พยัญชนะ
ตัวอักษร
นักภาษาประมาณว่าในโลกเรามีภาษาที่ใช้พูดกันอยู่ราว ๆ ๓,๐๐๐ ภาษา แต่ภาษาที่มีตัวอักษรมีอยู่ไม่ถึง ๕% การประดิษฐ์ภาษาเขียนขึ้นในสังคมใด ๆ ก็ตาม นับเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ของสังคมนั้น ๆ เพราะภาษาเขียนทำให้สังคมพัฒนาและก้าวหน้าไป อย่างรวดเร็ว และเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในสังคมไปจากเดิมมากในสังคมที่ไม่มีภาษาเขียน การดำเนินชีวิตมักเป็นไปตามกรอบ ประเพณีที่สืบทอดมาอย่างเคร่งครัด การเรียนการสอนใด ๆ ย่อมอาศัยการฟังการฝึกปฏิบัติ เป็นหลักสำคัญ การท่องจำการทำซ้ำแล้วอีกเป็นสิ่งจำเป็นสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการท่องจำนับเป็นสิ่งที่มีค่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ควรแก่การเก็บรักษา ไม่พึงทำใ ห้เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ในการเรียนการพูดใด ๆ จะต้องมี ๒ ฝ่ายเสมอ เนื่องจากความจำของมนุษย์มีขอบเขตจำกัด การจำจึงทำได้อย่างมีขอบเขตที่จำกัดเช่นกันตัวอักษรทำให้ข้อจำกัดนี้หมดไป มนุษย์สามารถบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ได้ยาวเท่าที่ต้องการ และสภาพการใช้ภาษาก็เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิงมนุษย์เปลี่ยนจากการใช้เสียงและการใช้หูฟังมาเป็นการใช้เครื่องมือเขียนและใ ช้สายตาอ่าน การเขียนทำให้เกิดสภาพการใช้ภาษาเพียงคนเดียวหรือฝ่ายเดียวได้ คือ อ่านและเขียนคนเดียวได้ ภาษาเขียนทำให้เกิดการเรียนการสอนที่กว้างไกล ผู้เรียนไม่ต้องเห็นหน้าผู้สอนก็ได้ เพราะเหตุนี้การเผยแพร่ศาสนา การศึกษาในโรงเรียน วิทยาศาสตร์ แล ะเทคโนโลยีต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นได้ แต่ไม่ว่าการเขียนจะทำให้เกิดความก้าวหน้าเท่าใดก็ตาม ภาษาเขียนก็ยังต้องผูกพันกับภาษาพูดสังคมมนุษย์ทุกสังคมมีภาษาพูด แต่ตัวอักษรมีในบางสังคมเท่านั้น และไม่มีสังคมใดที่มีแต่ภาษาเขียนและตัวอักษรโดยไม่มีภาษาพูด
ตัวอักษรที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมีหลายรูปแบบ แบบแรกเริ่มเป็นภาษาเขียนที่ใช้แทนความหมาย สัญลักษณ์หนึ่งใช้แทนความคิดหรือความหมายหนึ่ง เช่น ดวงอาทิตย์ หมายถึงวัน แต่รูปแบบภาพธรรมดาที่ไม่ได้ใช้แทนความหมายอื่นไม่นับเป็นตัวอักษร ตัวอักษรจีนซึ่งมีใช้นานหลายพันปีเป็นภาษาเขียนที่ใช้แทนคำหรือความคิด ดังนั้นคนจีนที่พูดกันคนละภาษา เช่น จีนกลางกับจีนแต้จิ๋ว ซึ่งต่างกันมาก และไม่สามารถพูดกันได้รู้เรื่อง สามารถอ่านภาษาเดียวกันได้เพราะเป็นภาษาที่แทนคำหรือความคิด ตัวอักษรหนึ่งอาจใช้แทนค วามคิดว่า เช่น คน หรือ น้ำได้โดยไม่เกี่ยวกับเสียงในภาษาเลย ผู้ที่ออกเสียงคำต่างกันจึงอ่านภาษาเดียวกันได้ แต่คำในภาษาหนึ่ง ๆ มีจำนวนมากมาย การเขียนแบบนี้จึงต้องมีตัวเขียนจำนวนมหาศาลด้วย การเขียนอีกแบบหนึ่งเป็นตัวเขียนแทนพยางค์ เช่น ภาษาญี่ปุ่น ตัวเขียนแบบนี้หนึ่งตัวแทนพยางค์หนึ่งพยางค์ จำนวนตัวเขียนในภาษาน้อยลงกว่าแบบแทนคำแต่ก็ยังมีจำนวนมากอยู่


แหล่งอ้างอิง : http://www.kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK18/chapter6/t18-6-l2.htm#sect3
[ถัดไป>>] 

โดย : นาง จิตรา หอมสินธุ์, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 15 กันยายน 2545