logo_about.gif(11633 bytes) Visit our educational web pages View the list of school home pages in Thailand
Go to Support and Technical service page Visit our activity archive

ผลการดำเนินงาน โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ปี 2538-2545

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้เริ่มดำเนินการโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (SchoolNet) มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2538 ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศไทย เพื่อเปิดโอกาสให้ โรงเรียนมัธยมศึกษาได้มีโอกาสเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยยกระดับการศึกษาของเยาวชนไทย
ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2541 โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งได้ทรงพระราชทานพระราชานุญาตให้โรงเรียนต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร สามารถติดต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านศูนย์รับการเชื่อมต่อของเครือข่ายกาญจนภิเษก (เลขหมายพระราชทาน 1509) ได้ ประกอบกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) เข้าร่วมกับเนคเทค เพื่อสนับสนุนระบบอินเทอร์เน็ตในราคาถูกให้แก่โรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศอย่างน้อย 1,500 โรงเรียน อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน โดยเสียค่าใช้จ่ายเพียงค่าโทรศัพท์ในอัตราครั้งละ 3 บาททั่วประเทศ (ไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ทางไกลมายังกรุงเทพมหานคร เช่นในอดีต) จึงเริ่มโครงการในมิติใหม่ SchoolNet@1509
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2542 ได้ให้ความเห็นชอบต่อโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (SchoolNet) เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 โดยจะขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมโรงเรียนทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษาทั่วประเทศ 5,000 โรงเรียน
โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ได้รับยกย่องว่าเป็นโครงการตัวอย่าง (best practice) ที่นำเทคโนโลยี สารสนเทศ มาเป็นเครื่องมือในการลดช่องว่าง และความเหลื่อมล้ำของโอกาสในการศึกษาหาความรู้ (Digital Divide) ในรายงาน Human Development Report 2001 ขององค์การสหประชาชาติ (UNDP) ซึ่งได้มีการรายงานต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการเมื่อ วันที่ 9 กรกฎาคม 2544 ที่ประเทศเม็กซิโก และในรายงาน APEC New Economy Report 2001 ซึ่งได้รายงานต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2544 ที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน

ตารางที่ 1 จำนวนโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการแยกตามสังกัด ณ เดือนธันวาคม 2545
สังกัด เป้าหมาย (โรงเรียน) เป็นสมาชิก (โรงเรียน)
(1) โรงเรียนที่เชื่อมต่อด้วยโทรศัพท์ (Dial-up Access)
สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
กรมสามัญศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
กรมอาชีวศึกษา
กรมพลศึกษา
การศึกษานอกโรงเรียน
 
สังกัดกระทรวงมหาดไทย
กรุงเทพมหานคร
สำนักบริหารการศึกษาท้องถิ่น
 
อื่นๆ
5,000
 
2,300
1,032
337
232
27
80
 
 
431
400
 
161
4,718
 
1,741
1,823
404
110
4
45
 
 
287
233
 
71
(2) โรงเรียนที่เชื่อมต่อด้วยวงจรสื่อสาร 64 kbps
สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
โรงเรียนพี่ข่ายในโครงการ Resource Center
โรงเรียนที่โอนย้ายจากเครือข่ายไทยสาร
 
 
 
