เทคโนโลยีโทรคมนาคมและเครือข่ายเป็นเทคโนโลยีที่มีความต้องการในประเทศสูงมาก ในแต่ละปี มีการนำเข้า จากต่างประเทศเป็นมูลค่ามหาศาล อีกทั้งรัฐยังมีแผนการลงทุนอีก 500,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มหมายเลขโทรศัพท์เป็น 10 ล้านคู่สาย ในขณะที่อุตสาหกรรมในประเทศ มีขีดความสามารถ ในการผลิต และประกอบสูง แต่ขาดความสามารถในการพัฒนาต้นแบบสำหรับการผลิต ดังนี้นรัฐจึงมีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อพัฒนาศักยภาพในการพัฒนาต้นแบบผลิตต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อทดแทนการนำเข้า นอกจากนั้นแล้วการรวมกันของเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคม และสื่อสารข้อมูลทำให้เปิดโอกาสแก่ SMEs ใหม่ๆ ให้เติบโตเป็นบริษัทขนาดใหญ่ได้
ข้อมูลเพิ่มเติม: ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคม เบอร์
โทรศัพท์ 0-2564-6900 ต่อ 2577
Website: https://www.nectec.or.th/rdt/
ได้ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ื่มุ่งเน้นและพัฒนาระบบสื่อสารไร้สายเพื่อใช้ในที่ซึ่งการสื่อสาร แบบใช้สายทองแดงมีราคาสูงไม่คุ้มค่าในการลงทุนเช่นในชนบทห่างไกล ทำให้เกิดโครงการวิจัยและ พัฒนาระบบสื่อสารไร้สาย (Development of Wireless System)
โครงการวิจัยระบบสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless Local Loop : WLL)
WLL เป็นระบบที่มีการเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้บริการโทรศัพท์กับโครงข่ายด้วยการเชื่อมต่อแบบ ไร้สาย (Wireless Link) แทนการเชื่อมต่อแบบสายเคเบิ้ล (Wireline Link) หรือแบบ Copper Drop Wire เหมาะสำหรับให้บริการในพื้นที่ห่างไกล และมีประชาชนอาศัยอยู่ไม่หนาแน่นประหยัดต้นทุนและเวลา การติดตั้งโครงการระบบ WLL จากการค้นคว้าและพัฒนาของกลุ่ม RDT1 พบว่าแนวโน้มการนำเทคโนโลยี IP-Based (Internet Protocol Based) มาใช้งานสูงขึ้น เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถให้บริการเสียงที่เรียกว่า Voice over IP (VoIP) และให้บริการข้อมูล (Data) บนระบบอินเตอร์เนต (Internet) ไปพร้อมๆ กันได้ โครงการวิจัยและพัฒนานี้จึงได้มีแนวคิดในการนำเทคโนโลยี IP-Based มาใช้ในระบบ WLL โดยการพัฒนาออกแบบสร้าง Hardware Platform และ Protocol ของ อุปกรณ์แม่ข่าย (Access Point ) และอุปกรณ์ลูกข่าย (Fix-Terminal Access) ที่ใช้เทคโนโลยี Wireless LAN (WLAN) โดยอาศัย VoIP เพื่อให้บริการเสียง (โทรศัพท์พื้นฐาน) แต่ต้องมีการดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ในระบบ WLL นอกจากนั้นยังสามารถให้บริการอินเตอร์เนตความเร็วสูงไร้สาย หรือที่เรียกว่า บรอดแบนด์ไร้สาย (Wireless Broadband) เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับระบบได้อีกด้วย และเพื่อเป็นการลดการนำเข้าอุปกรณ์ สำหรับระบบสื่อสารที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งระบบวิทยุชุมชนกำลังต่ำมี จุดประสงค์เพื่อให้ใช้งานบริการข่าวสารข้อมูลเฉพาะภายในชุมชนเท่านั้นและเพื่อให้การใช้งานง่ายยิ่งขึ้น ทางศอ.จึงพัฒนาอุปกรณ์เครื่องส่งแบบสังเคราะห์ความถี่ขึ้น ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือก ปรับเปลี่ยนไป ยังช่องความถี่ที่เหมาะสมต่อการใช้งานได้สะดวก
