คุณจะบังคับลูกบอลด้วยวิธีการตีแรงหรือเบา
(ค) ชนิดของลูกบอลที่แตกต่างกันออกไป เช่นถ้าคุณออกแรงตีเท่ากันในจังหวะเดียวกันลูกบอลต่างยี่ห้อต่างชนิดกัน ก็จะกระดอนไปได้ไกล ไม่เท่ากัน ฉะนั้นคุณจะเห็นได้ว่าการที่คุณปรับระยะทางการตีลูกวอลเล่ย์โดยการตีแรงหรือเบานั้น จึงไม่เหมาะในการนำมาใช้ในสถานการณ์จริง ไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ก็ตาม ความเร็วของลูกบอลจะเปลี่ยนไปทุก ๆ วัน แต่การที่คุณตีด้วยลูกหมุนนั้น คุณจะสามารถบังคับและวางใจได้ทุกครั้งไป ถ้าคุณสามารถบังคับการตีด้วยลูกหมุนได้ด้วยความชำนาญ แล้วคุณก็จะสามารถปรับการตีของคุณในแต่ละวันให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ โดยที่คุณจะสามารถบังคับผลการตีของลูกบอลให้ได้ดีเช่นเดิมในทุก ๆ วัน
ในการตีลูกวอลเล่ย์นั้นให้คุณคิดว่าจะ “รับ” ( Receive ) ลูกบอลและการที่คุณจะตีลูกวอลเล่ย์ด้วยอันเดอร์สปินคุณจะต้องพยายามวางไม้ รองใต้ลูกบอล ดังนั้นตามแนวความคิดที่ว่าจะ”รับ”ลูกบอล นี้จะทำให้หน้าไม้ของคุณเปิดโดยอัตโนมัติในขณะที่คุณตีลูกวอลเล่ย์ ถ้าเมื่อใดที่คุณมีปัญหา ในการตีลูกวอลเล่ย์ เช่นตีอัดลูกบอลลงไปตาข่าย ก็ให้คุณแก้ปัญหานั้นโดยคิดว่าจะ “รับ” ลูกบอลไว้ คุณก็จะสามารถที่จะตีลูกบอลนั้นให้มีวิถีโค้งขึ้น ลูกบอลก็จะข้ามตาข่ายไปได้อย่างง่ายดาย หัวไม้และข้อมือไปพร้อมกัน ( Racquet and Wrist go together ) ถ้าหน้าไม้คุณชี้ไปทางไหน ลูกบอลก็จะพุ่ง ไปทางนั้น ฉะนั้นถ้าหัวไม้และข้อมือคุณขนานกับตาข่ายที่จุดปะทะบอล ลูกบอลก็จะลอยกลับไปในทิศทางขนานกับเส้นข้าง และถ้าหัวไม้อยู่หน้าข้อมือ เล็กน้อย ลูกบอลก็จะลอยกลับไปในทิศทางทแยง ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทิศทางการตีของลูกวอลเล่ย์ให้ใช้วิธีการตรวจสอบนี้คือ “ข้อมือ และหัวไม้ไปพร้อมกัน” โดยในขณะตีลูกบอลให้ชี้หน้าไม้ไปในทิศทางที่คุณต้องการที่จะตีลูกบอลไป
ข้อสังเกต : ในการตีเพื่อบังคับทิศทางของลูกกราวน์สโตรคนั้นจะยากต่อการกะระยะที่จะตีเพราะการตีลูกกราวน์สโตรคไปในทิศทาง ขนานกับเส้นข้างนั้น จุดปะทะบอลจะอยู่หลังเท้านำ ( เท้าซ้ายในการตีโฟร์แฮนด์ของผู้เล่นที่ถนัดมือขวา) เล็กน้อย ส่วนการตีลูกกราวน์สโตรคทแยง จุดปะทะบอลจะอยู่หน้าเท้านำ แต่ในการตีลูกวอลเล่ย์โดยปกติแล้วจะอยู่หน้าตัวทุกลูกไม่ว่าคุณต้องการจะตีตรงหรือตีทแยง