 
102
 
76
26


  แผนและผลการดำเนินงาน
ยุคแรก (ปี 2538-2540)
ปี 2539 แผนดำเนินงาน
โรงเรียนเข้าร่วมจำนวน 50 โรงเรียน ได้รับบัญชีอินเทอร์เน็ตไม่เกิน 2 บัญชี/โรงเรียน และพื้นที่สร้างเว็บเพจ 5 MB/โรงเรียน
  แผนดำเนินงาน
(1) การให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการพัฒนาชุดซอฟต์แวร์ Linux SIS
  • จัดตั้งเครื่องให้บริการ k12.nectec.or.th และติดตั้งเลขหมายโทรศัพท์ให้บริการ 39 เลขหมาย โดยเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายไทยสาร
  • มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ 69 โรงเรียน ได้รับจัดสรรบัญชีอินเทอร์เน็ตโรงเรียนละ 2 บัญชี พื้นที่เผยแพร่ข้อมูลจำนวน 5 MB แก่โรงเรียนเข้าร่วมโครงการ
  • ให้บริการ helpdesk เพื่อตอบคำถามและให้ความช่วยเหลือแก่โรงเรียนให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้
  (2) เนื้อหาบนเครือข่าย และกิจกรรมบนเครือข่าย
  • จัดทำเว็บไซด์ http://k12.nectec.or.th/ เพื่อเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ให้แก่ครูและนักเรียน
  (3) การอบรม สัมมนา และพัฒนาบุคลากร
  • จัดอบรมหลักสูตรการใช้อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น และการสร้างเว็บเพจแก่ครูจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
  • ร่วมจัดงาน NetInfo'96 ส่วนของ Education Session ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
  • ให้คำปรึกษาแก่โรงเรียนที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยวงจรเช่าสื่อสาร ทั้งในด้านเทคนิค การเตรียมงบประมาณ และด้านบุคลลากร
  (4) กิจกรรมอื่นๆ
  • เนคเทคเชิญชวนให้ภาคเอกสารสนับสนุนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์-ซอฟต์แวร์แก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ตลอดจนจัดอบรมแก่โรงเรียนเข้าร่วมโครงการ กล่าวคือ บริษัท คอมแพค ประเทศไทย จำกัด และบริษัทโพเวลคอมพิวเตอร์สนับสนุนอุปกรณ์ workstation จำนวน 32 ชุด และบริษัท ไมโครซอฟต์ ประเทศไทย จำกัดสนับสนุนซอฟต์แวร์ Microsoft พร้อมทั้งการฝึกอบรม นอกจากนี้ บริษัท อินเทล ประเทศไทย จำกัดให้การสนับสนุนในระยะแรกด้วย
ปี 2540 แผนดำเนินงาน
โรงเรียนเข้าร่วมจำนวน 100 โรงเรียน ได้รับบัญชีอินเทอร์เน็ตไม่เกิน 2 บัญชี/โรงเรียน และพื้นที่สร้างเว็บเพจ 5 MB/โรงเรียน
  แผนดำเนินงาน
(1) การให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการพัฒนาชุดซอฟต์แวร์ Linux SIS
  • มีเครื่องให้บริการ k12.nectec.or.th และขยายเลขหมายให้บริการจาก 39 เลขหมาย เป็น 120 เลขหมาย
  • มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ 152 โรงเรียน ได้รับจัดสรรบัญชีอินเทอร์เน็ตโรงเรียนละ 2 บัญชี พื้นที่เผยแพร่ข้อมูลจำนวน 5 MB แก่โรงเรียนเข้าร่วมโครงการ
  • ให้บริการ helpdesk เพื่อตอบคำถามและให้ความช่วยเหลือแก่โรงเรียนให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้
  • พัฒนา Linux SIS (Linux School Internet Server) version 1.x ซึ่งเป็นชุดซอฟต์แวร์สำหรับโรงเรียน เพื่อติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) เพื่อทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการอินเทอร์เน็ต และมีเครื่องมือ Web Admin Tool ช่วยครูผู้ดูแลระบบให้บริหารเครือข่ายได้โดยไม่ต้องเรียนรู้คำสั่ง
  (2) เนื้อหาบนเครือข่าย และกิจกรรมบนเครือข่าย
  • ให้บริหารเว็บไซด์ http://k12.nectec.or.th/ ให้เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ให้แก่ครูและนักเรียน
  • จัดทำต้นแบบการศึกษารูปแบบใหม่ "Classroom 2000" สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยเป็นการนำเสนอรูปแบบการพัฒนาเนื้อหาเพื่อการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย อาทิ Learning with Multimedia, Education-on-Demand, Learning is Fun เป็นต้น
