ระบบตรวจวัดสภาพแวดล้อมในนาข้าวที่ปลูกแบบเปียกสลับแห้ง ประกอบด้วยสถานีวัดอากาศ สถานีเก็บข้อมูลน้ำและดิน ระบบควบคุมการส่งน้ำเข้าแปลงนาข้าว สำหรับตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน ความเร็วลม ทิศทางลม ความเข้มแสง ระดับน้ำ ความชื้นดิน อุณหภูมิดิน และตัวแปรอื่นๆ ที่สนใจ ระบบสามารถสื่อสารกันได้ในระยะไกล เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจควบคุมการให้น้ำในแปลงนาข้าว ปัจจุบันได้มีการติดตั้งและทดสอบที่สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดชัยนาท และประเทศบรูไน
จุดเด่น/ประโยชน์
- เป็นระบบเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมและกิจกรรมแปลงปลูกข้าว ควบคุมการส่งน้ำเข้าแปลงนาข้าวทำให้ประหยัดการใช้น้ำมากสุดถึง 30% โดยที่ผลผลิตยังใกล้เคียง หรือมากกว่าเดิม
- ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้พันธุ์ข้าวที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการฟางข้าวและตอซัง ทำให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากสุดถึง 65%
กลุ่มผู้ใช้งานเป้าหมาย
- เกษตรกร หรือผู้ประกอบการด้านการเกษตรอัจฉริยะ
หน่วยงานพันธมิตร/ร่วมวิจัย/แหล่งทุน
- กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC)
- ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
วิจัยพัฒนาโดย
ทีมวิจัยเทคโนโลยีเกษตรดิจิทัล (DAT)
ด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบและเครือข่ายอัจฉริยะ (ITSN)
เนคเทค สวทช.