นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า หากเรามีดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่มีมวลประมาณ 10 เท่าของดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ดวงนี้ จะปลดปล่อยพลังงานความร้อน และพลังงานแสงออกมา ตลอดระยะเวลาอันยาวนานร่วม 1,000 ล้านปี โดยอาศัยปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดในดาว ซึ่งจะเปลี่ยนธาตุไฮโดรเจนเป็นธาตุฮีเลียม
พลังงานต่างๆ ที่ดาวฤกษ์ปลดปล่อยออกมานี้ จะทำให้เกิดแรงดันสูงมากพอที่จะต้านแรงดึงดูดแบบโน้มถ่วง (gravity) ซึ่งจะทำให้ดาวยุบตัวลง ได้อย่างสบายๆ มีผลทำให้ดาวฤกษ์ มีรัศมียาวประมาณห้าเท่า ของดวงอาทิตย์ และสำหรับดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่ และมีมวลมหาศาลเช่นนี้ หากมนุษย์อวกาศคนใดต้องการจะขับจรวดหนีให้พ้นจากสนามแรงดึงดูดของดาว จรวดของเขาจะต้องมีความเร็วอย่างน้อยที่สุดก็ 1,000 กิโลเมตร/วินาที นั่นก็หมายความว่า หากจรวดของเขามีความเร็วน้อยกว่านี้ เขาและจรวดจะถูกแรงดึงดูดแบบโน้มถ่วงของดาวดึงดูดให้ตกกลับลงมาอีก แต่ถ้าจรวดของเขามีความเร็วสูงกว่า 1,000 กิโลเมตร/วินาที เขา และจรวดก็จะหลุดพ้นดาวไปชั่วนิจนิรันดร์ ส่วนโลกของเรา ความเร็วที่ จะทำให้จรวดหลุดพ้นจากสนามแรงดึงดูด ของโลกนั้นอยู่ที่ 11 กิโลเมตร/วินาทีเท่านั้นเอง ดังนั้นเวลาเราฉายแสงสู่อวกาศ ความเร็วของแสงที่สูงถึง 3 แสนกิโลเมตร/วินาที จึงทำให้แสงพุ่งหนีโลกไปได้สบายๆ เมื่อเป็น