โครงการวิจัยและพัฒนารถสื่อสารฉุกเฉิน (Emergency Communication Vehicle : ECV)
ด้วยปัญหาในด้านการติดต่อสื่อสารในสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ของประเทศ อาทิเช่น เหตุการณ์ ธรณีพิบัติทางภาคใต้ หรือแม้แต่พื้นที่ทางชนบทที่ห่างไกลจากระบบสื่อสารหลักทำให้ไม่ ่สามารถใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐานและบริการอินเตอร์เนตได้งานวิจัยฯ จึงได้นำเทคโนโลยีหลักใน โครงการระบบสื่อสารไร้สาย มาประยุกต์และพัฒนาต่อยอดเป็นระบบสื่อสารฉุกเฉิน (Mobile Network Service) ที่สามารถให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานและอินเตอร์เนตได้ จึงทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็วใน การติดตั้ง และใช้งาน ระบบสื่อสารฉุกเฉินสามารถให้บริการในพื้นที่ 33 ตารางกิโลเมตร โดยรอบจุดที่ รถเคลื่อนที่เข้าไปถึง ให้บริการอินเตอร์เนตความเร็วสูงไร้สายได้พร้อมกัน 25 - 30 เครื่อง และรองรับการ ใช้งานโทรศัพท์พร้อมๆ กันได้ 30 คู่สาย โดยแผนการดำเนินงานจะพัฒนาต่อยอดรถยนต์ต้น แบบเพื่อใช้ในการติดตั้งอุปกรณ์สื่อสาร ได้แก่ พัฒนาเสา Telescopic สำหรับติดตั้ง Base Station, พัฒนาระบบสายอากาศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ Base Station , พัฒนาระบบจัดการพลังงานที่ใช้ ในระบบทั้งหมด , พัฒนา Server ที่ใช้ในระบบ (SIP, NMS) รวมถึงการทดสอบระบบในการให้บริการ
โครงการระบบสื่อสารไร้สายแบบ 2 ทางเพื่อการเรียนรู้
รูปแบบและวิธีการเรียนการสอนภายในชั้นเรียน ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดเพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและนักเรียนเป็นการสร้างความกระตือรือร้นขึ้นในการเรียน การสอน อีกทั้งการนำเทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบไร้สาย 2 ทางมาประยุกต์ใช้งาน ทำให้นอกเหนือ จากการใช้งานเพื่อการเรียนการสอนเพียงอย่างเดียวแล้ว ยังสามารถนำไปใช้กับลักษณะการใช้งาน ในห้องบรรยายได้หลายรูปแบบ อาทิเช่น การถาม-ตอบ การลงคะแนน การสำรวจ การฝึกอบรม เกมส์ การแข่งขัน การทดสอบ การทำกิจกรรมภายในห้องบรรยาย เป็นต้น โดยนักเรียนหรือผู้เข้าห้องบรรยายแต่ละคนจะได้รับอุปกรณ์ที่เรียกว่า Remote Unitไว้รับ ส่งข้อมูลไร้สายกับอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้หน้าห้องเรียกว่า Master Unit ซึ่งสามารถต่อเข้ากับเครื่องคอม พิวเตอร์ และแสดงผลออกทาง Projector เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจะมีโปรแกรมที่ถูกติดตั้งไว้ใช้ งานในรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น เกมส์ การถาม-ตอบ การลงคะแนน เป็นต้น ทำให้นักเรียนหรือผู้เข้าห้อง บรรยายสามารถสื่อสารกับผู้บรรยายได้พร้อมกันและตลอดเวลา
ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปีงบประมาณ 2544 เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานวิจัยและพัฒนาร่วมกับกลุ่มวิจัยใน มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบโทรคมนาคมเคลื่อนที่ในยุคที่สาม เพื่อพัฒนาระบบโครงการเคลื่อน ที่สื่อสารด้วยความเร็วสูงถึงระดับ 2Mbps ทำให้สามารถส่งสัญญาณเสียง ภาพเคลื่อนไหวและข้อมูลต่าง ๆ ได้รวดเร็ว
