การกรอง การต้ม ทดสอบหินปูน

หินงอก         หินย้อย

   หยดน้ำที่ไหลซึมจากเพดาน เหตุใดจึงสามารถ จับตัวจนแข็งกลายเป็นหินไปได้.....

[สมมุติฐาน] [รวบรวมข้อมูล] [กระบวนการทดลอง] [การนำไปใช้] [แหล่งข้อมูล] ติดต่อผู้จัดทำ


         จากความสงสัยจึงเป็นเหตุให้ต้องวิธีพิสูจน์โดยใช้กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ทราบได้ว่าสิ่งพบนั้น คืออะไรและเกิดขึ้นได้อย่างไร

สมมุติฐาน

หินงอกหินย้อย

          พื้นห้องน้ำนักเรียนหญิงที่อยู่บริเวณชั้น 2 น่าจะมีรอยแตกร้าวจึงทำให้มีหยดน้ำไหลซึมผ่านพื้นปูนซีเมนต์ลงไปได้ และเนื่องจากน้ำดังกล่าวมีการปนเปื้อนหินปูน ที่ได้จากพื้นซีเมนต์ ประกอบกับบริเวณดังกล่าวเป็นห้องน้ำที่มีสภาพอากาศโดยรวมสงบนิ่ง และน้ำมีอัตราการไหลซึมต่ำซึ่งคล้ายกับบรรยากาศภายในถ้ำจึงเป็นปัจจัยที่เหมาะสมในการก่อให้เกิด หินงอกหินย้อย

เรื่องน่ารู้..!

หินงอกหินย้อย

          มักเกิดภายในบริเวณที่มีบรรยากาศสงบและมีความชื้นสูง เช่นในถ้ำหรือใต้ถุนอาคารต่างๆ ปัจจัยที่สำคัญอีกประการคือจะต้องมีน้ำที่มีสารประกอบประเภทหินปูนปะปนอยู่ไหลซึมอยู่ตลอดเวลา

          หินปูน มีเกลือแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นองค์ประกอบหลัก เกลือแคลเซียมคาร์บอเนตจะละลายออกมากับน้ำที่ไหลผ่าน พอน้ำระเหยไปก็จะเหลือผลึกของเกลือแคลเซียมคาร์บอเนต ที่ตกค้างอยู่ในบริเวณนั้น เมื่อสะสมต่อเนื่องเป็นเวลานาน ก็จะก่อตัวจนกลายเป็น หินงอกหินย้อย ดังที่เราพบในถ้ำต่างๆ นั่นเอง

หินงอก มักเกิดขึ้นจากน้ำที่มีสารประกอบประเภทหินปูนปะปนอยู่ไหลซึมที่ไหลอยู่ตามพื้น บางส่วนที่ระเหยแห้งก็จะก่อตัวขึ้นเป็นหินสูงขึ้น

หินย้อย เกิดขึ้นจากหยดน้ำที่มีสารประกอบประเภทหินปูนปะปนอยู่เช่นกัน แต่เนื่องจากเป็นการไหลหยดจากที่สูงที่ละน้อยส่วนที่ระเหยแห้งก็จะก่อตัวเป็นแท่งหินต่ำลงไป นอกจากนี้ หยดน้ำบางส่วนที่ตกลงไปสะสมที่พื้นด้านล่าง ก็อาจก่อตัวจนกลายเป็นหินงอกได้เช่นกัน .. ในบางแห่งหินงอกและหินย้อยก็อาจก่อตัวสะสมจนมาชนกัน และ ผสานกันจนกลายเป็นเสาหินไปเลยก็มีดังปรากฏพบในถ้ำต่างๆ
กลับสู่ด้านบน

 

รวบรวมข้อมูล

1.เก็บตัวอย่างน้ำ

2.กำหนดกระบวนการทดลองดังนี้

2.1 การกรอง

2.2 การต้ม

2.3 การทดสอบค่า Ph

2.4 การใช้ชุดทดสอบแคลเซียม


กลับสู่ด้านบน

กระบวนการทดสอบ

1. การกรอง

2. การต้ม

3. การใช้ชุดทดสอบ
กลับสู่ด้านบน

 

การนำไปใช้

1. การต้ม ช่วยลดความเป็นกรด - ด่าง (น้ำกระด้าง,น้ำอ่อน)ของน้ำได้ และนอกจากนี้ยังช่วยลดเชื้อโรคในน้ำด้วย

2. การกรอง ถ้าได้ผ่านกระบวนการที่เหมาะสมก็จะช่วยปรับปรุงคุณภาพของน้ำได้เป็นอย่างดี

3. หินปูน เป็นวัสดุสำคัญเบื้องต้นในการผลิตปูนซีเมนต์ที่ใช้ในการก่อสร้าง

4.การบริโภคน้ำที่รับการปรับสภาพความเป็นกรด - ด่าง (น้ำกระด้าง,น้ำอ่อน)ของน้ำแล้ว ช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคนิ่วได้

5.เราสามารถนำวิธีการทดสอบแคลเซียม (หินปูน)ดังกล่าวไปใช้ในกรณีแก้ใขและปรับปรุงสภาพน้ำให้เหมาะสมกับการเลี้ยงสัตว์น้ำต่างๆได้


กลับสู่ด้านบน

 

แหล่งข้อมูล

      ผศ.ดร.พงษ์จันทร์   จันทยศ.  การทดลองเคมี กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น, 2543.

      อาจารย์ประชา   ศิวะเวทกุล.  เกมส์การทดลองเคมี - ชีววิทยา (ชุดวิทยาศาสตร์มหัศจรรย์) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรวัฒนา, มปพ.

      ดร.มนัส   บุญประกอบ.  ทดลองเคมีมหัศจรรย์ พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์, 2546.
กลับสู่ด้านบน

ผู้จัดทำ

ภคพล & อิงกฤษณ์..

 



Disclaimer