ประมวลคำศัพท์โกะ แปลจากภาษา ญี่ปุ่น - ไทย

คำชี้แจง : คำศัพท์โกะ จะเรียงตามการออกเสียงในภาษาญี่ปุ่น โดยใช้พยัญชนะภาษาอังกฤษเป็นตัวสะกดเสียง

คำศัพท์ (ญี่ปุ่น)

คำแปล (ไทย)
คำอธิบายเพิ่มเติม

Aji

ทิ้งเชื้อ

หมากที่ถูกคู่ต่อสู้ล้อมไว้จนไม่มีทางรอดแล้ว แต่ยังมีพิษสงใช้ทำประโยชน์ได้อีก

Aki-Sankaku

สามเหลี่ยมว่างเปล่า

บางคนเรียกสามเหลี่ยมโง่ เพราะมันเป็นรูปร่างเลวชนิดหนึ่ง

Atari

เรียกกิน

การกล่าวเตือนคู่ต่อสู้ว่าเราสามารถเดินจับกินคู่ต่อสู้ในการเดินครั้งต่อไป

Chuban

ระยะกลางกระดาน

ในการเล่นโกะ เราแบ่งหมากเป็น 3 ช่วงคือ ระยะเปิดเกม , ระยะกลางกระดาน , ระยะปิดเกม

Dame

เขตฉนวน

บริเวณดินแดนที่ยังไม่แน่ชัดว่าฝ่ายใดจะได้ครอบครอง

Dan

ดั้ง

ระดับฝีมือของผู้เล่นโกะ ที่สูงกว่าระดับคิว (Kyu) ...มีตั้งแต่ต่ำสุด 1ดั้ง - สูงสุด 9ดั้ง

Fuseki

เปิดเกม

การเล่นหมากช่วงเปิดเกม

Goban

กระดานโกะ

-

Goke

โถโกะ

โถที่ใช้ใส่เม็ดหมากล้อม

Go Ishi

เม็ดหมากล้อม

-

Gote

มือตาม

หมากที่คู่ต่อสู้ไม่จำเป็นต้องโต้ตอบ เพราะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายที่ยอมรับไม่ได้

Gosei

ตำแหน่งโกเซย์

เป็นชื่อรายการชิงตำแหน่งโกเซย์ของญี่ปุ่น

Hama

หมากเชลย

หมากที่ถูกคู่ต่อสู้จับกิน

Hane

เบียด

หมากที่เล่นทะแยงมุมออกจากหมากสีเดียวกันไปปิดหัวหมากคู่ต่อสู้

Hasami

ตีกระหนาบ

การโจมตีคู่ต่อสู้ โดยการเล่นหมากขัดขวางคู่ต่อสู้ไม่ให้สร้างฐานไปตามข้างกระดาน

Hayashi

สำนักโกะฮายาชิ

เป็น 1 ใน 4 สำนักโกะที่ตั้งขึ้นในสมัยโชกุนโตกุกาว่าของญี่ปุ่น

Hiraki

ขยายตัว

การเล่นหมากที่ขยายออกจากหมากสีเดียวกัน ไปตามข้างกระดาน (ปกติมักเล่นบนเส้นที่ 3 , 4 )

Honinbo

1.สำนักโกะฮงนินโบ
2.ตำแหน่งฮงนินโบ

1.เป็น 1 ใน 4 สำนักโกะที่ตั้งขึ้นสมัยโชกุนโตกุกาว่าของญี่ปุ่น
2.ปัจจุบันชื่อสำนักฮงนินโบถูกนำมาตั้งเป็นชื่อรายการชิงตำแหน่งฮงนินโบ

Honte

หมากที่เหมาะสมแม้ว่าจะดูเหมือน
ช้าเกินไปก็ตาม

-

Hoshi

จุด 4-4

-

Igo

ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของหมากล้อม

-

Inoue

สำนักโกะอิโนอุเอะ

เป็น 1 ใน 4 สำนักโกะ ที่ตั้งขึ้นสมัยโชกุนโตกุกาว่าของญี่ปุ่น

Ji

ดินแดน

-

Jigo

เสมอ

เกมที่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายได้คะแนนเท่ากันพอดี

Joseki

สูตรมุม

ลำดับหมากที่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายพยายามแบ่งผลประโยชน์กันบริเวณมุมและข้าง

กระดาน โดยยอมรับได้ทั้ง 2 ฝ่าย ไม่มีฝ่ายใดได้เปรียบเสียเปรียบจนเกินไป หากการแบ่งผลประโยชน์ไม่ยุติธรรมเราจะไม่ถือเป็นสูตรมุม

Judan

ตำแหน่ง 10 ดั้ง

Judan นั้นแปลตรงตัวแปลว่า 10 ดั้ง ซึ่งเป็นชื่อรายการชิงตำแหน่ง 10 ดั้งของญี่ปุ่น

(จริง ๆ แล้วระดับฝีมือของนักเล่นโกะมีสูงสุด 9 ดั้ง)

