ฟุตบอล

ฟุตบอล (SOCCER) สมัยใหม่ วงการลูกหนังทั่วโลกถือว่ามีวิวัฒนาการรูปแบบการเล่นมา จากประเทศอังกฤษ เนื่องจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (CAMBRIDGE UNIVERSITY) คือสถาบันแห่งแรก ที่กำหนดกฎข้อบังคับ เรียกว่า "กติกาเคมบริดจ์" และจัดแข่งขันฟุตบอลตามกติกาดังกล่าว ใน ค.ศ. 1846 (พ.ศ. 2389) รัชสมัยสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย (QUEEN VICTORIA ค.ศ. 1837 - 1901)
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสยามกับแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (UNITED KINGDOM OF GREAT BRITAIN AND NORTHERNIRELA-ND) เกิดขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394 - 2411) ทรงแต่งตั้งพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) เป็นราชทูตนำคณะฯ รวม 27 คน เดินทางไปถวายพระราชสาส์นเพื่อเจริญพระราช ไมตรี เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2400 และมีบันทึกว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระอนุชา ในรัชกาลที่ 4) ทรงชอบเล่นกีฬาที่ชาวตะวันตกนำเข้ามาเผยแพร่ เช่น การล่าสัตว์ แข่งเรือ ขี่ม้าและตีคลี แต่ยังไม่มีการกล่าวถึงฟุตบอล
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 - 2453) พระองค์ทรงเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2440 เพื่อนำความเจริญอย่างอารยประเทศ (MODERNISATION POLICY) กลับมาพัฒนาบ้านเมืองและความเป็นอยู่ของราษฎรชาวสยาม โดย ก่อนนั้นมีการส่งพระบรมวงศานุวงศ์และนักเรียนทุนหลวงไปศึกษาเล่าเรียนที่ประเทศรัสเซีย เยอรมัน และอังกฤษ ตั้งแต่ราว พ.ศ. 2428 และชาวยุโรปก็ได้เดินทางเข้ามารับราชการและทำการค้าในเมือง บางกอก จึงก่อตั้ง "สโมสรรอยัลบางกอกสปอร์ตคลับ" (ROYAL BANGKOK SPORT CLUB) สระปทุมวัน โดยมุ่งเน้นกิจกรรมกีฬาเป็นสื่อสมานฉันท์ระหว่างชาวต่างชาติกับคนไทย คือยุคแห่งการเริ่มต้น "กีฬาสากล" ของเมืองสยาม
จากแหล่งข้อมูลและหนังสือหลายเล่ม ต่างระบุว่าเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของประเทศไทย คือผู้นำการเล่นฟุตบอลเข้ามาสู่สยาม เนื่องจากเมื่อจบจากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ (ROYAL NORMAL SCHOOL) และสอบได้ทุนหลวง ไปศึกษาต่อ ณ โรงเรียนฝึกหัดครูเบอโรโรด (BOROUGHROAD COLLEG EISLEWRETH) ณ เมืองไวส์ลเวิฟ ประเทศอังกฤษ (พ.ศ. 2438 - 2440) ต่อมา จึงเข้ารับราชการในกระทรวงธรรมการ (พ.ศ. 2441 - 2469) และเป็นผู้ปฏิวัติการเรียนการสอนของเมืองไทยครั้งประวัติศาสตร์
ยุคเริ่มต้นนั้น ผู้ที่นิยมชอบเตะฟุตบอลจะถูกขนานนามว่า "นักเลงลูกหนัง" โดยเรียกการเล่น ชนิดนี้ว่า "หมากเตะ" สนามที่ใช้แข่งขัน คือพื้นที่ว่างบริเวณลานวัด และสนามหญ้าหน้าโรงเรียน ส่วน ใหญ่จะใช้ลูกยาง ลูกเทนนิสและผลส้มโอ ที่ต้องคลึงให้พอน่วมแล้ว จึงนำเอามาเตะแทนลูกบอล
วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2443 ณ ท้องสนามหลวง กระทรวงธรรมการจัดการแข่งขันกรีฑา นักเรียน ท่ามกลางผู้ชมทั้งคนไทยและชาวต่างชาติที่กำลังมุ่งให้ความสนใจ การแข่งขันกีฬาประเภท หนึ่งระหว่างทีมบางกอกกับทีมศึกษาธิการ โดยผู้เล่นฝ่ายแรกเป็นคนอังกฤษทั้งหมด ส่วนฝ่ายหลังมี ทั้งชาวสยามและยุโรป ผลเสมอกัน 2 - 2 (0 - 1) หนังสือพิมพ์บางกอกไทม์ (THE BANGKOK TIMES) เรียกการเล่นนั้นว่า "ASSOCIATION FOOTBALL" หรือ "การแข่งขันฟุตบอลตามข้อบังคับ ของแอสโซซิเอชั่น" อย่างเป็นทางการครั้งแรกในเมืองสยาม และลงบทความวิจารณ์ประโยคหนึ่งว่า "กีฬาฟุตบอล คือศิลปะชิ้นล่าสุดที่ควรค่าแก่การยกย่องในทุกด้าน"
เพื่อสร้างความเข้าใจแก่นักเรียนเกี่ยวกับกติกาเบื้องต้นในการเล่นฟุตบอล หลวงไพศาลศิลปศาสตร์ (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) จึงทำการแปลกติกาการแข่งขันฟุตบอล ฉบับภาษาอังกฤษมา เป็นภาษาไทย ในหนังสือวิทยาจารย์ เล่มที่ 1 ตอนที่ 7 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2444 จนกระทั่ง นักเรียนตามโรงเรียนหลายแห่งเริ่มให้ความสนใจเล่นกันอย่างกว้างขวาง กล่าวกันว่าแม้จะเป็นช่วงเวลา พักเที่ยง แต่กลางสนามหญ้าหน้าโรงเรียนท่ามกลางแสงแดดนั้น เด็กนักเรียนก็ยังวิ่งเตะฟุตบอลแบบ ไม่ย่อท้อ แม้ว่าในระยะแรกจะมีเสียงคัดค้านจากผู้ปกครองที่ไม่สนับสนุนให้บุตรหลานของตน มาเล่น กีฬาชนิดนี้ เนื่องจากเห็นว่ามีการเข้าปะทะที่รุนแรงจนทำให้ผู้เล่นเกิดอาการบาดเจ็บอยู่บ่อยครั้ง
กรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ จึงจัดการแข่งขันฟุตบอลนักเรียน ประเภทอายุไม่เกิน 20 ปีขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2444 ซึ่งใช้กติกาแบบน็อกเอาต์ (KNOCKOUT OR ELIMINATIONS) หรือแพ้ตกรอบ ผู้เล่นจะต้องยึดคติธรรม 4 ประการ คือใจนักเลง, สามัคคี, อาจหาญและขันติ ทีมชนะเลิศจะได้ครองโล่เงิน เป็นเวลา 1 ปีพร้อมทั้งการถูกจารึกชื่อไว้บนโล่ โดยมีทีมส่งเข้าร่วม จำนวน 9 โรงเรียน ภายหลัง ใช้เวลาแข่งขันประมาณ 1 เดือน จึงได้ทีมชนะเลิศ คือโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ ต่อมา จึงเพิ่มการแข่งขัน ฟุตบอลนักเรียนอีกหลายรุ่น
มร. อี.เอส. สมิธ (MR. E.S. SMITH) อดีตนักเตะอาชีพชาวอังกฤษ เดินทางมาเมืองสยาม (พ.ศ. 2450 - 2452) ได้นำวิธีการเล่นสมัยใหม่มาฝึกสอนให้แก่นักเลงลูกหนังชาวสยามและลงทำการ ตัดสินฟุตบอลนัดสำคัญอีกด้วย เนื่องจากคนไทยยังไม่มีความชำนาญกติกาการแข่งขันเท่าที่ควร
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453 - 2468) หรือ "ยุคทอง ของฟุตบอลสยาม" เพราะทรงให้การสนับสนุนทั้งในทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือนอกจากการ เสด็จทอดพระเนตรฟุตบอลหน้าพระที่นั่งอยู่เนืองนิตย์แล้วทรงติดต่อ มร. เอ พี โคลบี้ และมร. อาร์ ดี เคร็ก ชาวอังกฤษให้มาช่วยสอนทักษะการเล่นฟุตบอลแก่ผู้เล่นชาวไทย ดังนั้น บริษัท ห้างร้าน และ หน่วยงานราชการ จะต้องมีทีมฟุตบอลอย่างน้อย 1 ชุด จึงทำให้ราษฎรทั่วทั้งพระนครและปริมณฑล นิยมเล่นฟุตบอลเพิ่มมากขึ้น อาจกล่าวได้ว่าพระองค์ คือ "พระบิดาแห่งวงการฟุตบอลเมืองสยาม"
รัชกาลที่ 6 สมัยยังดำรงอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมงกุฎราชกุมาร (CROWN PRINCE) ทรงเรียนอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ (พ.ศ. 2435 - 2444) และเป็นกษัตริย์ไทย พระองค์แรกที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ โดยเรียนวิชาการทหาร ที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก แซนด์เฮิสต์ (SANDHURST) และวิชาประวัติศาสตร์และกฎหมาย ณ วิทยาลัยไครสเชิร์ช (CHRIST CHURCH COLLEGE) แห่งมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด (OXFORD UNIVERSITY) ในขณะ ทรงศึกษา เมื่อว่างจากภารกิจจะโปรดการเล่นกีฬา อาทิ ขี่ม้า เทนนิส และฟุตบอล



แหล่งอ้างอิง : www.siamfootball.com
[ถัดไป>>] 

โดย : นางสาว ชุติมา แน่นหนา, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 16 กันยายน 2545