มาตรการในการตรวจสอบสำหรับลูกกราวน์สโตรค
( Groundatroke Checkpoints )
นักเทนนิสหลาย
ๆ คน
เมื่อตีลูกเสียแล้วมักจะมองไปที่ไม้เทนนิสว่ามีอะไรผิดปกติหรือเปล่า
หรือไม่ก็มองดูด้วยอารมณ์ที่ฉุนเฉียวพร้อมกับ
กล่าวโทษไม้เทนนิสอย่างโน้นอย่างนี้
อันที่จริงแล้วคุณควรจะมองถึงสาเหตุที่ทำให้การตีลูกนั้น
ๆ
ผิดพลาดไปมากกว่า
และความจริงก็คือว่า
“ตัวคุณเองนั่นแหละ
คือต้นเหตุของความผิดพลาดทั้งหลาย”
รากฐานในการตีทั้งโฟร์แฮนด์และแบคแฮนด์นั้นก็คือบริเวณปะทะบอล ( Impact Area ) การทรงตัว ( Balance ) และการใช้มือที่ไม่ถนัด ( Using the Free Hand ) ซึ่งเหมือนกันทั้งสองข้าง ดังนั้นในการเรียนสอนคุณควรที่จะสอนทั้งสองข้างควบคู่กันไป เช่น ตีลูกตรง ตีลูกทแยง ตีลูกโด่ง ตีลูกหยอดและอื่น ๆ
ถ้าหากเกิดปัญหาขึ้น เช่นว่า คุณสวิงไม้ไปข้างหลังกว้างไปทั้งโฟร์แฮนด์และแบคแฮนด์ หรือคุณตีโดยการกระตุกข้อมือมากเกินไป ทั้งสองข้าง วิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้จะต้องอาศัยหลักการเดียวกันไปใช้ในการแก้ไขทั้งสองข้าง
1. วิธีการจับกริปที่นิยมใช้กัน
กริปมีหลายชนิดดังต่อไปนี้
1.1 อีสเทิร์น โฟร์แฮนด์ ( Eastern Forehand ) หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า เช็คแฮนด์กริป ( Shake Hands Grip ) วิธีการจับกริปนี้โดยใช้ฝ่ามือ ของคุณวางบนเอ็นแล้วค่อย ๆ เลื่อนต่ำลงมาที่ด้ามจับฐานมือนิ้วชี้และอุ้งฝ่ามือด้านชิดนิ้วก้อยจะอยู่บนสันไม้
1.2 เวสเทิร์น โฟร์แฮนด์ ( Western Foregand ) หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า กริปท่าจับกะทะ ( Frying-pan Grip ) วิธีการจับกริปนี้ทำได้โดย วางไม้เทนนิสไว้บนพื้นฐานมือนิ้วชี้และอุ้งฝ่ามือด้านชิดนิ้วก้อยจะอยู่บนสันไม้หมายเลข 4 แล้วคุณก็หยิบไม้ขึ้นมาตรง ๆ นักเทนนิสชั้นนำของโลก ในปัจจุบันนิยมการจับกริปแบบเซมิ-เวสเทิร์น ( Semi-Western Forehand ) เป็นกริปที่เลื่อนมือเล็กน้อยจากกริปแบบ เวสเทิร์น โฟร์แฮนด์ไปทาง กริปอีสเทิร์น โฟร์แฮนด์ ฐานมือนิ้วและอุ้งฝ่ามือด้านชิดนิ้วก้อยจะอยู่ระหว่างสันไม้
1.3 อีสเทิร์น แบคแฮนด์ ( Easterm Backhand ) วิธีการจับกริปนี้ โดยใช้มือซ้ายจับที่คอไม้แล้วยื่นออกไปข้างหน้าตัวที่จุดปะทะบอล โดยให้ น้าไม้ขนานกับตาข่ายเหยียดมือขวาไปวางที่ด้ามจับในลักษณะที่มือสบาย ๆ ฐานมือนิ้วชี้จะอยู่บนสันไม้ และอุ้งฝ่ามือด้านชิดนิ้วก้อยจะอยู่บนสันไม้ นักเทนนิสชั้นนำของโลกนิยมการจับกริปโดยวิธีนี้เพราะหน้าไม้จะขนานกับตาข่าย และจะส่งผลให้ข้อมือมีกำลังในขณะตีลูกบอล
