หัวข้อ : สิทธิประโยชน์จากภาครัฐด้านการส่งเสริมพัฒนาการของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 13.00 – 16.15 น.
ห้อง Ballroom C โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ (เซ็นทรัลลาดพร้าว)
เนื้อหาโดยย่อ
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ส่วนใหญ่บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จะประสบปัญหาทางด้านการอ่าน (Dyslexia) การเขียน (Dysgraphia) และการคำนวณ (Discalculia) กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้มีกระบวนการคัดกรองเพื่อจัดการเรียนการสอนสำหรับบุคคลที่บกพร่องทางการเรียนรู้ ทำให้ทราบว่า ในปี 2562 มีจำนวนนักเรียน ที่บกพร่องทางการเรียนรู้อยู่จำนวน 349,753 คน ตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 20 กล่าวถึง ผู้บกพร่องทางการเรียนรู้ได้มีสิทธิเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอํานวย ความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ทั้งในด้าน การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ การศึกษา การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ปัจจุบัน ภาครัฐประกอบด้วย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการจัดสวัสดิการสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และในปี 2562 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ เพิ่มเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ไว้ในสวัสดิการด้วย
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) ได้มีการพัฒนาชุดซอฟแวร์ช่วยการเขียน และการอ่านสำหรับบุคคลที่บกพร่องทางการเรียนรู้ ที่ผ่านมา มีการทดลองใช้ตามโรงเรียนสังกัด สพฐ. ทั่วประเทศ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เครือข่ายสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ เครือข่ายสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยส่งเสริมทักษะด้านการเขียนสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการเขียน ในการเสวนาครั้งนี้ จึงได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ ที่เกี่ยวข้องมาร่วมเสวนาเพื่อผลักดันเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกให้มีการนำไปใช้ได้จริง และมีการติดตามการใช้งานอย่างต่อเนื่อง
กำหนดการ
เวลา 13.00 – 13.30 น.
วีดิทัศน์นำเสนอการใช้เทคโนโลยีสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
- นำเสนอเทคโนโลยีสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการเขียน
โดย ดร.อรอินทรา ภู่ประเสริฐ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ - นำเสนอเทคโนโลยีสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน
โดย ดร.อนันต์ลดา โชติมงคล ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์
เวลา 13.30 – 16.15 น.
เสวนา : สิทธิประโยชน์จากภาครัฐด้านการส่งเสริมพัฒนาการของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
- “ประสบการณ์ด้านการอ่านและการเขียนของบุคคลที่มีความพิการทางการเรียนรู้”
โดย คุณปิยนาถ มณีรัตนายล
นายกสมาคมส่งเสริมศักยภาพบุคคลบกพร่องทางการเรียนรู้แห่งประเทศไทย
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย 1 )
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย 2 )
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย 3 ) - “การจัดสวัสดิการและการใช้ประโยชน์ชุดซอฟต์แวร์ช่วยการเขียนบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในโรงเรียนสังกัด สพฐ.”
โดย ดร.สมพร หวานเสร็จ
ผู้อำนวยการ ศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง
กระทรวงศึกษาธิการ
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย 1 )
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย 2 ) - “การใช้ประโยชน์ชุดซอฟต์แวร์ช่วยการเขียนบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในเครือข่ายโรงพยาบาลของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี”
โดย พญ.อดิศร์สุดา เฟื่องฟู
ประธานศูนย์เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย) - “การจัดสวัสดิการสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม”
โดย ดร. วรรณศิริ พัวศิริ
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย) - “ความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และหลักการประเมินเด็ก LD ที่สามารถเบิกสวัสดิการได้”
โดย รศ.นพ.มนัท สูงประสิทธิ์
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย) - “การสนับสนุนอุปกรณ์เครืองช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการ จากภาครัฐ โดยสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ”
โดย พ.ญ.จุไรรัตน์ บัวภิบาล
แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
(ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)
ดำเนินรายการโดย
คุณวันทนีย์ พันธชาติ
ผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะทาง
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์