โครงการวิจัยและพัฒนาระบบโทรคมนาคมสําหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นที่ 3 (3G)
เป็นโครงการร่วมวิจัยระหว่างหลายสถาบันอุดมศึกษาของไทยและศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิว เตอร์แห่งชาติ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลัก (Core Technology) สําหรับ 3G ซึ่งหน่วยงาน ITU (International Telecommunicaitons Union) ได้กําหนดมาตรฐานสําหรับ 3G ไว้มีชื่อว่า IMT-2000 ตามมาตรฐาน IMT-2000 นี้ ได้เลือกใช้เทคโนโลยีสําหรับส่วนเชื่อมต่อคลื่นวิทยุ (Radio Interface) ไว้ 3 อย่างได้แก่ WCDMA, cdma2000 และ TD-SCDMA ซึ่งคณะนักวิจัยได้ศึกษาและเลือกทําการวิจัยตาม เทคโนโลยี WCDMA ไม่ว่าจะเลือกใช้เทคโนโลยีใดก็ตาม สถานีฐาน (Base Station) และสถานีเคลื่อนที่ (Mobile Station) ในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่จะมีส่วนประกอบหลักๆ ทางกายภาพเหมือนกัน ได้แก่ สาย อากาศ, RF โมดูล, ส่วนประมวลผลเบื้องต้น (Pre-processing) เช่น rake receiver, และ ส่วนประมวล สัญญาณเบสแบนด์ (Baseband Processing)
โครงการจำลองการทำงานของช่องสัญญาณทางกายภาพและส่วน pre-processing ของระบบ WCDMA
โครงการฯ นี้เป็นงานส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนโครงการ IMT 2000 ในส่วนของการประมวลสัญญาณส่วน กายภาพสำหรับระบบ WCDMA โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาซอฟต์แวร์จำลองการทำงานของ ช่องสัญญาณทางกายภาพที่ใช้ระบบ WCDMA ทั้งส่วนของDownlink และ Uplink ซึ่งทำหน้าที่รับข้อมูลจาก Transport channel แล้วนำมาประมวลผลเบสแบนด์ได้เป็นข้อมูลที่พร้อมส่งออกอากาศโดยมอดูเลชั่นกับ คลื่นพาหะ ช่องสัญญาณทางกายภาพแต่ละช่องในระบบ WCDMA มีขั้นตอนในการประมวลที่แตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อความเข้าใจในระบบ WCDMA ให้ดียิ่งขึ้นจนสามารถสร้างชุดต้นแบบเครื่องรับสัญญาณในระบบ WCDMA ได้ จึงควรจำลองการทำงานและทดสอบช่องสัญญาณทางกายภาพทั้งหมดของระบบ WCDMA ก่อนการสร้างจริง
โครงการระบบสื่อสารไร้สายระยะใกล้ระหว่างถนนและรถยนต์ (Short Range Wireless Communications between Road and Vehicle)
ระบบสื่อสารระยะใกล้ระหว่างถนนและรถยนต์เพื่อการใช้งานเฉพาะด้าน (road-vehicle Dedicated Short Range Communications; DSRC) เป็นโครงสร้างพื้นฐานระบบสื่อสารไร้สายซึ่งใช้ สื่อสารระหว่างถนนซึ่งอยู่กับที่และรถยนต์ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง และเป็นระบบสื่อสารไร้สายภาย ในบริเวณรัศมีไม่กว้างมาก (short range; ~100 m) สามารถขยายผลสร้างเป็นแอพพลิเคชันต่างๆ ได้ เช่น ระบบเก็บเงินทางด่วน ระบบกระจายข้อมูลจราจรหรือข้อมูลอื่น ๆ ในท้องที่ (Local) เพื่อแจ้งเตือน ให้ทันเหตุการณ์ สำหรับโครงการฯ นี้จะศึกษาและพัฒนาระบบสื่อสารไร้สายสำหรับการใช้งานแบบ DSRC โดยจะพัฒนาเครื่องส่งและเครื่องรับสำหรับใช้สื่อสารระหว่างถนนและรถยนต์ โดยมีเป้าหมายในเบื้องต้น สำหรับใช้ส่งข้อมูลการจราจรต่าง ๆ ในท้องที่เพื่อแจ้งเตือนให้ทันต่อเหตุการณ์ และเพื่อหาความเป็นไป ได้ในการนำมาใช้พัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นส่งข้อมูลจราจรต่าง ๆ
ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนาระบบสื่อสารใช้สาย
โครงการพัฒนาเทคโนโลยีไอพีและไอซีทีเพื่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคม
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ซึ่งมีเทคโนโลยี IP และ CTI กำลัง มีบทบาทในอุตสาหกรรมนี้อย่างสูง โดยการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมและกระตุ้นให้ เกิดการประยุกต์ใช้งานของเทคโนโลยี IT ที่เหมาะสม ในโครงการนี้นอกจากการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ขึ้นมาแล้ว ยังได้เน้นให้เกิดการพัฒนาทั้งในด้านของภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษาต่อไปพร้อม ๆกัน
ความสำคัญ
สืบเนื่องจาก ผู้แทนของภาคอุตสาหกรรม ให้ทางศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติพิจารณาช่วยสนับสนุนเทคโนโลยีทางด้าน VOIP แก่กลุ่มผู้ผลิต PABX เพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพใน การแข่งขันของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ให้พร้อมสำหรับตลาดในอนาคต ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไป รวมกับผลิตภัณฑ์ทางด้าน Network โดยใช้เทคโนโลยี VOIP เป็นกลไกที่สำคัญ เทคโนโลยี VOIP นี้นับเป็นโอกาสและช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับผู้ผลิตสินค้าหน้าใหม่ที่จะแทรกตัวเข้าไปในตลาด เพื่อเป็นการตอบสนองกับความต้องการจากภาคอุตสาหกรรมดังกล่าว ทางศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ จึงได้ตั้งคณะทำงานขึ้น และได้มีการประชุมหารือกัน โดยได้ข้อสรุปโดยสังเขป ดังนี้
- เทคโนโลยี IP และ CTI เทคโนโลยี IP ประกอบด้วยเทคโนโลยีพื้นฐานหลายเทคโนโลยี คือ Embedded System, IP Protocol, Telephony Protocol และ DSP (Voice, Signaling) โดยที่เทคโนโลยี แต่ละชนิดยังแยกย่อยได้อีกมากเช่น
1) Embedded System ประกอบด้วย High Speed Digital Design, Processor, Real-time Kernel และ Development Tools
2) IP Protocol ประกอบด้วย IP, RTP, H.323
3) Telephony Protocol ประกอบด้วย POTS, ISDN, MFC-R2, V5.1, V5.2, QSIG, DPNSS
4) DSP มีความเกี่ยวข้องกับระบบ VOIP ใน 2 ด้านคือ เทคโนโลยีที่ใช้ในการส่งสัญญาณเสียง ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะมีความแตกต่างจากเทคโนโลยีของ DSP ที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ทั่วๆ ไป
จุดประสงค์ของเทคโนโลยีในด้านนี้ คือต้องการที่จะลดขนาดข้อมูลให้ได้มากที่สุดในระดับคุณภาพเสียงที่ยอมรับได้ เทคโนโลยีเหล่านี้ได้แก่ Voice Compression (G.729, G.723), Echo cancellation, Comfort noise generator, Voice activity detector เทคโนโลยีที่ใช้ในการส่ง Signalingซึ่งเทคโนโลยีนี้จะมีเหมือนกับเทคโนโลยีของ DSPที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ทั่วๆ ไป ตัวอย่างของ Signaling ที่จำเป็นได้แก่ DTMF, MF, Call progress tone (Dial tone, Ring - back tone, ...), และ FAX, MODEM, CLID (Caller ID)
- การพัฒนาเทคโนโลยีและ Platform
ในการพัฒนาเทคโนโลยีนั้นนอกเหนือจากการศึกษาค้นคว้า ทางด้านทฤษฎีแล้ว การทดลองทำเพื่อให้เกิดผลจริงก็เป็นสิ่งจำเป็นในหลายๆ กรณี การกำหนด Platform (ระบบที่ใช้ในการพัฒนาและทดสอบ เช่น ชนิดของตัวประมวลผล ระบบปฏิบัติการ และ Compiler) ก็เป็น สิ่งที่มีความสำคัญต่อโครงการอย่างมากเนื่องจาก