1.4 คอนติเนนตัล ( Continental ) หรืออีกชื่อหนึ่ง เรียกว่า กริปท่าจับฆ้อน ( Hammer Grip ) วิธีการจับกริปนี้ให้เน้นโดยอุ้งฝ่ามือด้านชิด นิ้วก้อย อยู่บนสันไม้ ฐานมือนิ้วชี้จะอยู่บนสันไม้ กริปนี้ให้คุณนึกง่าย ๆ ว่า คุณกำลังจับฆ้อนเพื่อที่จะตอกตะปูด้วยขอบไม้ เป็นกริปที่ควรจะใช้ใน การเสิร์ฟ การตีลูกฮาล์ฟวอลเล่ย์ การตบลูกเหนือศีรษะและการตีลูกวอลเล่ย์
1.5 การจับกริปสองมือ
( ก ) ถ้ามือขวาจับไม้ด้วยกริปอีสเทิร์น แบคแฮนด์ มือขวาก็จะเป็นมือที่ช่วยออกแรงในการตีมากและถ้ามือขวาจับด้วยกริปคอนติเนนตัล มือขวาก็จะเป็นมือที่ช่วยออกแรงในการตีบ้างเพียงเล็กน้อยหรือแทบจะไม่ได้ช่วยในการตีเลย ส่วนมือซ้ายจับไม้ด้วยกริปอีสเทิร์น โฟร์แฮนด์
( ข ) ถ้ามือทั้งสองจับไม้ด้วยกริปอีสเทิร์น โฟร์แฮนด์ มือซ้ายก็จะเป็นมือที่ออกแรงในการตีเพียงมือเดียว
( ค ) โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ผู้เล่นหัดใหม่มักจะเริ่มเล่นโดยใช้กริปอีสเทิร์น โฟร์แฮนด์ทั้งสองมือในการจับไม้ และเมื่อเขาเล่นเก่งขึ้นมือขวา เขาก็จะเปลี่ยนกริปไปใช้คอนติเนนตัล หรือไม่ก็จับ กริปเดิม
1.6 การใช้กริปที่ถูกต้อง ( Using the Proper Grips ) ทำไมเราจึงต้องเปลี่ยนกริป ? ผู้เล่นหลายคนมักจะไม่ค่อยเข้าใจถึงเหตุผลที่แท้จริง บางคนก็จะบอกว่าครูบอกให้ทำหรืออ่านเจอในหนังสือ เหตุผลที่แท้จริงของการเปลี่ยนกริปจากโฟร์แฮนด์มาใช้แบคแฮนด์กริปในการตีด้าน แบคแฮนด์ ก็เพราะว่าเมื่อเปลี่ยนกริปแล้วหน้าไม้จะขนานกับตาข่ายและจะส่งผลให้ข้อมือมีกำลังในขณะตีลูกบอลแต่ถ้าหากเราจะใช้กริปโฟร์แฮนด์ มาตีในด้านแบคแฮนด์ และพยายามที่จะให้หน้าไม้ขนานกับตาข่ายในขณะปะทะบอล เพื่อตีลูกแฟลตหรือท็อปสปินจะทำให้ต้องหักข้อมือมาก และทำให้ ไม่มีกำลังพอในการตี แต่ถ้าคุณต้องการที่จะทำให้ข้อมือมีกำลังโดยใช้กริปโฟร์แฮนด์ในขณะตีลูกด้านแบคแฮนด์หน้าไม้ก็จะหงาย ซึ่งทำให้ลูกบอลไป ในทิศทางที่หน้าไม้ชี้ไปหรือต้องตีด้วยวิธีการตีอันเดอร์สปิน ซึ่งจะเป็นท่าทางที่ขัดมาก และจะไม่มีความรุนแรงในการตีอีกด้วย แต่ก็ถือว่าเป็นการตีพอแก้ขัดได้ดีกว่าที่จะเลือกตีด้วยลูกแฟลต หรือท็อปสปิน