Kabe

กำแพง

กลุ่มอิทธิพลชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างเป็นแนวตั้งฉากกับกระดาน ส่งอิทธิพลไปด้านข้างของกระดาน

Kakari

การเข้าหา

การเล่นหมากเข้าหาหมากของคู่ต่อสู้ ที่มุม

Kaketsugi

ปากเสือ

คือการผูกหมากแบบเปิดที่คู่ต่อสู้ไม่สามารถตัดได้ ...ปากเสือถือว่าเป็นหมากรูปร่างดี (Good Shape) ลักษณะหนึ่ง

Keima

ตาม้า

หมากที่เล่นออกจากหมากสีเดียวกัน ในลักษณะเป็นรูปตัว L เช่นเดียวกับการเดิน

ของม้า ในหมากรุก

Keshi

การลดทอน , ริดรอน

-

Ki

ลมหายใจ

จำนวนอิสระภาพของกลุ่มหมาก

Kikashi

หมากบังคับ

หมากที่เล่นแล้วคู่ต่อสู้ต้องโต้ตอบ มิฉะนั้นจะเกิดความเสียหายที่ยอมรับไม่ได้ แต่ผู้เล่นหมากบังคับสามารถถอนตัวไปเล่นบริเวณอื่นได้ แล้วจะกลับมาเล่นที่เดิมเมื่อเห็นว่าสถานการณ์เหมาะสม

Kiri

ตัดหมาก

-

Kisei

ตำแหน่งคิเซย์

ชื่อรายการแข่งโกะชิงตำแหน่งคิเซย์ ซึ่งเป็นรายการที่มีเงินรางวัลมากที่สุด

Ko

การต่อรอง

ในสถานการณ์ที่ผู้เล่นทั้งสองสามารถจับกินกันได้ไม่สิ้นสุด จึงต้องมีกฎว่าเมื่อฝ่ายหนึ่งกินโคะ อีกฝ่ายหนึ่งต้องไปเล่นที่อื่นก่อนอย่างน้อย 1 ตา จึงจะกลับมากินโคะคืนได้ ...จึงเกิดการสู้โคะขึ้นโดยเมื่อฝ่ายหนึ่งกินโคะแล้ว อีกฝ่ายจะเล่นหมากบังคับ (Kikashi) เพื่อให้คู่ต่อสู้ต้องโต้ตอบ แล้วกลับมากินโคะ

อีกครั้ง เราเรียกการเล่นอย่างนี้ว่าการต่อรอง (Ko)

Kogeima

ตาม้าเล็ก

คือการเดินหมากตาม้าเหมือนปกติ ...มีหมากตาม้าอีกแบบที่เรียกว่า "ตาม้าใหญ่"

[ดู Ogeima]

Komi

แต้มต่อ

คะแนนที่ฝ่ายขาวจะได้เพื่อชดเชยความเสียเปรียบที่ฝ่ายดำได้เดินก่อน (ปัจจุบัน แต้มต่อมาตรฐานของกระดาน 19x19 กำหนดไว้ 5.5 คะแนน ...กระดาน 13x13 กำหนดไว้ 3.5 คะแนน

Komoku

จุด 3-4

-

Kosumi

หมากทะแยงมุม

หมากที่เล่นออกจากหมากสีเดียวกันในลักษณะทะแยงมุม

Kosumi-Tsuge

เตะ

การเล่นหมากทะแยงมุม (ดู Kosumi) ไปปะทะตัวคู่ต่อสู้

Kyu

คิว

ระดับฝีมือของผู้เล่น ที่ยังมีฝีมือไม่ถึงระดับดั้ง (Dan) มีตั้งแต่ต่ำสุด 35คิว - สูงสุด 1คิว

Kyuba

งานด่วน

คือจุดเร่งด่วนบนกระดานที่จะต้องรีบยึด

Kyusho

จุดตาย

จุดสำคัญยิ่งยวดบนกระดาน ...มีสุภาษิตโกะว่า "จุดตาย ต้องแย่งยึด" เพราะถ้าเรายึดจุดตายของคู่ต่อสู้ได้ เขาจะลำบาก แต่ถ้าเรายึดจุดตายของเราเองได้ เราก็จะไม่มีจุดตายเป็นจุดอ่อนอีกต่อไป เพราะฉะนั้น จุดตาย ต้องแย่งยึด

Me

ห้อง

-

Meijin

ตำแหน่งเมย์จิน

เป็นชื่อรายการแข่งขันชิงตำแหน่งเมย์จินของญี่ปุ่น ปัจจุบันมีเงินรางวัลมากเป็น

อันดับ 2 รองจากรายการคิเซย์

Miai

ทวิบท [สองทางเลือก]

มีจุดที่ดีให้เลือกเล่นถึง 2 ทางเลือก

Moyo

กรอบดินแดน

-

Oba

งานใหญ่

-

Ogeima

ตาม้าใหญ่

หมากตาม้าที่เดินห่างออกไปอีก 1 จุด [ดูหมากตาม้า : Keima]