ถ้าหัวไม้อยู่หลังข้อมือคุณ จะทำให้คุณมีปัญหาในการตีลูกทแยงและอาจจะส่งผลให้ข้อมือเคล็ดได้ และถ้าคุณปล่อยให้หัวไม้เลยข้อมือไป ข้างหน้า คุณจะอยู่ในลักษณะของการตบลูกบอลซึ่งคุณจะมีปัญหาในการตีขนานเส้นข้าง
การรักษาข้อมือให้มั่นคง ( Firm Wrist )
ในกรณีที่คุณไม่รักษาข้อมือให้มั่นคงจะเกิดปัญหาขึ้นได้ เพราะถ้าคู่ต่อสู้ตีลูกบอลมาแรงหน้าไม้คุณอาจจะบิดและเปิดขึ้นมากเกินไป ทำให้ผลของลูกที่ตีไปลอยโด่งและเบาอีกด้วย และบางครั้งไม้อาจจะถึงกับหมุนอยู่ที่มือเลยก็ได้ วิธีการรักษาข้อมือให้มั่นคงนี้จะมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะกับนักเทนนิสหญิง และจะทำให้มีความมั่นใจสูงขึ้นในการรับลูกที่ตีมาแรง เพราะถ้านักเทนนิสคนไหนตีลูกวอลเล่ย์แล้วไม้พลิกที่มือ จะทำให้ขาดความมั่นใจ และกลัวลูกแรง ( ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้มีผลต่อทางจิตวิทยาในการที่จะรักษาข้อมือให้มั่นคง ทำได้โดยบีบนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยให้แน่น
การยกหัวไม้สูง ( High Racquet Head )
การยกหัวไม้สูงนี้จะช่วยให้คุณมีข้อมือที่มั่นคงขึ้น และคุณก็สามารถที่จะตีลูกบอลในระดับสูงกว่าเดิมได้ ในการตีลูกบอลยิ่งสูงกว่าตาข่ายมาก เท่าใด ก็ยิ่งจะมีโอกาสที่จะตีลูกบอลข้ามตาข่ายได้มากเท่านั้น ถือว่าคุณอยู่ในสภาวะเป็นฝ่ายรุก ซึ่งทำให้คุณได้เปรียบในการที่จะตีลูกเพื่อวางทิศทาง หรือ ตีลูกทำแต้มได้เลย
ในการตีลูกวอลเล่ย์ที่ดีนั้นจะมีการจำกัดท่าให้มีวงสวิงน้อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเหวี่ยงไม้ไปข้างหลัง ( Backswing ) หรือการฟอลโล่ว์ทรู ( Follow-through )
การเหวี่ยงไม้ไปข้างหลังก็เพื่อที่จะตีลูกให้แรง แต่การตีลูกวอลเล่ย์นั้นเป็นการตีบังคับลูกบอลเพื่อวางทิศทางไม่ใช่เป็นการตีลูกบอลให้แรง ฉะนั้นในกาตีลูกวอลเล่ย์จึงไม่จำเป็นที่จะเหวี่ยงไม้ไปข้างหลังมากและถ้าคุณฟอลโล่ว์ทรูไม้ไปข้างหน้ามากไปก็จะทำให้คุณบังคับลูกบอลลำบากมากในการตีลูกขนานกับเส้นข้าง ( Down the Line )
3.1 แบบฝึกการตีลูกวอลเล่ย์ให้ลูกหมุน 6 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 | คนฝึกจับที่คอไม้ด้านโฟร์แฮนด์ ให้เพื่อนยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามตาข่าย เพื่อโยนลูกบอลให้คนฝึก คนฝึกตีลูกบอลในลักษณะ สับลูกบอลให้ลูกบอลลอยขึ้นบนอากาศโดยพยายามให้ลูกบอลตั้งฉากกับพื้น แล้วใช้มือซ้ายรับลูกบอลเอาไว้ การทำเช่นนี้ จะทำให้ลูกบอลหมุนกลับหลัง | |
