MENU
Banner

การถ่ายทอดเทคโนโลยี

ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม มีภารกิจในการแสวงหาความร่วมมือกับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยมุ่งหวังที่จะให้เกิดการบริการด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ศูนย์ฯ วิจัยและพัฒนาไปสู่ภาคส่วนต่างๆ ทั้งในอุตสาหกรรม ชุมชน และสังคม เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตผลิตภัณฑ์ (product development) และ/หรือกระบวนการผลิต (process development) รวมถึงการพัฒนา บุคลากรให้มีความเข้าใจ ความรู้ และความสามารถในการทำวิจัย พัฒนา และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาขีดความสามารถของการแข่งขันทางการค้า และระบบเศรษฐกิจ ของประเทศชาติโดยรวม โดยใช้เทคโนโลยีเป็นแกนนำ

วิสัยทัศน์

เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีของศูนย์ฯ ไปสู่การใช้งานทั้งภาคอุตสาหกรรม ชุมชน และสังคม

พันธกิจ

  1. เสาะหาความต้องการทางเทคโนโลยีของตลาด และสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี
  2. ประสานงานและพัฒนาธุรกิจร่วมกับผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี
  3. วิเคราะห์และประเมินผลงานถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ศูนย์ฯ ได้ทำการถ่ายทอด

กระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี

ปัจจุบันรูปแบบของการถ่ายทอดเทคโนโลยีของศูนย์ฯ โดยฝ่ายพัฒนาธุรกิจและถ่ายทอดเทคโนโลยี ประกอบด้วย 5 รูปแบบหลัก ได้แก่

1. การอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing) เป็นการอนุญาตให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมสามารถใช้สิทธิในผลผลิตของศูนย์ฯ เช่น ต้นแบบ องค์ความรู้ เพื่อพัฒนาไปสู่สินค้าหรือบริการในเชิงพาณิชย์ เช่น

  • ผลงานวิจัยแผงวงจรสถานีวัดสภาพอากาศ
  • ผลงานวิจัยต้นแบบระบบควบคุมการดัดแปลงรถยนต์ให้ใช้กับก๊าซระบบหัวฉีด “ECU”
  • โปรแกรมคอมพิวเตอร์เครื่องมือรู้จำเสียงพูดภาษาไทย “ไอสปีช”

2. การรับจ้างวิจัย (Contract Research) เป็นการรับจ้างดำเนินการวิจัยให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยการใช้เทคโนโลยีที่ศูนย์ฯ มีความสามารถและความเชี่ยวชาญ เพื่อเสริมความเข้มแข็งให้แก่อุตสาหกรรม เช่น

  • จ้างวิจัยพัฒนาระบบประตูเปิด-ปิดอัตโนมัติสำหรับห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ
  • จ้างวิจัยและพัฒนาชุดควบคุมการจ่ายพลังงานของกังหันลม

3. การร่วมวิจัย (Joint Research) เป็นการร่วมดำเนินการวิจัยพัฒนา เพื่อส่งเสริมภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่มีความสามารถทางเทคโนโลยีให้มี ศักยภาพทางเทคโนโลยีที่สูงขึ้น

  • โครงการวิจัยพัฒนาเครื่องกัด ซี เอ็น ซี เพื่อเป็นชุดสื่อสารการเรียนการสอนเทคโนโลยี ซี เอ็น ซี แบบประหยัด
  • โครงการวิจัยพัฒนาระบบควบคุม สำหรับ Retrofit เครื่องกัดอัตโนมัติ (CNC Controller for Milling Machine Retrofitting)

4. การให้คำปรึกษา (Consulting) เป็นการจัดหาผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิจัยของศูนย์ฯ มาเป็นผู้ให้คำปรึกษาหรือแนะนำ ในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกระบวนการผลิต เพื่อให้ความรู้หรือช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินการของแก่หน่วยงานภายนอกศูนย์ฯ

  • จ้างที่ปรึกษาโครงการปรับปรุงเครื่องปรับอากาศ
  • โครงการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ.2552-2556

5. การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Technical Workshop) เป็นการให้ความรู้ทางเทคโนโลยีเฉพาะเรื่อง จากที่ผู้ที่มีคามรู้ ความชำนาญในเรื่องนั้นๆ โดยตรง เพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้เข้าอบรมให้สูงขึ้น และสามารถนำไปปฏิบัติในการทำงานจริงได้

6. บริการห้องปฏิบ้ติการวิจัยเปิด (Open Laboratory) บริการพื้นที่เช่า พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานวิจัยและพัฒนา โดยเปิดรับบุคคลภายนอกทั้งภาคอุตสาหกรรมและการศึกษา มาร่วมทำงานวิจัยพัฒนา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากร เช่น อุปกรณ์เครื่องมือ ความรู้ ความเชี่ยวชาญจากนักวิจัย เป็นต้น

ตัวอย่างผลงานที่พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี

ผลงานที่พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีมีทั้งผลงานวิจัยพัฒนา ในด้านอิเล็กทรอนิกส์ และซอฟต์แวร์ เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้งานในภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร ภาคสังคม และ ความมั่นคง อาทิ

  • ระบบข้อมูลการจราจร (Taffy) เป็นระบบรายงานข้อมูลจราจร เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้เดินทางเกี่ยวกับสภาพการจราจร เพื่อช่วยให้ผู้เดินทางสามารถวางแผนการเดินทางได้
  • โปรแกรมคอมพิวเตอร์แปลงภาพเอกสารเป็นข้อความ เป็น
  • เครื่องรบกวนสัญญาณโทรศัพท์มือถือและเครื่องรบกวนสัญญาณเครื่องควบคุมระยะไกลด้วยความถี่วิทยุเพื่อใช้ในกิจการความมั่นคง (T-Box) เป็นระบบสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเก็บกู้ระเบิดแสวงเครื่องชนิดที่สั่งงานระยะไกลผ่านโทรศัพท์มือถือหรือเครื่องควบคุมระยะไกล
  • ระบบตรวจวัดเพื่อการทำการเกษตร เป็นระบบที่ำทำหน้าที่เฝ้าตรวจสภาวะแวดล้อมต่างๆ ที่มีผลกระทบในการทำเกษตรกรรม ได้แก่ อุณหภูมิ ปริมาณน้าฝน ความชื้นในดิน ปริมาณแสง เป็นต้น
  • อุปกรณ์ควบคุมการจ่ายเชื้อเพลิงทดแทน (ECU-NGV) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อให้รถยนต์เดิมสามารถใช้ก๊าซธรรมชาติได้
  • ชุดควบคุมคอมเพรสเซอร์กระแสตรงแบบไร้แปรงถ่าน (inverter) สำหรับเครื่องปรับอากาศเป็นระบบที่ช่วยปรับความเร็วรอบในการควบคุมการทำงานของคอมเพรสเซอร์ใน เครื่องปรับอากาศ ซึ่งจะช่วยทำให้ประหยัดพลังงาน

สนใจผลิตภัณฑ์ ติดต่อเพิ่มเติมได้ที่

ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

Tel: +66 (0) 2564 6900 ext. 2399 [คุณสุภัชญา]

Fax: +66 (0) 2564 6877

E-mail: btt@nnet.nectec.or.th