1) Platform ที่ดีจะช่วยให้สามารถทดสอบความถูกต้องในการทำงานได้โดยสะดวก
2) การรวมงานที่ได้พัฒนาไว้สามารถทำได้โดยสะดวกไม่ต้องทำการพัฒนาใหม่หรือ ทำให้ใช้เวลาใน การรวมสั้นลง
3) สามารถทำการพัฒนาหลายๆ ส่วนไปพร้อมๆ กันได้
4) สามารถพัฒนาเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มจะนำมาใช้งานไว้ได้ล่วงหน้า โดยมีความมั่นใจว่าจะสามารถ นำมาใช้ได้โดยสะดวกเมื่อเกิดความต้องการ- โครงการ วิจัยและพัฒนาชุดรับส่งข้อมูลผ่านสายไฟฟ้าสำหรับลีโอนิกส์
โครงงานวิจัย PLC Module ได้รับสนับสนุนด้านเงินทุนจากบริษัทลีโอนิคส์ เพื่อสร้างต้นแบบ จำนวน 2 ชุด โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์(PC) กับอุปกรณ์ สำรองไฟฟ้า(UPS) จากเดิมที่สื่อสารผ่านทางพอร์ตอนุกรมตามมาตรฐาน RS232 โดยใช้สายอนุกรม มา เป็นรับส่งข้อมูลผ่านทางสายไฟฟ้าโดยมี PLC Module เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อแทนวัตถุประสงค์
เพื่อวิจัยและพัฒนาชุดรับส่งข้อมูลผ่านทางสายไฟฟ้าสำหรับลีโอนิกส์โปรโตคอลให้ได้ต้นแบบของ PLC Moduleเพื่อใช้ประโยชน์เชิงอุตสาหกรรมต่อไป
รายละเอียดของโครงการ
ชุดรับส่งข้อมูลผ่านสายไฟฟ้าหรือ PLC Module เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อ(Interface Equipment) ชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต้นทางกับอุปกรณ์ปลายทาง(Terminal Equipment) ผ่านตัวกลางคือสายไฟฟ้า(Power Line) โดย PLC Module จะทำการแปลงข้อมูลดิจิทัลที่รับมาให้อยู่ในรูป ของสัญญาณที่สามารถส่งผ่านสายไฟฟ้าได้จากนั้นจะแปลงสัญญาณดังกล่าวกลับคืนสู่สัญญาณดิจิทัลตาม เดิมเพื่อส่งให้กับตัวรับต่อไป ในการแปลงสัญญาณจะใช้ไอซี SSC P200 เป็นตัวควบคุมการเชื่อมต่อเน็ตเวิร์ค (Network Interface Controller) ซึ่งใช้เทคโนโลยี Spread Spectrum Communication ทำหน้าที่ดัง PLC Module มีโหมดการทำงานทั้งหมด 3 โหมดคือ การรับส่งข้อมูลแบบจุดต่อจุด (Point to Point) แบบหลายจุด (Multi-Point) และแบบจุดต่อจุดโดยมีอุปกรณ์ทวนซ้ำสัญญาณ การสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ Terminal กับ PLC Module จะผ่านทางพอร์ตอนุกรมตามมาตรฐาน RS232
มุ่งเน้นวิจัยเกี่ยวกับการประมวลผลสัญญาณต่าง ๆทางด้านโทรคมนาคมเพื่อให้สามารถส่งสัญญาณ ในระบบสื่อสาร ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
โครงการพัฒนาระบบโทรศัพท์เข้ารหัสลับ (Development of Encrypted Telephone)
เครื่องโทรศัพท์เป็นอุปกรณ์สําหรับติดต่อสื่อสารที่สําคัญอย่างหนึ่งในชีวิตประจําวัน การติดต่อสื่อสาร ของแต่ละบุคคลก็มีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน เช่น สนทนาระหว่างเพื่อน คู่รัก สนทนาธุรกิจ การเมือง การทหาร เป็นต้น ซึ่งแต่ละบุคคลย่อมให้ความสำคัญในความลับของข้อความสนทนามากน้อยแตกต่างกันไปแต่ระบบ โทรศัพท์ในปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า ยังไม่มีการป้องกันการถูกดักฟังได้ดีพอ โดยเฉพาะระบบโทรศัพท์แบบ ใช้สาย จึงได้มีผู้คิดพัฒนาอุปกรณ์ป้องกันหรือแจ้งเตือนการถูกดักฟังในรูปแบบต่างๆ ขึ้น เช่น เครื่องโทรศัพท์ เข้ารหัสลับ ซึ่งก็คือ การแปลงข้อมูลเสียงพูดโดยใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ให้เสียงนั้นมีความแตกต่างไปจาก เดิมโดยสิ้นเชิง จนผู้อื่นที่ดักฟังโดยวิธีการปกติไม่สามารถฟังเข้าใจความหมายได้ จะต้องใช้เครื่องที่มีสูตร เดียวกันนี้เท่านั้นจึงจะสามารถแปลงเสียงกลับมาให้ฟังเข้าใจได้ โทรศัพท์เข้ารหัสลับนี้โดยมากเป็นอุปกรณ นําเข้าจากต่างประเทศและบางรุ่นมีราคาแพงกว่าแสนบาทหรือหลายหมื่นบาท จากการที่นักวิจัยในโครง การนี้ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมงานวิจัยและพัฒนาของกองทัพเรือไทย ทําให้ทราบว่าทางกองทัพยังมีความ ต้องการใช้ระบบโทรศัพท์แบบเข้ารหัสลับจํานวนเพิ่มขึ้นอยู่ จึงเห็นว่าน่าจะพัฒนาโทรศัพท์เข้ารหัสลับขึ้น ใช้เองภายในประเทศเพราะนอกจากจะทำได้ราคาถูกกว่าแล้ว ยังเพิ่มความมั่นใจในการรักษาความลับได้ และ สามารถดัดแปลงรูปแบบการใช้งานให้เหมาะกับความต้องการได้เองอีกด้วย โดยนักวิจัยในโครงการนี้ เคยพัฒนาอุปกรณ์ตอบรับโทรศัพท์ดิจิตอล มาแล้ว และโครงการนี้จึงเสนอเพื่อพัฒนาโทรศัพท์เข้ารหัสลับ สำหรับใช้กับระบบโทรศัพท์แบบ fixed line โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทำหน้าที่แทนเครื่องโทรศัพท์
โครงการเครื่องดักรับสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง (Electronics Support Measures : ESM)
ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านการประมวลผลสัญญาณในระบบดิจิตอล ได้ก้าวหน้าไปมาก ซึ่งส่งผล ให้เกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในระบบดิจิตอล รวมไปถึงอุปกรณ์ทางการทหาร เครื่องดักรับสัญญาณ ก็เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ยุคใหม่ในสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ตรวจจับคลื่นแม่เหล็กไฟ ฟ้าในย่านความถี่ของเรดาร์ (2-18 GHz) เพื่อระบุว่าสัญญาณที่ตรวจรับได้มาจากทิศทางใดและมีคุณสมบัติ อย่างไร โดยการวิเคราะห์ประมวลผลจากคุณสมบัติของสัญญาณ ทางกองทัพเรือได้เล็งเห็นความสำคัญ ของการเตรียมความพร้อมสำหรับสงครามอิเล็กทรอนิกส์ในยุคปัจจุบัน จึงมีความประสงค์ที่จะนำระบบเครื่อง ดักรับสัญญาณมาใช้ในกองทัพ โดยให้การสนับสนุนในการทำวิจัยร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวเตอร์แห่งชาต
ความสำคัญและที่มาของการวิจัย
1) เครื่องดักรับสัญญาณเป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็นในทางการทหารยุคใหม่ ที่ชิงความได้เปรียบเสียเปรียบ กันด้วยเทคโนโลยี แต่เครื่องที่มีใช้อยู่ภายในกองทัพเรือ ในปัจจุบันเป็นเครื่องรุ่นเก่าที่มีอายุกว่า 20 ปี มีสภาพทรุดโทรมและล้าสมัยจึงมีความต้องการระบบใหม่ไว้ใช้งานอยู่ภายในกองทัพ 2) เครื่องในท้องตลาดมีราคาสูงมาก (กว่า 50 ล้านบาท) ทำให้ทางกองทัพไม่มีงบประมาณเพียงพอในการ จัดซื้อและเล็งเห็นว่า หากเครื่องดักรับสัญญาณนี้สามารถผลิตขึ้นเองภายในประเทศ ก็จะสามารถลดงบประ มาณในการนำเข้าเครื่องจากต่างประเทศได้เป็นอันมาก 3) เทคโนโลยีของเครื่องที่นำเข้ามาจากต่างประเทศมีความซับซ้อน ในฐานะผู้ใช้งานที่มีความรู้ไม่มากนักใน เทคโนโลยีนั้นๆ จะมีความยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายสูงในการซ่อมบำรุง
