|
Home |
เริ่มต้นกับการเล่นโกะ |
เทคนิคเอาชนะคู่ต่อสู้ |
คำศัพท์โกะ |
สุภาษิตโกะ |
Wallpaper | Webmaster |
|
โกะ มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "หมากล้อม" ในภาษาไทย หรือ "เหวยฉี" ในภาษาจีน เป็นกีฬาหมากกระดานชนิดหนึ่งที่มีประวัติความเป็นมากว่า 3,000 ปี เกิดขึ้นครั้งแรกในจีน และต่อมาได้เผยแพร่ไปยังเกาหลีและญี่ปุ่นเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ผู้บริหารประเทศระดับฮ่องเต้ แม่ทัพนายกองและปัญญาชนชั้นสูง ปัจจุบันนิยมเล่นกันแพร่หลายกว่า 50 ประเทศในทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาโดยเฉพาะในญี่ปุ่นและเกาหลี ญี่ปุ่นรู้จักโกะเมื่อประมาณ 1,500 ปีก่อน จนปัจจุบันพัฒนามาเป็นกีฬาประจำชาติอย่างหนึ่ง "โกะ" เป็น 1 ใน 4 ของศิลปะประจำชาติของจีนอันประกอบด้วย ดนตรี โคลงกลอน การวาดภาพ และหมากล้อมชาวจีนโบราณเปรียบเทียบการเล่นโกะไว้ว่า เสมือนการสนทนาด้วยมือ บางคนว่าเหมือนฝิ่นของปัญญาชนบางคนบอกว่าเป็นหมากกระดานที่มีชีวิตเนื่องจากกระดาน โกะมีพื้นที่เล่นมากถึง 361 จุด บนเส้นที่ตัดกันด้านละ 19 เส้น โกะจึงเป็นเกมที่เล่นยากและ เป็นศิลปะสุดยอดของการเล่นหมากกระดานทั้งยังเป็นศาสตร์ท้าทายให้ผู้เล่นศึกษาแนวคิด ในการวางแผน มองการณ์ไกล หาโอกาสสร้าง ต่อสู้และบุกชิงพื้นที่มาครอบครองภายใต้หลักการ ให้คู่ต่อสู้สามารถอยู่ได้ โดยใช้เบี้ยขาวและดำวางบนกระดานสร้างกลุ่มให้เกิดกลุ่มกำลังให้มาก ที่สุดเพื่อความได้เปรียบในเกมการตัดสินใจวางเม็ดโกะแต่ละครั้งบนกระดานนั้นยังต้องอาศัย หลักการของการใช้เหตุผลมากกว่าการใช้อารมณ์ การรู้จักถ่อมตนประมาณตนเองรวมไปถึงความอดทนอดกลั้นของผู้เล่น ทั้งนี้เพราะการเล่นแต่ละกระดานนั้น ผู้เล่นมีโอกาสเท่ากัน ทั้งทางด้านทรัพยากรและพื้นที่ อยู่ที่ว่าการเตือนสติตัวเอง การประคองตัวเองเมื่อเพลี่ยงพล้ำ สำรวจตัวเอง หาจุดบกพร่องและแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าให้ดีที่สุดนั้น ใครทำได้มากกว่ากัน ความสำคัญของโกะมิใช่เป็นเพียงศิลปะในการเล่นเกมกีฬาที่สนุก
ตื่นเต้น และท้าทายเท่านั้น แนวความคิดและปรัชญาที่เกิดจากทักษะและความชำนาญของผู้เล่น
เช่น การวางแผน การบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพและผลตอบแทนสูงสุด
การสร้างกลุ่มกำลังบนรากฐานของการให้โอกาสและการแบ่งปัน การสร้างสมดุลของสภาวะหน้าที่ความรับผิด
ชอบต่างๆ และความคุ้นเคยต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีวันจบสิ้น ประสบการณ์เหล่านี้สามารถ
นำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านการบริหารการปกครอง และแม้กระทั่งการดำเนินชีวิตประจำวัน
ได้อย่างชาญฉลาด โกะจึงเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับในประเทศที่มีการพัฒนาทาง
เศรษฐกิจสูง ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา เยอรมัน ฝรั่งเศสหรือในเอเชีย เช่น จีน
ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น ต้นกำเนิดของหมากล้อมอยู่ในประเทศจีนครับ เมื่อ 4000 ปีก่อน โดยจักรพรรดิ์จีน สมัยนั้นได้ให้เหล่าขุนนางคิดค้นเกมส์ ที่จะสามารถ เปลี่ยนนิสัยเจ้าลูกชายจอมเหลวไหลให้มี ความขยัน รับผิดชอบขึ้นมาบ้าง ก็ได้มีแม่ทัพคนหนึ่งคิดค้นเกมส์นี้ขึ้นมาและหลังจาก ได้ฝึกเล่นหมากล้อมไปซักพัก เจ้าลูกชายตัวดี ก็จับเคล็ดวิชาได้(จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้) บอกกับจักรพรรดิ์(พ่อ)ว่า เกมส์นี้เป็นเกมส์ที่ ใครเดินก่อนก็จะชนะ (เกมส์ไม่สนุก ว่างั้นแหละ) แล้วก็ทำตัวเหลวไหลเหมือนเดิม ตัวพ่อเองก็ไม้รู้จะทำอย่างไร ก็ตัดเจ้าตัวดีนี่ ออกจากกองมรดก แล้วตั้งคนอื่นขึ้นมาสืบราชสมบัติแทนแซะ นี่ก็เป็นประวัติแรกเริ่มของหมากล้อมครับ แม้เกมส์นี้จะเกิดในประเทศจีน แต่เมื่อประมาณปี ค.ศ.740ได้มีผู้นำเกมส์นี้เข้าสู่ประเทศ ญี่ปุ่น (บางตำราบอกฑูต บางอันก็บอกพระ) ของญี่ปุ่น พวกซามูไร ขุนนาง และโชกุน ถึงขนาด มีการตั้งรางวัล และตั้งตำแหน่ง "ครูสอนหมากล้อมโชกุน" และในปี ผมเองก็ไม่ทราบแน่ว่าใครนำเข้ามา แต่เอาเป็นว่าในช่วงปี ค.ศ.1602 เกมส์นี้เป็นที่นิยมเล่นในหมู่ชนชั้นสูงค.ศ.1612 ก็ได้เกิด 4 สำนักหมากล้อมขึ้นคือ Honinbo, Inoue, Yasui และ Hayashi เกิดมีการแข่งขันกันระหว่างสำนัก ทำให้หมากล้อมมีการพัฒนาอย่างสูงมาก จนกระทั่งถึงปี 1868 จักรพรรดิ์ญี่ปุ่นสมัยนั้น ยกเลิกการสนับสนุนหมากล้อมทั้งปวง (อ้าว !!!) ทำไมเป็นอย่างนั้นล่ะ เอ... ผมไม่แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้นนะครับแต่คร่าวๆว่าจะเป็นสงคราม อันนี้ก็ไม่แน่ใจนะครับ แต่ผลก็คือนักหมากล้อมก็ตกยากครับ (ก็คงต้องกลับไปทำนาทำไร่ล่ะครับ) ก็เป็นยุคมื ของหมากล้อมครับ เฮ้อ...... จนกระทั่งปี 1924 ก็มีการตั้งสมาคมโกะญี่ปุ่นขึ้น ใช้ชื่อว่า Nihon Kiin และมีการพัฒนาหมากล้อมขึ้นมาจนเป็นที่นิยมอีกครั้งหนึ่งทีนี้ก็มาดูทางด้าน ประเทศจีนบ้างครับ แม้ว่าจะเป็นต้นกำเนิดของหมากล้อม แต่หมากล้อมในประเทศจีน ก็ไม่ได้เป็นที่นิยม ไม่ได้รับการสนับสนุน อย่างในประเทศญี่ปุ่น จนมีคนกล่าวว่าถ้าผู้เล่น หมากล้อมระดับสูงของทั้ง 2 ประเทศมาเจอกัน ญี่ปุ่นต้องต่อให้จีน 3 เม็ดจึงจะเล่นกันได้ !!! แต่อย่างไรก็ตามประเทศจีน ก็ไม่สิ้นคนดี ยังมีนักหมากล้อมฝีมือดี ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปคือ Go Seigen แต่ต่อมา จีนก็มีการสนับสนุนหมากล้อมมากขึ้น จนเกิดยอดฝีมือขึ้นมากมาย ปัจจุบันมีแมทต์ การแข่งขันระหว่าง 3 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่งทั้ง 3 ประเทศก็มีฝีมือ ทัดเทียมกัน (พอฟัดพอเหวี่ยงกัน) ทีนี้เราก็วนไปดูทางฝั่ง
ยุโรปอเมริกาบ้างครับ แม้ว่า มาโคว์ โปโล จะได้นำชุดหมากล้อม
กลับประเทศ แต่หมากล้อมก็ไม่ได้เป็นที่รู้จักขึ้นมา ตรงนี้ถ้าจะให้ผมวิเคราะห์(ตัวผมเองนะครับ)
ผมก็คาดว่า ผู้ที่เล่นหมากล้อมกันแบบไม่ค่อยเป็นนั้น คงจะเล่นหมากล้อมกันไม่สนุกหรอกครับ
ก็คงจะเล่นกันแบบมั่วๆ ผมว่าถ้าจะให้ดีจริงนะครับ มาร์โค โปโลควรจะหัดเล่นให้ได้สัก
10 คิว เสียก่อนแล้วจึงกลับประเทศ หมากล้อม ก็คงจะเป็นที่รู้จักกันในอเมริกาครับตรงนี้ผมคิดเอง
นะครับไม่เชื่อก็ไม่เป็นไรครับ แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันหมากล้อม(โกะ)
ก็แพร่หลายในอเมริกา และ ยุโรปหลายประเทศครับ |
<------------------------------------------------------------------------------------------------->
Webmaster : t_thunyamai@hotmail.com