หน้าแรก

ประวัติ

ภารกิจ

การบรรเทาสาธารณภัย

บทกลอน

ห้องภาพ

 
   


กิจการบินของไทย เริ่มต้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีชาวต่างประเทศ  ได้นำเครื่องบิน มาแสดงให้ชาวไทย ได้ชมเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2454 อันทำให้  ผู้บังคับบัญชา  ระดับสูง ของกองทัพ ในสมัยนั้น พิจารณาเห็นว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องมีเครื่องบินไว้เพื่อป้องกันภัย............
   

 
 
       กิจการบินของไทย เริ่มต้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีชาวต่างประเทศ
 ได้นำเครื่องบิน มาแสดงให้ชาวไทย ได้ชมเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2454 อันทำให้  ผู้บังคับบัญชา
 ระดับสูง ของกองทัพ ในสมัยนั้น พิจารณาเห็นว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องมีเครื่องบินไว้เพื่อป้องกันภัยที่จะเกิด
 แก่ประเทศชาติในอนาคต  ด้วยเหตุนี้ กระทรวงกลาโหม จึงได้ตั้ง "แผนกการบิน" ขึ้นในกองทัพบก  พร้อมทั้ง
 ได้คัดเลือกนายทหารบก 3 คน ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสม ไปศึกษาวิชาการ ณ ประเทศฝรั่งเศส อันได้แก่ พันตรี
 หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ ร้อยเอกหลวงอาวุธสิขิกร และร้อยโททิพย์ เกตุทัต ทั้ง 3 ท่านนี้ ในเวลาต่อมา      ได้รับพระ
 ราชทานยศ และบรรดาศักดิ์ ตามลำดับ คือ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ,     นาวาอากาศเอก พระยาเวหา
 สยานศิลปสิทธิ์ และนาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต     โดยทั้ง 3 ท่านเหล่านี้ทางกองทัพอากาศได้ยกย่อง
 ให้เป็น "บุพการีของกองทัพอากาศ"
 
 
 

สามบุพการี


พลอากาศโท
พระยาเฉลิมอากาศ


นาวาอากาศเอก
พระยาเวหาสยาน
ศิลปสิทธิ์


นาวาอากาศเอก
พระยาทะยานพิฆาต

แห่งกองทัพอากาศ

ทหารในกองบินทหารบก ซึ่งเข้ารับราชการที่ดอนเมือง ก่อนไปราชการสงครามยุโรป

เครื่องบินแบบเบรเกต์ที่ซื้อมารุ่นแรก

   

ความเป็นมาของวันที่ระลึกกองทัพอากาศ
     
          ในขณะที่นายทหารทั้งสามกำลังศึกษาวิชาการบินอยู่นั้นทางราชการ ได้สั่งซื้อเครื่องบิน  รวมทั้ง
มีผู้บริจาคเงินร่วมสมทบซื้อด้วยเป็นครั้งแรก จำนวน 8 เครื่อง คือเครื่องบินเบรเกต์ปีก 2 ชั้น จำนวน
4 เครื่อง และ เครื่องบินนิเออปอรต์ปีกชั้นเดียว จำนวน 4 เครื่อง อันอาจกล่าวได้ว่า   กำลังทางอากาศ
ของไทยเริ่มต้นจากนักบินเพียง 3 คนและเครื่องบินอีก 8 เครื่องเท่านั้น การบินของไทยในระยะแรก
ได้ใช้สนามม้าสระปทุม หรือราชกรีฑาสโมสรในปัจจุบันเป็นสนามบิน     แต่ด้วยความไม่สะดวกหลาย
ประการบุพการีทั้ง 3 ท่าน  จึงได้พิจารณาหาพื้นที่ๆมีความเหมาะสมต่อการบิน    และได้เลือกเอาตำบล
ดอนเมือง เป็นที่ตั้งสนามบิน พร้อมทั้งได้ก่อสร้างอาคาร สถานที่โรงเก็บเครื่องบินอย่างถาวรขึ้น    เมื่อ
การโยกย้ายกำลังพล อุปกรณ์ และเครื่องบิน ไปไว้ยังที่ตั้งใหม่เรียบร้อยแล้ว ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.
2457 กระทรวงกลาโหม จึงได้สั่งยกแผนกการบินขึ้นเป็น"กองบินทหารบก" ซึ่งถือได้ว่ากิจการการบิน
ของไทย ได้วางรากฐานอย่างมั่นคงขึ้นแล้ว ตั้งแต่บัดนั้นมา กองทัพอากาศจึงถือเอา   วันที่ 27 มีนาคม
ของทุกปีเป็น "วันที่ระลึกกองทัพอากาศ"
     
   

ความเป็นมาของวันที่ระลึกกองทัพอากาศ

   
         ในปี พ.ศ. 2464 กระทรวงกลาโหม ได้พิจารณาเห็นว่า กำลังทางอากาศ มิได้เป็นกำลังเฉพาะ
ในด้านยุทธศาสตร์ทางทหารเท่านั้น       แต่มีประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อกิจการด้านอื่นๆ อีกด้วย
จึงได้แก้ไขการเรียกชื่อจาก กรมอากาศยานทหารเป็น "กรมอากาศยาน"      และเป็น "กรมทหาร
อากาศ"  ในเวลาต่อมา      โดยให้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยตรง
พร้อมทั้งได้มีการกำหนดยศทหาร และการเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบจากสีเขียวมาเป็นสีเทา ดังเช่น
ปัจจุบัน วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2480     กรมทหารอากาศได้ยกฐานะเป็น "กองทัพอากาศ"  มีนาวา
อากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศคนแรก ทางกองทัพอากาศจึงได้ถือ
เอาวันที่ 9 เมษายน ของทุกปีเป็น "วันกองทัพอากาศ"
   

   
กองทัพอากาศยังคงพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
   
         นับตั้งแต่การเข้าร่วมรบ ในสงครามโลกครั้งที่ 1 กับพันธมิตรในยุโรป เมื่อปี พ.ศ. 2460  ซึ่งทำให้
ชื่อเสียงและเกียรติภูมิของชาติเป็นที่ยอมรับ และยกย่องเป็นอันมากและทางราชการได้ยกฐานะกองบิน
ทหารบกขึ้นเป็น "กรมอากาศยานทหารบก"      ในเวลาต่อมา  กำลังทางอากาศได้พัฒนาต่อไปอย่างไม่
หยุดยั้งและเป็นกำลังสำคัญ ในการพัฒนาประเทศชาติทางด้านต่างๆ   อันเป็นรากฐานของกิจการหลาย
อย่างในปัจจุบัน อาทิ การบินส่งไปรษณีย์ทางอากาศ การส่งแพทย์ และเวชภัณฑ์ทางอากาศ เป็นต้น

         กำลังทางอากาศ ได้พัฒนาไปอย่างมากมาย และได้เป็นกำลังสำคัญในการปกป้อง รักษาอธิปไตย
ของชาติ อาทิ สงครามกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส และสงครามมหาเอเชียบูรพา รวมทั้งเข้าร่วมกับกอง
กำลังสหประชาชาติ ในสงครามเกาหลี และร่วมกับพันธมิตรในสงครามเวียดนาม  จากเครื่องบินใบพัด
เพียง 8 เครื่องในอดีต จนมาถึงเครื่องบินไอพ่นที่ทันสมัยในปัจจุบัน  กองทัพอากาศขอยืนยันที่จะดำรง
ความมุ่งมั่นในภารกิจที่จะพิทักษ์รักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติ ไว้ให้มั่นคงตลอดไป
   


Back to top