ขั้นตอนที่ 2 | คนฝึกจับที่คอไม้ด้านโฟร์แฮนด์ หลังจากที่เพื่อนโยนลูกบอลให้คนฝึกคนฝึกตีลูกบอลกลับไปให้คนโยนรับไว้ โดยตีด้วย ลูกอันเดอร์สปิน | |
ขั้นตอนที่ 3 | คนฝึกจับที่ครึ่งไม้เหนือด้ามจับด้านโฟร์แฮนด์ วิธีการเหมือนขั้นตอนที่ 1 ( สับลูกบอลขึ้นบนอากาศแล้วรับไว้ด้วยมือซ้าย ) | |
ขั้นตอนที่ 4 | คนฝึกจับที่ครึ่งไม้เหนือด้ามจับด้านโฟร์แฮนด์ วิธีการเหมือนขั้นตอนที่ 2 ( ตีลูกบอลกลับไปให้คนโยนรับไว้ | |
ขั้นตอนที่ 5 | คนฝึกจับที่ด้ามจับด้านโฟร์แฮนด์ วิธีการเหมือนขั้นตอนที่ 1 ( สับลูกบอลขึ้นบนอากาศแล้วรับไว้ด้วยมือซ้าย) | |
ขั้นตอนที่ 6 | คนฝึกจับที่ด้ามจับด้านโฟร์แฮนด์ วิธีการเหมือนขั้นตอนที่ 2 ( ตีลูกบอลกลับไปให้คนโยนรับไว้) |
การฝึกด้านแบคแฮนด์ ให้ลองใช้ขั้นที่ 6 ได้เลยเพราะธรรมชาติจะทำให้คนฝึกดีด้วยอันเดอร์สปินอยู่แล้วเมื่อใช้กริปคอนติเนนตัล แต่ถ้าคนฝึกยังตีไม่ได้ ก็ให้เริ่มฝึกตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 ใหม่เลย
แบบฝึกสำหรับการตีวอลเล่ย์ลูกต่ำ ทำได้โดยให้คนฝึกคุกเข่าลงในตำแหน่งวอลเล่ย์ที่เหมาะสมของการตีลูกวอลเล่ย์ ( ระหว่างเส้นเสิร์ฟ กับตาข่าย ) โดยอาจจะใช้ผ้ารองไว้ที่พื้นเพื่อป้องกันการเจ็บเข่าให้เพื่อนยืนฝั่งตรงข้ามตาข่ายส่งบอลให้แม่น ๆ ไปที่คนฝึก วิธีการตีนั้น ให้ตีด้วย ลูกหมุน ( Spin ) มาก ๆ ด้วยอันเดอร์สปิน โปรดระลึกไว้เสมอว่าเมื่อตีลูกบอลแล้วอย่ายกแขนขึ้นเป็นอันขาดเพราะจะทำให้บอล ไม่มีพลังและ ไม่มี อันเดอร์สปิน การตีลูกต่ำนี้ควรจะตีด้วยวิถีที่โค้งให้มากเพื่อให้ง่ายต่อการตีลูกบอลข้ามตาข่าย
การตีลูกวอลเล่ย์ เมื่อคุณยืนอยู่บริเวณเส้นเสิร์ฟคือตำแหน่งวอลเล่ย์ฝ่ายรับ คุณควรที่จะตีลูกวอลเล่ย์โดยเพิ่มระยะทางของจุดปะทะบอล ให้ยาวขึ้น เพราะระยะทางห่างจากตาข่ายมากขึ้นและลูกบอลจะต้องเคลื่อนไปยังฝั่งคู่ต่อสู้ไกลขึ้น แต่เมื่อยืนอยู่ระหว่างกลางเส้นเสิร์ฟกับตาข่าย คือ ตำแหน่งวอลเล่ย์ที่เหมาะสม คุณก็เพียงแต่กั้น ( Block ) ลูกบอลไว้เท่านั้น และให้แรงสะท้อนจากเอ็นทำงาน เพราะลูกบอลส่วนใหญ่จะพุ่งมาแรง และ เร็ว เนื่องจากคู่ต่อสู้ต้องการที่จะตีลูกผ่านคุณไปให้ได้
การยืนในท่าเตรียมวอลเล่ย
1. แยกเท้าระดับกว้างกว่าหัวไหล่เล็กน้อย
2. ยืนด้วยปลายเท้าตลอดเวลา