  (3) การอบรม สัมมนา และพัฒนาบุคลากร
  • จัดสัมมนาอินเทอร์เน็ตสำหรับผู้บริหารโรงเรียน 6 ครั้งคือ 5 ภูมิภาค และกรุงเทพมหานคร
  • จัดอบรมแก่โรงเรียนเข้าร่วมโครงการ ในหลักสูตรอินเทอร์เน็ตเบื้องต้นสำหรับโรงเรียน และหลักสูตรอินเทอร์เน็ตระดับกลางสำหรับโรงเรียน
  • จัดกิจกรรมสำหรับเยาวชน Seagate Internet Training Camp
  (4) กิจกรรมอื่นๆ
  • คัดเลือกโรงเรียนดีเด่นด้านการส่งเสริมกิจกรรมอินเทอร์เน็ตในโรงเรียน คือ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี และโรงเรียนเซ็นจอห์น
ยุคสอง (ปี 2541-2543)
ยุคสอง แผนดำเนินงาน
โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาจำนวน 1,500 โรงเรียน ได้รับบัญชีอินเทอร์เน็ตไม่เกิน 3 บัญชี/โรงเรียน
โดยมีชั่วโมงการใช้งานได้ไม่เกินโรงเรียนละ 120 ชั่วโมง/เดือน และพื้นที่สร้างเว็บเพจ 9 MB/โรงเรียน
ปี 2541 แผนดำเนินงาน
(1) การให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการพัฒนาชุดซอฟต์แวร์ Linux SIS
  • เริ่มโครงการในมิติใหม่ (SchoolNet@1509) โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งได้ทรงพระราชทานพระราชานุญาตให้โรงเรียนต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร สามารถติดต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านศูนย์รับการเชื่อมต่อของเครือข่ายกาญจนภิเษก (เลขหมายพระราชทาน 1509) ได้ ประกอบกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) เข้าร่วมกับเนคเทค เพื่อสนับสนุนระบบอินเทอร์เน็ตในราคาถูกให้แก่โรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศอย่างน้อย 1,500 โรงเรียน อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน โดยเสียค่าใช้จ่ายเพียงค่าโทรศัพท์ในอัตราครั้งละ 3 บาททั่วประเทศ (ไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ทางไกลมายังกรุงเทพมหานคร เช่นในอดีต)
  • ให้บริการเครือข่าย SchoolNet@1509 โดยมีศูนย์ออนไลน์ให้บริการ 20 ศูนย์ทั่วประเทศ โดยมีเลขหมายให้บริการทั่วประเทศ เพิ่มเป็น 420 เลขหมาย มีวงจรสื่อสารภายในประเทศที่ความเร็ว 128 kbps และมีวงจรสื่อสารต่างประเทศที่ความเร็ว 512 kbps
SchoolNet Network
รูปที่ 1 แสดงแผนผังเครือข่าย SchoolNet@1509
  • มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ 587 โรงเรียน ได้รับจัดสรรบัญชีอินเทอร์เน็ตโรงเรียนละ 3 บัญชี มีชั่วโมงการใช้งานโรงเรียนละ 120 ชั่วโมง/เดือน พื้นที่เผยแพร่ข้อมูลจำนวน 5 MB แก่โรงเรียนเข้าร่วมโครงการ
  • มี helpdesk เพื่อตอบคำถามและให้ความช่วยเหลือแก่โรงเรียนให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้
  • พัฒนาปรับปรุง Linux SIS (Linux School Internet Server) version 2.x พัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  (2) เนื้อหาบนเครือข่าย และกิจกรรมบนเครือข่าย
  • จัดทำเว็บไซด์ http://www.school.net.th/ ให้เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ให้แก่ครูอาจารย์และนักเรียนแล้ว และเป็นแหล่งรวบรวมเว็บไซด์ของโรงเรียนจากทุกภาคทั่วประเทศ และมีโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรมสร้างเว็บไซด์ของโรงเรียนจำนวน 135 โรงเรียน
SchoolNet Website
รูปที่ 2 เว็บไซด์ http://www.school.net.th/
    (3) การอบรม สัมมนา และการพัฒนาบุคลากร
  • เนคเทคประสานงาน กับกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการพัฒนาบุคลากร สถาบันราชภัฏ 8 แห่งทั่วประเทศ เปิดอบรมหลักสูตรแรกเรื่อง Internet Workshop แก่ครูของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 388 โรงเรียน