ถ้าคุณจะใช้กริปคอนติเนนตัล ในการตีกราวน์สโตรคคุณก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนกริป แต่จะมีข้อเสียเปรียบอยู่ 3 ข้อ คือ
1. ในลูกที่กระดอนสูง ที่จุดปะทะบอลข้อมือของคุณจะอยู่ในท่าทางที่ไม่ถนัด และไม่มีกำลังเลย อีกทั้งคุณไม่สามารถที่จะตีลูกบอลให้แรง เพิ่มขึ้นได้ เว้นเสียแต่ว่าคุณมีข้อมือที่แข็งแรงมาก ๆ เท่านั้น
2. ในลูกที่กระดอนต่ำ ในการที่คุณจะตีลูกบอลโดยให้หน้าไม้ขนานกับตาข่ายที่จุดปะทะบอลนั้น คุณจะต้องเหยียดแขนตึง ซึ่งเป็นท่าที่ทำให้ เกิดการบาดเจ็บที่ศอก ( Tennis elbow ) ได้ง่าย
3. การตีท็อปสปินด้วยกริปคอนติเนนตัลนั้น จะตีได้ไม่รุนแรงเท่าไรนักและรู้สึกขัด ๆ ที่ข้อมือในขณะตีลูกบอลอีกด้วย
2. วิธีการตรวจสอบของลูกกราวน์สโตรค ( Groundstroke Checkpoints )
หลักการตรวจสอบของลูกกราวน์สโตรคก็คือ ตรวจสอบรากฐานการตีสโตรคที่ดี
( ก) บริเวณปะทะบอล ( Impact Area )
( ข) การทรงตัว ( Balance )
( ค) การใช้มือที่ไม่ถนัด ( Using the Free Hand )
2.1 การแก้ไขที่บริเวณปะทะบอล ปัญหาที่เกิดขึ้นมากที่สุดกับนักเทนนิสเห็นจะเป็นที่หัวไม้คือหัวไม้ลอยว่อนไปทั่ว เช่นหลังจากตีลูกบอล เสร็จแล้วพันไม้ไว้ที่คอทันที โดยไม่ดันไปข้างหน้าก่อน หรือพันไม้ไว้ที่ใต้รักแร้ จะทำให้บริเวณปะทะบอลสั้น จึงขาดความแม่นยำและ ความรุนแรง ในการตีลูกบอล
วิธีแก้ปัญหาบริเวณปะทะบอลที่สั้นก็คือ
( ก) ให้คุณคิดว่า “เท้าวิ่งให้เร็ว แต่แขนตีลูกช้า” โดยให้สร้างจินตภาพว่าแขนของคุณเคลื่อนที่ตีลูกบอล ในท่าทางการเคลื่อนที่ ของภาพช้าเหมือนในภาพยนตร์และมีสมาธิกับการเหวี่ยงไม้ตีอย่างต่อเนื่อง
( ข) ให้บีบนิ้ว 3 นิ้วคือ นิ้วกลาง นิ้วนางและนิ้วก้อย กำไม้ให้แน่นในขณะที่คุณตีลูกบอล ซึ่งในการทำเช่นนี้จะช่วยทำให้ข้อมือ มีกำลังมากขึ้น และป้องกันท่าทางการตีลูกบอลในลักษณะการตบ ( Slap )
( ค) ตีลูกบอลโดยดันไม้ไปข้างหน้าให้ไกลที่สุด ในลักษณะที่แขนสบาย ๆ ในจังหวะฟอลโล่ว์ทรู จุดเช็คคือคุณควรจะมองเห็นไม้ อยู่ระหว่างตัวคุณกับลูกบอล
หากคุณต้องการตีลูกขนานเส้นข้างให้ฟอลโล่ว์ทรูไม้ตรงไปที่ตาข่ายให้นานที่สุด จนกว่าลูกบอลจะหลุดออกไปจากการบังคับการตีลูกบอล ของคุณ การตีในท่าทางเช่นนี้คุณจะสามารถตีลูกทแยงได้อีกด้วย ทำได้ง่ายๆ โดยการตีให้จุดปะทะบอลหน้าตัวมากขึ้นไปอีก
