หัวข้อสัมมนา

ทำเงินจากเม็ดทราย (From Sand to Sensors)

 การบรรยายเรื่อง “Intelligent Sensors เซนเซอร์ที่มีความฉลาดมากขึ้น เป็นพื้นฐานสำคัญในการเก็บข้อมูล เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้ ต่อยอดสู่การพัฒนาได้หลากหลายอุตสาหกรรม” บริษัท เอเอ็มดี ฟาร์อีสต์ จำกัด (ประเทศไทย) มีเทคโนโลยีล้ำสมัยครอบคลุม ทั้งในส่วน Database, Big Data, AI ที่จะเข้ามาผนวกการทำงานเข้ากับเซนเซอร์ ให้กลายเป็น Intelligent Sensors ทำให้เซนเซอร์สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ด้วยตัวเอง ตอบกลับเป็นชุดคำสั่ง และทำงานได้ตามที่กำหนดไว้ ข้อมูลเหล่านี้จะเกิดประโยชน์ต่อทั้งผู้ใช้ กลุ่มนักพัฒนาสินค้าบริการ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ และแอปพลิเคชัน ซึ่ง Intelligent Sensors มีผลเป็นอย่างมากกับทุกกลุ่มอุตสาหกรรมในประเทศ AMD หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นส่วนหนึ่งทำให้ประเทศไทยได้ใช้เทคโนโลยีในเชิงสร้างสรรค์ เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้ และการพัฒนาประเทศ

บรรยายโดย วิทยากรจากบริษัทเอเอ็มดี ฟาร์ อีสท์ ลิมิเต็ด (AMD Far East Ltd.)

การเสวนาช่วงที่ 1 “ทำเงินจากเม็ดทราย (From Sand to Sensors)”
นำเสนอภาพรวมในอุตสหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ โอกาสทางธุรกิจของประเทศกับแนวคิด “More than Moore” และนำเสนอเทคโนโลยีการผลิตเซนเซอร์ตั้งแต่ “เม็ดทราย” จนได้เป็นตัวเซนเซอร์ โดยวิทยากรจากศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) สวทช. โดยมีประเด็นสำคัญในการเสวนาคือ

– ทรายกลายเป็นชิปได้อย่างไร
– More than Moore คืออะไร
– ไทยมีโอกาสอะไรบ้างในอุตสาหกรรมนี้
– เซนเซอร์สำคัญอย่างไรและเราเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้อย่างไร

การเสวนาช่วงที่ 2 “สานฝันให้เป็นจริง (From ideas to reality)”
นำเสนอการพัฒนาเซนเซอร์ร่วมกับพันธมิตร จากแนวคิดสู่อุปกรณ์ที่ใช้งานได้จริง โดยผสานความเชี่ยวชาญของวิศวกรสร้างดาวเทียม นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ วิศวกรไมโครอิเล็กทรอนิกส์ และเซมิคอนดักเตอร์ ในการพัฒนานวัตกรรมที่เปลี่ยนเม็ดทรายเป็นเซนเซอร์มูลค่าสูง นำไปสู่การสร้างต้นแบบอุปกรณ์ตรวจวัดสภาวะอวกาศ หรือ space weather payload สำหรับดาวเทียม ในโครงการภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium) หรือ TSC-1 ซึ่งจะเป็นดาวเทียมสำรวจดวงแรกที่ประกอบในประเทศทั้งหมดโดยฝีมือคนไทย แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทย

วิทยากร

  1. ผศ.ดร.วิภู รุโจปการ
    รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
    สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)​
  2. ศ. (พิเศษ) ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล
    ศาสตราจารย์พิเศษ ภาควิชาฟิสิกส์
    คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล​
  3. ดร.จิรวัฒน์ ปราบเขต
    ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ สวทช.
  4. คุณวีรวุฒิ วุฒิเลิศอนันต์
     ASEAN Solutions Architect
    บริษัท เอเอ็มดี ฟาร์ อีสท์ ลิมิเต็ด (AMD Far East Ltd.)

ผู้ดำเนินรายการ :

ดร.วงศกร พูนพิริยะ
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารเครือข่ายวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม
สวทช.