ปี 2542 แผนดำเนินงาน
(1) การให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการพัฒนาชุดซอฟต์แวร์ Linux SIS
  • ให้บริการเครือข่าย SchoolNet@1509 โดยมีศูนย์ออนไลน์ให้บริการ 20 ศูนย์ทั่วประเทศ โดยมีเลขหมายให้บริการทั่วประเทศ 420 เลขหมาย มีวงจรสื่อสารภายในประเทศที่ความเร็ว 128 kbps และมีวงจรสื่อสารต่างประเทศที่ความเร็ว 512 kbps
  • มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ 1,261 โรงเรียน ได้รับจัดสรรบัญชีอินเทอร์เน็ตโรงเรียนละ 3 บัญชี มีชั่วโมงการใช้งานโรงเรียนละ 120 ชั่วโมง/เดือน พื้นที่เผยแพร่ข้อมูลจำนวน 5 MB แก่โรงเรียนเข้าร่วมโครงการ
  • มี helpdesk เพื่อตอบคำถามและให้ความช่วยเหลือแก่โรงเรียนให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้
  • พัฒนาปรับปรุง Linux SIS (Linux School Internet Server) version 3.x พัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  (2) เนื้อหาบนเครือข่าย และกิจกรรมบนเครือข่าย
  • ให้บริการเว็บไซด์ http://www.school.net.th/ ให้เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ให้แก่ครูอาจารย์และนักเรียนแล้ว และเป็นแหล่งรวบรวมเว็บไซด์ของโรงเรียนจากทุกภาคทั่วประเทศ และมีโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรมสร้างเว็บไซด์ของโรงเรียนจำนวน 446 โรงเรียน
  • ในปีพ.ศ. 2543 เริ่มต้นที่ 1,113 เรื่อง โดยได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนาต้นแบบห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library) ที่มีเนื้อหาสาระประกอบด้วย เอกสารข้อมูลที่เป็นความรู้ ภาพ เสียง สไลด์ สื่อช่วยสอน วีดีโอ คลอบคลุมใน 7 หมวดวิชาหลักสายวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ คอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ เคมี ชีวะวิทยา ฟิสิกส์ สิ่งแวดล้อม และพื้นฐานทางวิศวกรรม
Digital Library 1
รูปที่ 3 ห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library) ระยะที่ 1
  (3) การอบรม สัมมนา และพัฒนาบุคลากร
  • จัดสัมมนาและนิทรรศการ "กิจกรรมบนเครือข่ายสู่การเรียนรู้ในปี ค.ศ. 2000" ขึ้นระหว่างวันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2542 มีผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งสิ้นจำนวน 550 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นครู อาจารย์ และผู้บริหารโรงเรียนจากทั่วประเทศ
  (4) กิจกรรมอื่นๆ
  • ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอบทความเรื่อง Network Design and Resource Management Scheme in SchoolNet Thailand Project ในงานวิชาการระดับนานาชาติ INET 1999
ปี 2543 แผนดำเนินงาน
(1) การให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการพัฒนาชุดซอฟต์แวร์ Linux SIS
  • ให้บริการเครือข่าย SchoolNet@1509 และได้ขยายเครือข่ายให้เพียงพอกับปริมาณใช้งานของโรงเรียนที่เพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ เพิ่มเลขหมายให้บริการทั่วประเทศจาก 420 เลขหมาย เพิ่มเป็น 1,650 เลขหมาย และขยายวงจรสื่อสารภายในประเทศเพิ่มเป็น 512 kbps (10 วงจร) และ 1 Mbps (10 วงจร) และวงจรสื่อสารต่างประเทศที่ความเร็ว 512 kbps
  • มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ 2,186 โรงเรียน ได้รับจัดสรรบัญชีอินเทอร์เน็ตโรงเรียนละ 3 บัญชี มีชั่วโมงการใช้งานโรงเรียนละ 120 ชั่วโมง/เดือน พื้นที่เผยแพร่ข้อมูลจำนวน 5 MB แก่โรงเรียนเข้าร่วมโครงการ
  • มี helpdesk เพื่อตอบคำถามและให้ความช่วยเหลือแก่โรงเรียนให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้