สำหรับผู้เล่นที่หมุนไหล่และไม้ผ่านจุดกึ่งกลางของคอร์ด จะทำให้ระยะปะทะบอลสั้นและลูกที่ตีไปจะตกสั้นหรือไม่ลูกก็พุ่งไป ในทิศทาง ทแยงได้ทิศทางเดียว นั่นก็หมายความว่าคุณจะตีตรงขนานเส้นข้างด้วยท่าทางการตีเช่นนี้ไม่ได้ ทำให้จำกัดทิศทางในการเล่นเกมในขณะแข่งขัน สำหรับท่าทางการตีในด้านโฟร์แฮนด์ กรณีที่ตีจุดปะทะบอลช้างหรือต้องการตีลูกบอลที่สูงให้ไปในทิศทางทแยงหรือการตีลูกบอลโด่ง ด้วยวิธีการ ท็อปสปิน คุณสามารถที่จะส่งแขนและไม้ขึ้นไปเหนือศีรษะได้
(ง) ให้คุณจินตภาพ “การตีผ่านลูกบอล 5 ลูก” การตีที่มีระยะปะทะบอลยาวนี้ จะทำให้ลูกบอลที่พุ่งออกไปมีความหนักหน่วงและ แม่นยำในการตีมากขึ้น อีกทั้งคุณยังสามารถที่จะเลือกตีไปในทิศทางใดก็ได้ไม่ว่าจะเป็นการตีตรงขนานข้างหรือการตีทแยง
(จ) ให้คุณจินตภาพ “ฝ่ามือดันออกไปข้างหน้า” ( Palm Forward ) ในการตีด้านโฟร์แฮนด์ “ฐานนิ้วบริเวณสันมือดันออกไป ข้างหน้า” ( Knuckles Forward ) ในการตีด้านแบคแฮนด์ ซึ่งจะช่วยให้คุณเข้าใจและรู้สึกถึงบริเวณปะทะบอลได้ดีขึ้น
2.2
การแก้ไขที่การทรงตัว
(ก) ต้องการควบคุมให้น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้านำ ( เท้าซ้ายในการตีโฟร์แฮนด์ และเท้าขวาในการตีแบคแฮนด์ ) ตลอดเวลาของ การตีลูกบอล แต่ถ้าน้ำหนักตัวผิดไปจะทำให้เท้าอีกข้างลอยขึ้นไปบนอากาศ ปีเตอร์ เบอร์วอช เรียกท่านี้ว่า ท่านกฟลามิงโก ( Flamingos ) เพราะนก ฟลามิงโกจะยืนด้วยขาเดียว เนื่องจากตีจุดปะทะบอลหน้าตัวเกินไป และเนื่องจากตีจุดปะทะบอลหลังตัวเกินไป
(ข) หลังจากการตีลูกบอลเสร็จแล้วให้ค้างท่าไว้ ถ้าคุณสามารถที่จะวางไม้เทนนิสระหว่างเท้าทั้งสองของคุณได้ก็จะเป็นวิธีการที่ บอกให้คุณรู้ว่าเท้าทั้งสองของคุณแยกกันพอเหมาะหรือไม่ซึ่งจะส่งผลให้มีการทรงตัวที่ดีและในการที่คุณหยุดค้างท่าไว้นี้จะทำให้คุณบังคับตัวเองไม่ให้ วิ่งเลยจุดตีไปซึ่งทำให้เสียเวลาและระยะทางในการก้าวเท้ากลับโดยเปล่าประโยชน์
2.3 การแก้ไขโดยการใช้มือที่ไม่ถนัด ( มือซ้ายสำหรับคนที่ถนัดมือขวา ) คุณสามารถที่จะฝึกหัดในขณะฝึกซ้อมได้โดยใช้มือขวาแตะที่ กางเกงด้านสะโพกขวา เพื่อเป็นการบังคับให้มือซ้ายถือไม้เทนนิสไปในตัว โปรดระลึกอยู่เสมอว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการตีลูกกราวน์สโตรค นั้น เกิดมาจากมือซ้ายของคุณทำงานผิดพลาดไป ฉะนั้นคุณจึงควรจะใช้ “มือซ้าย” จับไว้ที่คอไม้ในขณะเตรียมตัวก่อนตีลูกบอลทุกครั้งไป