ace2019-ss02

หัวข้อ : วัฒนธรรมดิจิทัลกับการหนุนนำเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในบริบทการท่องเที่ยว (Digital Culture for Creative Economy in Tourism Domain)
วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 เวลา 13.00 น. – 14.30 น.
ห้อง Ballroom A โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ (เซ็นทรัลลาดพร้าว)

เนื้อหาโดยย่อ

ข้อมูลวัฒนธรรมในรูปแบบดิจิทัลเป็นคลังความรู้ที่มีคุณค่า เป็นแหล่งทรัพยากรต้นทางให้กับการสร้างนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนภาคการศึกษาภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และธุรกิจดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้ดำเนินกิจกรรมวิจัยและพัฒนาด้านข้อมูลวัฒนธรรม มามากกว่า 6 ปี สร้างเครือข่ายองค์กรด้านวัฒนธรรม ทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาค ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วจากแหล่งทรัพยากรต่างๆ ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ เพื่อนำมาจัดเก็บและพัฒนาให้เกิดเป็นโครงสร้างข้อมูลเชิงความหมายให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้าหากันได้ เกิดเป็นเครือข่ายข้อมูลวัฒนธรรมขนาดใหญ่ โดยโครงข่ายข้อมูลดังกล่าวจะสามารถนำมาเปิดเผยสู่สาธารณะในรูปแบบเว็บให้บริการ และนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ก่อให้เกิดการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ การให้บริการดังกล่าวจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดการใช้งานข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัลไปสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมได้ในอนาคต

ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติได้กำหนดเรื่องเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในบริบทการท่องเที่ยว การนำวัฒนธรรมดิจิทัลเข้ามาจะช่วยสนับสนุนงานในบริบทนี้ ประเด็นในการสัมมนาจะประกอบด้วย
(1)   ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเพื่อเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
(2)   การรวบรวม การจัดเก็บ และการเชื่อมโยงข้อมูลวัฒนธรรมดิจิทัล
(3)   การประยุกต์วัฒนธรรมดิจิทัลสู่บริบทการท่องเที่ยว

กำหนดการ

เวลา 13.00 – 14.30 น.

  • การเสวนา “วัฒนธรรมดิจิทัลกับการหนุนนำเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในบริบทการท่องเที่ยว”
    การเสวนานี้ ผู้แทนแต่ละท่านจะมาเล่าถึงมุมมองและประสบการณ์ด้านการทำงานวัฒนธรรมดิจิทัลในมิติต่างๆ ได้แก่ ด้านนโยบายที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ของประเทศ นโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดแนวทางการพัฒนา “แพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการและให้บริการข้อมูลวัฒนธรรม (NAVAnurak Platform)”
  • ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเพื่อเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ความต้องการเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและให้บริการข้อมูลสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวให้ตรงกับความต้องการ และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อส่งเสริมคุณค่าการท่องเที่ยวของประเทศไทย ขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและกระจายรายได้อย่างยั่งยืน
    • โดย  คุณเพลินพิศ หมื่นพล
      ผู้อำนวยการฝ่ายดิจิทัล และเทคโนโลยีสารสนเทศ
      การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  • นโยบายการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้เพื่อใช้ในการพัฒนาการท่องเที่ยวไทยสู่ความยั่งยืน การสร้างความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยว โดยไม่ทำลายสมดุลระหว่างการรักษาต้นทุนทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ กลไกการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของการท่องเที่ยวไทยในเวทีระดับนานาชาติ
    • โดย  ผศ. สุภาวดี โพธิยะราช
      ผู้อำนวยการฝ่ายการวิจัยมุ่งเป้า
      สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
  • อพท. ในนามขององค์กรแห่งความเป็นเลิศด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างชุมชนแห่งความสุข มาแบ่งปันประสบการณ์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมต้นแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยชุมชน
    • โดย คุณพัฒน์มาศ วงศ์พัฒนศิริ
      ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน
      องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.)
      (ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย)
  • ศมส. องค์กรหลักในการจัดการข้อมูลความรู้ด้านมานุษยวิทยาเพื่อสร้างความเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชาติ จะมาให้ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ในการจัดเก็บ รวบรวม และบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศด้านสังคม-วัฒนธรรม มานุษยวิทยาและศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การสร้างเครือข่ายวัฒนธรรมทั่วประเทศ
  • การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งาน และรองรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ และแผนยุทธศาสตร์ชาติ

ดำเนินรายการโดย
คุณนิรมล ประทีปะจิตติ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