  • ยกระดับให้โรงเรียนที่มีศักยภาพมาเชื่อมต่อเป็น SchoolNet Node (เชื่อมต่อด้วยวงจรสื่อสารที่ความเร็ว 64 kbps) เพื่อทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการแก่โรงเรียนอื่นในท้องถิ่น เครือข่าย SchoolNet ได้ให้บริการแก่โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาที่เชื่อมต่อด้วยวงจรเช่าสื่อสารที่ความเร็ว 64 kbps รวมทั้งสิ้น 102 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการ Resource Center จำนวน 76 โรงเรียน และโรงเรียนที่โอนย้ายจากโครงการไทยสาร 26 โรงเรียน
  (2) เนื้อหาบนเครือข่าย และกิจกรรมบนเครือข่าย
  • ให้บริการเว็บไซด์ http://www.school.net.th/ ให้เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ให้แก่ครูอาจารย์และนักเรียนแล้ว และเป็นแหล่งรวบรวมเว็บไซด์ของโรงเรียนจากทุกภาคทั่วประเทศ และมีโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรมสร้างเว็บไซด์ของโรงเรียนจำนวน 662 โรงเรียน
  • จัดกิจกรรมแข่งขันตอบคำถามรายเดือน เพื่อกระตุ้นให้ครูนักเรียนได้นำห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library) ไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้งนี้เนื้อหาสาระบน Digital Library ประกอบด้วย เอกสารข้อมูลที่เป็นความรู้ ภาพ เสียง สไลด์ สื่อช่วยสอน วีดีโอ คลอบคลุมใน 7 หมวดวิชาหลักสายวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ คอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ เคมี ชีวะวิทยา ฟิสิกส์ สิ่งแวดล้อม และพื้นฐานทางวิศวกรรม
  • พัฒนาเครื่องมือสร้างเว็บเพจอย่างง่าย Digital Lirary Toolkit (http://school.net.th/library/create-web/) ซึ่งเป็นเครื่องมือสร้างเว็บเพจอย่างง่าย เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ครูที่ไม่มีพื้นฐานความรู้ในการสร้างเว็บเพจ ให้สามารถนำเนื้อหา/สื่อการสอนที่มีอยู่ มาจัดทำเป็นเว็บเพจ และขยายผลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้ด้วยตนเอง ภายในเวลาเพียง15 นาที
  (3) การอบรม สัมมนา และพัฒนาบุคลากร
  • จัดทำโครงการอาสาสมัครในโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (SchoolNet Volunteer) ระยะ 1 ขึ้น เพื่อเพิ่มคุณภาพในการให้คำปรึกษาปัญหาทางเทคนิค และให้ความช่วยเหลือแก่โรงเรียนในโครงการในด้านต่างๆ (รายละเอียดที่ URL http://school.net.th/volunteer/) เพื่อผลักดันให้บุคลากร และองค์กรในท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาภายในท้องถิ่น
  • จัดอบรม Linux SIS 5 ภูมิภาค เพื่อให้โรงเรียนทั่วประเทศได้สามารถติดตั้ง Linux SIS (Linux School Internet Server) version 3.x แล้วจัดทำเป็น Internet/Intranet Server ของโรงเรียนได้ มีโรงเรียนเข้าร่วมอบรมประมาณ 125 โรงเรียนทั่วประเทศ
ยุคสาม (ปี 2544-2545)
ยุคสาม แผนดำเนินงาน
โรงเรียนระดับประถม มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา จำนวน 5,000 โรงเรียน ได้รับบัญชีอินเทอร์เน็ตไม่เกินโรงเรียนละ 5 บัญชี, มีชั่วโมงการใช้งานได้ไม่เกินโรงเรียนละ 400 ชั่วโมง/เดือน (บัญชีละ 80 ชั่วโมง) และพื้นที่สร้างเว็บเพจ 19 MB/โรงเรียน
ปี 2544 แผนดำเนินงาน
(1) การให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการพัฒนาชุดซอฟต์แวร์ Linux SIS
  • ได้ขยายระบบเครือข่าย SchoolNet@1509 ให้สามารถรองรับโรงเรียนระดับประถม มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา จำนวน 5,000 โรงเรียน ได้รับบัญชีอินเทอร์เน็ตไม่เกินโรงเรียนละ 5 บัญชี, มีชั่วโมงการใช้งานได้ไม่เกินโรงเรียนละ 400 ชั่วโมง/เดือน (บัญชีละ 80 ชั่วโมง) และพื้นที่สร้างเว็บเพจ 19 MB/โรงเรียน
  • ให้บริการเครือข่าย SchoolNet@1509 โดยมีศูนย์ออนไลน์ให้บริการ 20 ศูนย์ทั่วประเทศ โดยมีเลขหมายให้บริการทั่วประเทศ 1,650 เลขหมาย วงจรสื่อสารภายในประเทศเพิ่มเป็น 512 kbps (10 วงจร) และ 1 Mbps (10 วงจร) และได้ขยายวงจรสื่อสารต่างประเทศที่จากความเร็ว 1 Mbps เพิ่มเป็น 1.5 Mbps
  • ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2544 ได้เริ่มให้บริการแก่โรงเรียน ซึ่งจะได้รับจัดสรรบัญชีอินเทอร์เน็ตโรงเรียนละ 5 บัญชี มีชั่วโมงการใช้งานโรงเรียนละ 400 ชั่วโมง/เดือน พื้นที่เผยแพร่ข้อมูลจำนวน 19 MB พบว่า เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2544 มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการครบเป้าหมายแรก 3,000 โรงเรียน และเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2544 มีโรงเรียนเข้าร่วมครบเป้าหมายที่สอง 4,000 โรงเรียน และสิ้นปี 2544 มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 4,084 โรงเรียน
  • ให้บริการเชื่อมต่อแก่โรงเรียนที่เป็น SchoolNet Node (เชื่อมต่อด้วยวงจรสื่อสารที่ความเร็ว 64 kbps) เพื่อทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการแก่โรงเรียนอื่นในท้องถิ่น เครือข่าย SchoolNet ได้ให้บริการแก่โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาที่เชื่อมต่อด้วยวงจรเช่าสื่อสารที่ความเร็ว 64 kbps รวมทั้งสิ้น 102 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการ Resource Center จำนวน 76 โรงเรียน และโรงเรียนที่โอนย้ายจากโครงการไทยสาร 26 โรงเรียน
  • มี helpdesk เพื่อตอบคำถามและให้ความช่วยเหลือแก่โรงเรียนให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้
  • พัฒนาปรับปรุง Linux SIS (Linux School Internet Server) version 4.x พัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  (2) เนื้อหาบนเครือข่าย และกิจกรรมบนเครือข่าย
  • ให้บริการเว็บไซด์ http://www.school.net.th/ ให้เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ให้แก่ครูอาจารย์และนักเรียนแล้ว และเป็นแหล่งรวบรวมเว็บไซด์ของโรงเรียนจากทุกภาคทั่วประเทศ และมีโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรมสร้างเว็บไซด์ของโรงเรียนจำนวน 957 โรงเรียน
  • จัดกิจกรรมแข่งขันตอบคำถามรายเดือน เพื่อกระตุ้นให้ครูนักเรียนได้นำห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library) ไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้งนี้เนื้อหาสาระบน Digital Library ประกอบด้วย เอกสารข้อมูลที่เป็นความรู้ ภาพ เสียง สไลด์ สื่อช่วยสอน วีดีโอ คลอบคลุมใน 7 หมวดวิชาหลักสายวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ คอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ เคมี ชีวะวิทยา ฟิสิกส์ สิ่งแวดล้อม และพื้นฐานทางวิศวกรรม
  • นำเครื่องมือสร้างเว็บเพจอย่างง่าย Digital Lirary Toolkit บรรจุไว้บนแผ่นซีดี Linux SIS 4.x เพื่อให้โรงเรียนสามารถใช้เครื่องมือสร้างเว็บเพจอย่างง่ายนี้ สร้างเป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนได้
  (3) การอบรม สัมมนา และการพัฒนาบุคลากร
  • จัดงานสัมมนาและนิทรรศการ "มหกรรมอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาในโรงเรียน (SchoolNet Day)" ขึ้นระหว่างวันที่ 16-18 มีนาคม 2544 ณ สถาบันราชภัฏพระนคร ถนนแจ้งวัฒนะ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงาน และทรงบรรยายพิเศษ และได้จัดให้มีการสัมมนาทางวิชาการ และการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โดยมีผู้สนใจลงทะเบียนสัมมนารวมทั้งสิ้น 447 คน และผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ รวมทั้งสิ้น 1,062 คน นอกจากนี้ ยังได้จัดแสดงนิทรรศการมีหน่วยงานเข้าร่วมจัดนิทรรศการ 85 หน่วยงาน และมีผู้สนใจเข้าชมงานประมาณ 8,200 คน