Osae

สกัด

-

Oza

ตำแหน่งโอสะ

เป็นชื่อรายการชิงตำแหน่งโอสะของญี่ปุ่น

Ponnuki

ปงนุกิ

รูปร่างปงนุกิ (Ponnuki) เป็นรูปร่างดีเยี่ยมในอุดมคติของโกะเลยทีเดียว เพราะรูปร่างของมันแผ่อิทธิพลออกไปรอบด้าน และมีความเป็นไปได้สูงที่จะสร้าง 2 ห้องได้ในการเดินไม่กี่ครั้งเท่านั้น จนมีสุภาษิตโกะว่า "ปงนุกิ มีค่า 30 คะแนน"

Sabaki

รูปร่างเบา

รูปร่างของกลุ่มหมากที่เบา และยืดหยุ่นดี (คำว่า Sabaki มีความหมายในเชิงชมเชย)

Sanrensei

ค่ายกล 3 ดาว

การเล่นหมากที่จุดดาว เรียงกันเป็นแนวเส้นตรงถึง 3 จุด

Seki

ต่างรอด

สถานการณ์ที่ทั้ง 2 ฝ่ายไม่สามารถจับหมากคู่ต่อสู้กินได้ เพราะหมากรัดตัวทั้งคู่ ทั้ง 2 ฝ่ายมีชีวิตโดยอาศัยซึ่งกันและกัน เราเรียกสถานการณ์นี้ว่า Seki ...เมื่อจบเกมจะถือว่าหมากที่อยู่ในสถานการณ์ Seki ไม่ตายทั้งคู่ และดินแดนที่เกิดภายในสถานการณ์นี้จะไม่นับ

Seme

การโจมตี

-

Semeai

การไล่ล่าจับกินซึ่งกันและกัน

-

Sente

มือนำ

หมากที่เล่นแล้วคู่ต่อสู้จำเป็นต้องโต้ตอบ ทำให้ผู้เล่นหมาก Sente สามารถนำหมากไปเล่นต่อที่อื่นได้อีก

Shicho

บันได

เป็นการไล่ล่าจับกินรูปแบบหนึ่ง ที่ฝ่ายหนึ่งสามารถอาตาริ อีกฝ่ายหนึ่งไปอยู่

เรื่อยทุกตา เมื่อไล่ล่าไปจนถึงสุดขอบกระดาน ฝ่ายที่ถูกไล่ล่าจะถูกจับ

กินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ถ้ามีหมากของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาขวางทางบันไดอยู่ ฝ่ายนั้นจะชนะในการไล่ล่าจับกินตามขั้นบันได

Shicho-Breaker

หมากหยุดบันได

หมากที่เข้าไปขวางทางในรัศมี 6 ช่อง ของบันได ทำให้การไล่ล่าจับกินตามแนวขั้นบันไดไม่สำเร็จ

Shimari

ล้อมมุม

-

Shodan

1 ดั้ง

ระดับฝีมือระดับดั้งขั้นแรก

Tengen

ตำแหน่งเท็นเง็น

เป็นชื่อรายการชิงตำแหน่งเท็นเง็นของญี่ปุ่น

Tenuki

ไม่รับ

การนำหมากไปเล่นบริเวณอื่นของกระดานโดยไม่ตอบรับหมากที่คู่ต่อสู้เพิ่งเล่นไป

Tesuji

หมากเด็ด

หมากที่ทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งอย่างยอดเยี่ยม

Tobi

กระโดด

การเล่นหมากออกจากหมากสีเดียวกันในลักษณะตรง หมากที่กระโดดออกจากหมากสีเดียวกันห่าง 1 จุดเราเรียกว่า "กระโดดหนึ่ง"

ถ้าห่าง 2 จุดเราเรียกว่า "กระโดดสอง"

Tsugi

เชื่อมหมาก

-

Tsuke

ประชิด

การเล่นหมากที่เข้าสัมผัสหมากคู่ต่อสู้

Tsume

การเล่นขวางทางไม่ให้คู่ต่อสู้ขยายตัว
ไปตามข้างกระดาน

-

Uchikomi

บุกรุก

-

Uchisugi

การเล่นหมากที่เกินกว่าเหตุ

-

Uki-Ishi

ล่องลอย

กลุ่มหมากที่ไม่มีฐานในการสร้าง 2 ห้อง เราเรียกกลุ่มหมากพวกนี้ว่าเป็นกลุ่มที่ "ล่องลอย"

Yasui

สำนักโกะยาสุอิ

เป็น 1 ใน 4 สำนักโกะที่ตั้งขึ้นสมัยโชกุนตากุกาว่าของญี่ปุ่น

Yose

ระยะปิดเกม

ในการเล่นโกะ เราแบ่งหมากเป็น 3 ช่วงคือ ระยะเปิดเกม , ระยะกลางกระดาน , ระยะปิดเกม

Yosu-Mi

ลองเชิง

การเล่นหมากที่ลองเชิงคู่ต่อสู้ว่า มีจุดประสงค์อะไร

 

<------------------------------------------------------------------------------------------------->

Webmaster : t_thunyamai@hotmail.com