3. ข้อศอกขวาที่ถือไม้จะห่างจากท้องประมาณ 2 ลูกบอลโดยเฉพาะในการตีด้านโฟร์แฮนด์ จะเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้คุณตีลูกบอล หลังสะโพกขวา จุดเช็คข้อศอกในการตีวอลเล่ย์ ด้านโฟร์แฮนด์เริ่มตีลูกบอลด้วยข้อศอกงอ ) และเมื่อตีเสร็จแล้วข้อศอกจะงออยู่ เช่นเดิม ด้านแบคแฮนด์ เริ่มตีลูกบอลด้วยข้อศอกงอ และเมื่อตีเสร็จแล้วข้อศอกจะเหยียดตึง
ในการตีวอลเล่ย์นั้นจุดปะทะบอลจะมีความยาวแค่ประมาณ 6-10 นิ้วเท่านั้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความยาวของช่วงแขนของแต่ละคน การสวิงไม้ กว้างหรือการตีในท่าลักษณะของการชก ( Punching ) นั้นทำให้คุณอาจจะตีลูกบอลพลาด หรือผิดจังหวะหรือบังคับทิศทางไม่ได้ก็เป็นได้ เมื่อขึ้นสู่ ในระดับนักเทนนิสขั้นสูงแล้ว นักเทนนิสแต่ละคนจะมีความสามารถตีลูกผ่าน ( passing Shot ) ที่ค่อนข้างจะแน่นอน ฉะนั้นจงฝึกนิสัยของคุณให้ เคยชินกับการก้าวไขว้เท้า ( Cross step ) ดังภาพ 3.76 (a-b) เพื่อการเอื้อมตีได้ไกลกว่าการก้าวเท้าที่อยู่ใกล้ลูกบอลออกไป การตีลูกวอลเล่ย์ ที่นำมา เสนอให้ได้ศึกษานี้ ก็เพื่อเป็นแนวทางในการฝึกหัดการตีวอลเล่ย์ที่ดี ขอแนะนำให้คุณสังเกตโดยศึกษษถึงจุดเช็คและวิธีการตรวจสอบ ในการตี ลูกวอลเล่ย์ แต่ไม่ใช่เป็นการลอกแบบไปเสียทุกอย่าง ซึ่งถ้าคุณสามารถเลียนแบบท่าท่าทางการตีให้คล้ายคลึงกับเอ็ดเบิร์กเบ็คเกอร์หรือแคช ก็ไม่ใช่ที่จะเป็นเรื่องเสียหาย เว้นเสียแต่ว่าคุณจะต้องสามารถทำได้ดีและมีความถนัดในการตีวอลเล่ย์ลูกนั้น ๆ
3.2 การตีวอลเล่ย์โฟร์แฮนด์สูงของสเตฟาน เอ็ดเบิร์ก ( Stefan Edberg ) เอ็ดเบิร์ก อดีตมืออันดับหนึ่งของโลก ในปี 2532 เป็นชาวสวีเดน ( ท่าที่ 1-6)
ท่าที่ 1 |
เอ็ดเบิร์ก ขึ้นมาปักหลักอยู่ที่เส้นเสิร์ฟ ใช้มือซ้ายช่วยยกไม้เพื่อเตรียมตัวตีวอลเล่ย์ โฟร์แฮนด์ บิดไหล่ซ้ายเข้าหาตาข่าย ใช้ เท้าขวา เป็นหลักในการทรงตัวและบิดสะโพกซ้ายตามแนวไหล่ ปล่อยเท้าซ้ายเป็นอิสระ |
ท่าที่ 2 | เงื้อไม้สั้น ๆ เพื่อเตรียมวอลเล่ย์ ในระดับเดียวกับลูกบอล ศอกงอ เริ่มก้าวเท้าซ้ายออกมา โดยใช้เท้าขวาดันตัวเองโดยออกมา ด้านหน้า |
ท่าที่ 3 | และท่าที่ 4 เอ็ดเบิร์ก ตีลูกบอลโดยจุดปะทะบอลอยู่หน้าตัวหน้าไม้เปิดเล็กน้อยหัวไม้ยกตั้งขึ้นจนเกือบจะตั้งฉากกับพื้น การโอน น้ำหนักตัวไปข้างหน้าจะช่วยเพิ่มพลังในการตี และใช้เท้าซ้ายก้าวออกมารับน้ำหนักตัวเพื่อการทรงตัว |