  • จัดงานสัมมนา "เปิดโลกใหม่การศึกษากับ SchoolNet@1509 ตอนสัญจร 13 เขตการศึกษา" โดยร่วมกับหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการทั้ง 13 เขตการศึกษาทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 3 กันยายน 2544 - 1 พฤศจิกายน 2544 ซึ่งมีครูอาจารย์เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 5,000 คน
  (4) กิจกรรมอื่นๆ
  • ได้จัดให้มีการมอบรางวัลดีเด่นด้านการเสริมสร้างกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ต ประจำปี พ.ศ. 2544 ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่โรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียน ครูอาจารย์ และบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีการมอบรางวัลในระดับประเทศ จำนวน 3 รางวัล (เป็นโล่ และใบประกาศเกียรติคุณจาก ฯพณฯนายกรัฐมนตรี) มีผู้ส่งผลงานจำนวน 99 ผลงาน นอกจากนี้ยังจัดให้มีการประกวดเรียงความนักเรียน ซึ่งมีนักเรียนสนใจส่งเรียงความเข้าประกวดจำนวน 580 คน
  • โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ได้รับยกย่องว่าเป็นโครงการตัวอย่าง (best practice) ที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาเป็นเครื่องมือในการลดช่องว่าง และความเหลื่อมล้ำของโอกาสในการศึกษาหาความรู้ (Digital Divide) ในรายงาน Human Development Report 2001 ขององค์การสหประชาชาติ (UNDP) ซึ่งได้มีการรายงานต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2544 ที่ประเทศเม็กซิโก และในรายงาน APEC New Economy Report 2001 ซึ่งได้รายงานต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2544 ที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน
ปี 2545 ผลการดำเนินงาน
(1) การให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และการพัฒนาชุดซอฟต์แวร์ Linux SIS
  • ให้บริการเครือข่าย SchoolNet@1509 โดยมีศูนย์ออนไลน์ให้บริการ 20 ศูนย์ทั่วประเทศ โดยมีเลขหมายให้บริการทั่วประเทศ 1,650 เลขหมาย วงจรสื่อสารภายในประเทศเพิ่มเป็น 512 kbps (10 วงจร) และ 1 Mbps (10 วงจร) และขยายวงจรสื่อสารต่างประเทศที่จากความเร็ว 1.5 Mbps เพิ่มเป็น 4 Mbps
  • มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ 4,718 โรงเรียน ซึ่งจะได้รับจัดสรรบัญชีอินเทอร์เน็ตโรงเรียนละ 5 บัญชี มีชั่วโมงการใช้งานโรงเรียนละ 400 ชั่วโมง/เดือน พื้นที่เผยแพร่ข้อมูลจำนวน 19 MB
  • ให้บริการเชื่อมต่อแก่โรงเรียนที่เป็น SchoolNet Node (เชื่อมต่อด้วยวงจรสื่อสารที่ความเร็ว 64 kbps) เพื่อทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการแก่โรงเรียนอื่นในท้องถิ่น เครือข่าย SchoolNet ได้ให้บริการแก่โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาที่เชื่อมต่อด้วยวงจรเช่าสื่อสารที่ความเร็ว 64 kbps รวมทั้งสิ้น 102 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการ Resource Center จำนวน 76 โรงเรียน และโรงเรียนที่โอนย้ายจากโครงการไทยสาร 26 โรงเรียน
  • มี helpdesk เพื่อตอบคำถามและให้ความช่วยเหลือแก่โรงเรียนให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้
  (2) เนื้อหาบนเครือข่าย และกิจกรรมบนเครือข่าย
  • ให้บริการเว็บไซด์ http://www.school.net.th/ ให้เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ให้แก่ครูอาจารย์และนักเรียนแล้ว และเป็นแหล่งรวบรวมเว็บไซด์ของโรงเรียนจากทุกภาคทั่วประเทศ และมีโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรมสร้างเว็บไซด์ของโรงเรียนจำนวน 1,289 โรงเรียน
