พยัญชนะ(ตอนที่ 2)
อักษรไทยในสมัยสุโขทัย
แม้ว่าอักษรไทยที่ปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ซึ่งถือกันเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าเป็นการจารึกอักษรไทยครั้งแรกนั้นได้ใช้พยัญชนะไม่ครบทั้ง ๔๔ ตัว คือมีเพียง ๓๙ ตัว ขาดตัว ฌ ฑ ฒ ฬ และ ฮ ไม่ครบชุดพยัญชนะเหมือนที่ใช้สอนวิชาภาษาไทยในโรงเรียนในปัจจุบัน แต่เราก็อาจสันนิษฐานว่า ระบบภาษาเขียน ในขณะนั้นมีจำนวนพยัญชนะเท่ากับในปัจจุบัน ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ
ประการแรก จารึกหลักที่ ๒ และจารึกยุคต่อ ๆ มาใช้ตัวอักษรอีก ๔ ตัวที่ไม่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ และถึงแม้เราจะไม่พบตัวอักษร "ฮ " ในศิลาจารึกในยุคต่อ ๆ มาก็เป็นที่เชื่อได้ว่า "ฮ" มีอยู่แล้วในระบบ
ประการที่ ๒ คือ ภาษาเขียนนั้นประดิษฐ์ขึ้นเป็นระบบ ให้มีอักษรสูงทุกตัวคู่กับอักษรต่ำ "ฮ" มีขึ้นเพื่อคู่กับ "ห"
ประการที่ ๓ คือ "ฮ" เป็นอักษรที่มีที่ใช้น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับอักษรอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคำในภาษาสมัยโบราณ แม้ในขณะที่เขียนเรื่องภาษาอยู่นี้ถ้าเราไม่กล่าวถึงตัว "ฮ" โอกาสที่เราจะใช้คำที่เขียนด้วยตัว "ฮ" แทบจะไม่มีเลย และเพราะเหตุนี้จึง ไม่น่าที่จะมีการคิดเพิ่มอักษร "ฮ" ขึ้นภายหลัง เพราะไม่มีความจำเป็นในการใช้
ในบรรดาตัวอักษร ๔๔ ตัวที่มีมาแต่สมัยโบราณ มีอยู่ ๒ ตัวที่เราเลิกใช้ไปแล้ว คือ (...) (ขอขวด) และ (...) (คอคน) ที่เราเลิกใช้ไปโดยปริย ายก็เพราะเสียง ๒ เสียงนี้เปลี่ยนไปแล้ว กลายเป็นเสียงเดียวกับ ข และ ค ตามลำดับ ในภาษาไทยกลางเมื่อเราออกเสียง "..." เป็น "ข" ก็เป็นธรรมดาที่เราจะไม่ทราบว่าคำโบราณใดบ้างที่เคยออกเป็นเสียง "..." เวลาเขียนเราจึงไม่สามารถเลือกใช้ได้ถูก ซึ่งทำให้เราเลิกใช้ ไปในที่สุด แต่ทั้งเสียง "..." และ "ข" นี้ ยังมีใช้อยู่ในภาษาไทถิ่นอื่น คือ ในภาษาไทขาว ในเวียดนาม และตัวเขียนสำหรับ ๒ เสียงนี้ก็ต ่างกันด้วยในภาษาไทขาว
เสียง "ข" และ "..." เป็นเสียงที่มีใช้อยู่ในภาษาไทยสมัยสุโขทัยศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ จึงได้มีการคิดอักษรแทนเสียง ๒ เสียงนี้ขึ้นในขณะนั้น และในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ใช้คำที่เขียนด้วยทั้ง "ข" และ "..." หลายครั้งอย่างสม่ำเสมอ กล่าวคือ คำใดที่เขียนด้วย "..." เมื่อใช้ซ้ำอีกก ็ใช้ "..." ดังเดิม เช่น คำว่า ... ... และ ...และการใช้อักษร ๒ ตัวนี้ก็ไม่ปะปนกันเหมือนในจารึกหรือการเขียนอื่น ๆ ที่สำคัญมีนักภาษาศาสตร์นำคำที่ใช้เขียนด้วย "ข" และ "..." ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ไปเปรียบเทียบกับภาษาไทถิ่นอื่น ๆ เช่น ไทขาวก็พบว่า เป็นคำที่ใช้เสียงประเภท เดียวกัน และแยกเสียง "ข" และ "..." เหมือนกัน เพราะคำเหล่านี้เป็นคำที่เป็นมรดกตกทอดมาจากภาษาไทโบราณเก่าแก่ตั้งแต่ยังไม่ม ีอักษรเกิดขึ้น ภาษาไทถิ่นต่าง ๆ ยังใช้คำเหล่านี้อยู่ แต่ว่าเสียงที่ใช้ในคำเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปแล้วในหลายถิ่นอันที่จริงเราสามารถเห็นร่องรอยของการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ตั้งแต่สมัยสุโขทัยยุคหลังศิลาจารึกหลักที่ ๑ กล่าวคือ การใช้ "ข" และ "..." เริ่มไม่ สม่ำเสมอ คำ ๆ เดียวกันบางครั้งก็เขียนด้วย "ข" บางครั้งก็เขียนด้วย "..." แสดงว่าผู้เขียนหรือผู้จารึกเริ่มแยกเสียง ๒ เสียงนี้ไม่ออก เสียง ทั้งสองอาจเริ่มฟังเหมือนกัน เราต้องไม่ลืมว่าในสมัยสุโขทัยไม่มีโรงเรียนสอนภาษาหรือพจนานุกรมที่ผู้ใช้ภาษาอาจใช้อ้างอิงได้ แต่การเขียนแทนเสียงต้องมาจากการฟังและได้ยินเสียงที่ต่างกัน จึงจะเขียนด้วยอักษรที่ต่างกัน แม้สมัยอยุธยาและสมัยร ัตนโกสินทร์มีหลักฐานที่แสดงว่าเสียง "..." ได้หายไปแล้วโดยสิ้นเชิง แต่ยังมีผู้ใช้ "..." เพราะว่าเป็นตัวอักษรที่มีอยู่ กล่าวคือ คำหนึ่ง ๆ ใช้เขียนได้ทั้ง ๒ แบบ และที่ใช้ "..." เขียนนั้น บางคำก็มาจากภาษาเขมาร บางคำก็มาจากภาษาบาลี


แหล่งอ้างอิง : http://www.kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK18/chapter6/t18-6-l2.htm#sect3

โดย : นาง จิตรา หอมสินธุ์, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 15 กันยายน 2545