ท่าที่ 4 | และท่าที่6 เปิดหน้าไม้มากขึ้น เป็นการตีลูกอันเดอร์สปิน เพื่อการควบคุมลูกที่ดีฟอลโล่ว์ทรูไม่ไปข้างหน้าสั้น ๆ จนทำด้วยศอกงอ อยู่เช่นเดิม จะเห็นว่าเอ็ดเบิร์กมีจังหวะการทรงตัวที่สมดุลมาก |
การตีวอลเล่ย์โฟร์แฮนด์ สเตฟาน เอ็ดเบิร์ก ใช้กริปคอนติเนนตัล
ข้อดีของการใช้กริปคอนติเนนตัลในการตีวอลเล่ย์
1. ใช้ตีได้ทั้งโฟร์แฮนด์และแบคแฮนด์โดยที่ดไม่ต้องเปลี่ยนกริป เพราะลูกตีผ่านมักจะเป็นลูกที่พุ่งมาเร็วทำให้คุณมีเวลาในการเตรียมตัว น้อยมาก
2. หน้าไม้เปิดทำให้ง่ายต่อการตีลูกอันเดอร์สปินเพื่อการบังคับลูกบอลที่ดี และเมื่อลูกบอลตกฝั่งคู่ต่อสู้จะกระดอนต่ำ ทำให้คู่ต่อสู้ต้องตี ลูกบอลงัดสูงขึ้น คุณก็จะได้ตีลูกที่สูงเหนือตาข่าย ซึ่งคุณมีโอกาสที่จะตีลูกวอลเล่ย์ฆ่าเพื่อทำแต้มได้มากขึ้น
3. ในการตีลูกต่ำมาก ๆ หน้าไม้จะเปิดอย่างเป็นธรรมชาติมากเมื่อใช้กริปคอนติเนนตัล ทำให้ตีงัดลูกขึ้นได้สะดวก
4. สันฝ่ามือที่อยู่บนสันกริป จะเป็นตัวช่วยต้านลูกที่พุ่งมาอย่างหนักหน่วงได้ อีกทั้งคุณสามารถเร่งความเร็วในการตีลูกวอลเล่ย์ให้รุนแรง ได้ตามความต้องการ
5. กริปนี้สามารถใช้ข้อมือเพื่อหลอกคู่ต่อสู้ เมื่อต้องการหยอดหรือตีลูกบอลให้ตกลึกท้ายคอร์ตฝั่งคู่ต่อสู้ได้
3.3 การตีวอลเล่ย์แบคแฮนด์สูงของโบริส เบ็คเกอร์ ( Boris Becker) เบ็คเกอร์ อดีตมืออันดับหนึ่งของโลกในปี 2531 และ 2535 เป็นชาว เยอรมัน เบ็คเกอร์ ยังเข้ามาไม่ถึงเส้นเสิร์ฟแต่ได้ตีลูกที่ค่อนข้างสูง จึงไม่ใช่ลูกยาก (ท่าที่ 1-6)
ท่าที่ 1 |
เบ็คเกอร์ ก้าวขึ้นมาภายหลังการตีแอพโพรัชช็อต และเตรียมวอลเล่ย์แบคแฮนด์ใช้มือซ้ายประคองที่คอไม้ โดยที่นิ้วชี้แตะที่เอ็น ตั้งหัวไม้ขึ้น น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าซ้ายย่อเข่า พร้อมกับบิดไหล่ขวาข้าหาตาข่าย ศอกงอ ใช้เท้าซ้ายเป็นหลักในการทรงตัว |
ท่าที่ 2 | เงื้อไม้สั้นโดยการบิดไหล่ขวา หัวไม้ถูกตั้งขึ้นจนไม้เกือกจะตั้งฉากกับพื้น เท้าขวากำลังก้าวมาข้างหน้าเป็นการบิดสะโพกขวา |
ท่าที่ 3 | เป็นจังหวะการก้าวเท้าขวาเข้าหาลูก เริ่มต้นด้วยการเหยียดแขนขวาออกมาเพื่อปะทะบอล หน้าตัวและการย่อเข่าที่ทำมาตั้งแต่ต้น จะช่วยรักษาสภาวะการทรงตัวที่ดีในขณะเคลื่อนที่ |
ท่าที่ 4 | เบ็คเกอร์โถมตัวมาข้างหน้าพร้อมกับการดันไม้มาข้างหน้า แขนเหยียดตึง ปะทะบอลหน้าตัว หน้าไม้เปิดขึ้นเล็กน้อย เริ่มปล่อย มือซ้ายแล้วกางออกไปด้านหลังเท้าขวาที่ก้าวออกมานั้นทำให้มีการทรงตัวที่ดีอีกด้วย |