  • จัดกิจกรรมแข่งขันตอบคำถามรายเดือน เพื่อกระตุ้นให้ครูนักเรียนได้นำห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library) ไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้งนี้เนื้อหาสาระบน Digital Library ประกอบด้วย เอกสารข้อมูลที่เป็นความรู้ ภาพ เสียง สไลด์ สื่อช่วยสอน วีดีโอ คลอบคลุมใน 7 หมวดวิชาหลักสายวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ คอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ เคมี ชีวะวิทยา ฟิสิกส์ สิ่งแวดล้อม และพื้นฐานทางวิศวกรรม
  • ในปีพ.ศ. 2545 ได้ขยายให้มีเนื้อหาคลอบคลุมทั้งระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา 10 หมวดวิชาได้แก่ ความรู้ทั่วไป ศาสนา ภาษาศาสตร์ เทคโนโลยี วรรณคดี ปรัชญา สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และประวัติศาสตร์
Digital Library 2
รูปที่ 4 ห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library) ระยะที่ 2
  (3) การอบรม สัมมนา และพัฒนาบุคลากร
  • จัดงานสัมมนาทางวิชาการ และนิทรรศการ "มหกรรมอินเทอร์เน็ตเพื่อการในโรงเรียน 5 ภาค"โดยร่วมกับสถาบันการศึกษา 5 แห่งทั่วประเทศ คือ สถาบันราชภัฏสงขลา สถาบันราชภัฏนครราชสีมา สถาบันราชภัฏเทพสตรี สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยบูรพา จัดงานนี้ขึ้น ในระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม 2544 - 14 กุมภาพันธ์ 2545 โดยภายในงานได้จัดให้มีการสัมมนาทางวิชาการทางด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งการจัดแสดงนิทรรศการจากโรงเรียน และหน่วยงานต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เกี่ยวกับการนำอินเทอร์เน็ตเข้ามาประยุกต์ใช้ภายในโรงเรียน ซึงมีผู้สนใจข้าร่วมงานแต่ละแห่งโดยเฉลี่ยประมาณแห่งละ 2,000 คน
  • จัดให้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง "Linux SIS 4.0 กับการจัดการเรียนการสอน" และ "การสร้างเนื้อหาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างง่ายด้วยเครื่องมือ Digital Library Toolkit" ในงานสัมมนา และนิทรรศการ "มหกรรม อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาในโรงเรียน 5 ภาค" มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้นประมาณ 690 คน
  • จัดให้มี "โครงการเผยแพร่ระบบปฏิบัติการลินุกซ์สู่โรงเรียน" เพื่อให้โรงเรียนได้นำลินุกซ์ซิส (Linux SIS : Linux School Internet Server) เชื่อมโยงให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นเข้าสู่แหล่งเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและจัดกิจกรรมอินเทอร์เน็ต-อินทราเน็ตในโรงเรียนได้ และเพื่อให้โรงเรียนได้นำ ลินุกซ์ทะเล (Linux TLE : Linux Thai Language Extension) ซึ่งเป็นชุดซอฟต์แวร์ Linux รวมกับซอฟต์แวร์ฟรีอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการใช้งานเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (desktop) ได้แก่ โปรแกรมชุดออฟฟิศ โปรแกรมสำหรับดูหนังฟังเพลง เกมส์ต่างๆ โปรแกรมสำหรับใช้งานอินเทอร์เน็ต โปรแกรมตกแต่งภาพ เป็นต้น เพื่อมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนได้ ระหว่าง 8 พฤศจิกายน 2545 - 8 ธันวาคม 2545 โดยจัดอบรมแก่ครูและนักเรียนจาก 100 โรงเรียน จำนวน 300 คน ใน 5 ภูมิภาคคือ กรุงเทพฯ-ภาคตะวันออก, ภาคเหนือ, ภาคกลาง, ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

[หน้าหลัก] [หน้าการศึกษา] [บริการให้คำปรึกษา] [รายชื่อโรงเรียน]
[กิจกรรมในโครงการ] [ข้อมูลโครงการ] [ท่านถามเราตอบ]

[NTL] [NITC] [NECTEC] [BIOTEC] [MTEC] [NSTDA] [ONEC] [GITS] [BID]


Contact: SchoolNet Webmaster
SchoolNet Thailand is served and managed by
Network Techonology Laboratory (NTL)
National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC)
Copyright © 1996-1999 by Network Technology Laboratory of NECTEC. All Rights Reserved.