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาระบบดักรับสัญญาณเรดาร์ โดยระบบที่จะพัฒนาขึ้นประกอบด้วย สายอากาศเรียงตัวกัน ในแนวระนาบ โดยสายอากาศที่ใช้สามารถรับสัญญาณที่อยู่ในช่วง 2-18 GHz สัญญาณที่รับได้เข้ามาจะถูกแบ่งเป็นช่องสัญญาณย่อยๆ ช่องละ 1 GHz เช่น 2-3, 3-4, , 17-18 GHzเป็นต้นสัญญาณแต่ละช่องจะถูกลดความถี่ลง (RF Down Converter) เพื่อให้ความถี่ของสัญญาณลดลง มาอยู่ในช่วง 0-1 GHz หลังจากนั้นสัญญาณจะถูกสุ่มให้เป็นสัญญาณดิจิตอล (Data Acquisition) ก่อนที่จะ ถูกส่งไปประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ แต่ละช่องสัญญาณจะมีส่วนลดความถี่ (RF Down Converter) ที่แตกต่างกัน แต่ส่วนเก็บสัญญาณดิจิตอล (Data Acquisition)และซอฟต์แวร์ประมวลผลจะเหมือนกันโครง การนี้จะใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 2 ปี เพื่อออกแบบสร้างเครื่องดักรับสัญญาณเรดาร์จำนวน 1 ช่องสัญญาณ ที่ Bandwidth 1 GHz โดยมีรายละเอียดดังนี้
ระยะที่ 1
- สร้างระบบเก็บสัญญาณ Baseband (Data Acquisition) และ พัฒนาซอฟต์แวร์ประมวลผลสามารถ
ใช้กับสัญญาณความถี่ 0-1 GHz สามารถหามุมและทิศทางของสัญญาณได้ถูกต้อง อย่างน้อย 8 สัญญาณ
- ทดสอบระบบระยะที่ 2
- สร้างระบบดักรับสัญญาณที่สามารถดักรับสัญญาณเรดาร์ในย่านความถี่สูงได้ โดยมีเป้าหมายดังนี้
ใช้กับสัญญาณในย่านความถี่สูงที่อยู่ในช่วง 2-18 GHz จำนวน 1 ช่องสัญญาณสามารถหามุมและทิศทาง
ของสัญญาณได้ถูกต้อง อย่างน้อย 8 สัญญาณ ใช้สายอากาศจำนวน 16 ต้น(อาจเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลัง)
- ออกแบบระบบหาคุณสมบัติอื่นๆ ของสัญญาณ เช่น PW, PRF, ASR และทดสอบระบบด้วย ซอฟต์แวร
- ออกแบบส่วนแสดงผลและติดต่อผู้ใช้งาน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ง่าย
วัตถุประสงค์
1) พัฒนางานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
2) พัฒนางานวิจัยที่สามารถนำไปผลิตเชิงพาณิชย์
3) ส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ระบบตรวจตราความปลอดภัยที่พัฒนาขึ้นในประเทศแทนการนำเข้าระบบตรวจตราจากต่างประเทศ
4) พัฒนาระบบตรวจตราความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพในการตั้งเวลาบันทึกภาพ การส่งภาพผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การส่ง short message เตือนผ่านโทรศัพท์มือถือ การส่งข้อความ เตือนผ่าน E-mail และการสืบค้นภาพด้วยสี
5) พัฒนา Capture Card เพื่อแปลงสัญญาณภาพให้กับส่วนประมวลผล
วิธีการดำเนินงาน
ระบบตรวจตราความปลอดภัย AMS-2 เป็นระบบที่พัฒนาทั้งในส่วนที่เป็นซอฟต์แวร์และส่วนที่ เป็นฮาร์ตแวร์ ในส่วนของซอฟต์แวร์นั้น ระบบตรวจตราความปลอดภัย AMS-2 ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ ทั้งในส่วนที่เป็นการบันทึกภาพและฟังก์ชันการทำงานเสริมอื่นๆ เช่น ฟังก์ชันการตั้งเวลาบันทึกภาพอัตโนมัติ การส่งภาพผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การส่ง short message เตือนผ่านโทรศัพท์มือถือกรณีที่มีผู้บุกรุก ส่งข้อความและภาพผ่าน e-mail ในกรณีที่มีผู้บุกรุก และการสืบค้นข้อมูลภาพโดยใช้สี ในส่วนของฮาร์ต แวร์ จะเป็นการพัฒนา Capture Card ซึ่งใช้ในการแปลงสัญญาณภาพอนาลอกจากกล้องวงจรปิดให้อยู่ ในรูปสัญญาณภาพดิจิตอล สัญญาณภาพดิจิตอลนี้จะถูกนำไปประมวลผลในส่วนของซอฟต์แวร์ต่อไป