ท่าที่ 5 | เปิดหน้าไม้มากขึ้น ฟอลโลว์ทรูสั้น ๆ ตีปาดลูกบอลจากบนลงล่าง เป็นการตีลูก อันเดอร์สปิน |
ท่าที่ 6 | เป็นการสิ้นสุดฟอลโล่วทรู จะเห็นหัวไม้ของเบ็คเกอร์ชี้ลงพื้น ซึ่งไม่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของลูกบอลแล้ว การสิ้นสุดฟอลโล่ว์ทรูที่ตีนั้น หัวไม้ควรจะอยู่ต่ำกว่าแนวของการตีสักเล็กน้อยและหน้าไม้ยังคงเปิดอยู่เหมือนในท่าที่ 5 จบท่าด้วยศอกเหยียดตึง การตีวอลเล่ย์แบคแฮน์สูง โบริส เบ็คเกอร์ ใช้กริปคอนติเนนตัล ซึ่งนักเทนนิสที่วอลเล่ย์ลูกได้ดีมักจะใช้กริปนี้ |
3.4 การตีวอลเล่ย์แบคแฮนด์ต่ำ ของแพท แคช ( Pat Cash ) แคช อดีตแชมป์ชายเดี่ยว วิมเบิลดัน ปี 2530 เป็นชาวออสเตรเลี่ยน แคช ก้าวขึ้นมาเตรียมตัว วอลเล่ย์ จังหวะแรกโดยเตรียมพร้อมอยู่ตรงบริเวณเส้นเสิร์ฟที่เส้นแบ่งครึ่งคอร์ดเสิร์ฟ
ท่าที่ 1 |
คู่ต่อสู้ตีลูกพุ่งมาตรงตัวแคช ซึ่งเป็นลูกต่ำ และแคช ก็เลือกที่จะตีด้วยแบคแฮนด์ด้วยการขยับตัวบิดไหล่ขวาเป็นการเงื้อไม้สั้น ๆ ไปในตัวพร้อมกับใช้มือซ้ายประคองคอไม้ไว้ในระดับเอว หน้าไม้เปิด หัวไม้ตั้งสูงกว่าด้าม ย่อเข่าโดยใช้เท้าซ้ายเป็นหลัก ในการ ทรงตัว เริ่มยกเท้าขวา |
ท่าที่ 2 | เก้าวเท้าขวาเฉียงไปทางขวามือ เพื่อเปิดระยะช่องว่างในการตี แคชก้าวขึ้นมาจนเหยียบที่เส้นเสิร์ฟซึ่งแทบจะเป็นจังหวะเดียวกับ การตีลูกบอล |
ท่าที่ 3 | แคช เงื้อไม้สั้นในการตีลูกวอลเล่ย์ต่ำหน้าตาข่าย เพื่อจะได้มีเวลาพอที่จะช้อนไม้ใต้ลูกที่พุ่งมาเร็วได้ทัน เริ่มปล่อยมือซ้าย ศอกงอ และลดระดับหัวไม้ให้ต่ำลง |
ท่าที่ 4 | น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา หน้าไม้ปะทะบอลหน้าตัว หัวไม้จะต่ำกว่าระดับลูกบอลเล็กน้อย แขนขวาเริ่มเหยียดออกมาด้านหน้า แขนซ้าย กางออกทางด้านหลัง เพื่อรักษาภาวะสมดุลและการทรงตัว พร้อมกับการย่อเข่าเพื่อทำตัวให้ต่ำลง |
ท่าที่ 5 | หัวไม้หลังตีลูกไปแล้วจะต่ำกว่าด้ามจับ ตีลูกบอลโดยปาดลูกเฉียงไปทางขวามือ |
ท่าที่ 6 | ฟอลโล่ว์ทรู ไม้ไปทางขวามือและยกข้อมือสูงขึ้นเล็กน้อย ตรงข้ามกับหัวไม้ซึ่งเกือบจะชี้ลงไปตั้งฉากกับพื้น ศอกเหยียดตึง จากการโถมตัวมาข้างหน้าทำให้แคชถลำตัวมาข้างหน้า แคชก้าวเท้าซ้ายไขว้มาทางด้านหน้าเพื่อรับน้ำหนักตัว โดยอัตโนมัติ ทำให้ขึ้นหน้าตาข่ายเป็นไปอย่างมีจังหวะต่อเนื่อง ก็อีกเช่นกันที่แพท แคช ใช้กริปคอนติเนนตัล ในการตีลูกวอลเล่ย์ แบคแฮนด์ต่ำ |