โครงการออกแบบสร้างสายอากาศฉลาดโดยใช้ FPGA สำหรับระบบสื่อสารแบบ Wideband
1. เพื่อศึกษาเทคโนโลยีสายอากาศฉลาดสำหรับระบบสื่อสารแบบ Wideband เช่น WiFi หรือ 3G
2. เพื่อสร้างระบบหาทิศทางของสัญญาณ Wideband บน FPGA
งานวิจัยระบบการสื่อสารเชิงแสงและควอนตัม (RDT5) จัดตั้งขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 โดยมีเป้าหมายในการทำวิจัยและพัฒนาในช่วงปี พ.ศ. 2549 สองโครงการหลักเกี่ยวกับระบบวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัม (Quantum Cryptography) และโครงการออกแบบและติดตั้งรหัสเทอร์โบสำหรับการสื่อสารเชิงดิจิทัล นอกจากการวิจัยและพัฒนาแล้ว งานวิจัยฯ ยังมีภารกิจในการพัฒนาบุคลากรร่วมกับสถาบันการศึกษา โดยในปัจจุบันงานวิจัยฯ มีพนักงาน 6 คน แบ่งเป็นนักวิจัย 1 คน และผู้ช่วยนักวิจัย 4 คน พนักงานจ้างเหมา 1 คน และความร่วมมือของนักศึกษาทุน TGIST ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก รวมทั้งนักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ(ตลอดทั้งปี)
ข้อมูลเพิ่มเติม:
โทรศัพท์ 0-2564-6900 ต่อ 2591-93
Website: https://www.nectec.or.th/Optical&Quantum
ระบบวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัม (Quantum Cryptography)
การวิจัยและพัฒนาต้นแบบวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัม โดยความปลอดภัยของระบบวิทยาการเข้ารหัสลับ ในปัจจุบันอาศัยสมมุติฐานของความยากของโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ดังนั้นในทางปฏิบัติระบบวิทยาการรหัสลับในปัจจุบัน จึงรับประกันได้แต่เพียงว่าระบบยากต่อการทำลาย ซึ่งตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับระบบวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัม (Quantum Cryptography System) ที่ความปลอดภัยของระบบรับประกันด้วยกฏพื้นฐานต่าง ๆ ของควอนตัมฟิสิกส์ และยังสามารถตรวจจับผู้ดักฟัง (Eavedropper) ได้เสมอ โดย RDT5 จะพัฒนาในส่วนต้นแบบ ระยะทางการสื่อสารระหว่างภาครับและภาคส่ง อัตราการส่งสัญญาณและสาธิตการประยุกต์การใช้งานระบบ ด้วยการเข้ารหัส (Encode) และการถอดรหัส (Decode) ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีการสื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
โครงการออกแบบและติดตั้งรหัสเทอร์โบสำหรับการสื่อสารเชิงดิจิทัล
รหัสเทอร์โบถูกกำหนดเป็นหนึ่งในมาตรฐาน และถูกใช้ในระบบสื่อสารตั้งแต่ภาคพื้นดินสู่อวกาศ เช่น ระบบโทรศัพท์ เคลื่อนที่ยุคที่สาม การสื่อสารดาวเทียม การสื่อสารช่องสัญญาณอวกาศ และ ระบบจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น โครงการนี้พัฒนาชุดรหัสเทอร์โบเพื่อปรับปรุงคุณภาพสัญญาณ ลดการใช้แบนด์วิธ การพัฒนาออกแบบและสร้าง จะเน้นให้อุปกรณ์รหัสเทอร์โบให้มีราคาถูก และติดตั้งใช้งานจริง โดยใช้อุปกรณ์เอฟพีจีเอ (FPGA) และซอร์ฟแวร์สำเร็จรูปพร้อมติดตั้ง (IP-Core) ที่สามารถผลักดันออกสู่การพัฒนา (Development) เพื่อภาคอุตสาหกรรม และโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
สงวนลิขสิทธิ์ โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
โทร.02-564-6900 ต่อ 2346 - 2355