ทิศทางการดำเนินงาน : “มุ่งสู่ผลงานที่มีความหมาย ด้วยความใส่ใจซึ่งกันและกัน”
CARE
- Co-creation การวิจัยและพัฒนาที่มุ่งสู่การร่วมสร้างสรรค์คุณค่ากับลูกค้าและผู้ใช้งาน
- Agility มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน เพื่อสร้างผลิตภาพให้สูงขึ้น
- Relevance การวิจัยและพัฒนาที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของประเทศและประชาคมโลก นำไปสู่การแก้ไขปัญหา ยกระดับการพัฒนา และก่อเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมในทุกระดับ
- Excellence การวิจัยและพัฒนาที่มีความเป็นเลิศ ยกระดับขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ ก่อเกิดนวัตกรรม มุ่งสู่การยอมรับในระดับภูมิภาคและระดับโลก
กลยุทธ์การดำเนินงาน
- สร้างความแตกต่าง (Differentiate) ของผลงานและการประยุกต์ใช้งานก่อนนำไปสู่ความเป็นเลิศในด้านนั้น
- ให้ความสำคัญกับโครงการภายใต้ Flagship ของเนคเทคได้แก่ Smart Health, Smart Farm, Digitized Thailand และ Smart Service
- ริเริ่มให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะมีความสำคัญในอนาคตในสัดส่วนที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
- สื่อสารกลยุทธ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจทั้งระดับนโยบาย ระดับผู้รับประโยชน์ (Stakeholder) และระดับองค์กร
โครงสร้างและการบริหารองค์กร
- จัดสร้างโครงสร้างการบริหารให้มีระบบที่มีความชัดเจน โปร่งใส มีประสิทธิภาพสูง กระชับรวดเร็ว สามารถให้ถูกตรวจสอบได้ทุกเวลา พร้อมทั้งกำหนดผู้บริหารที่มีอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาและตัดสินใจตามความรับผิดชอบได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
- ใช้ระบบการบริหารคุณภาพ การติดตาม วัดและประเมินผลการดำเนินงานทุกระดับ นำเอาระบบ Balanced Scorecardมาใช้เพื่อให้มีการพัฒนาและปรับปรุงอย่างสมดุล และสามารถวัดเทียบกับหน่วยงานระดับเดียวกันทั้งในและต่างประเทศได้
- พัฒนา และสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้บริหารและพนักงานเพื่อให้สามารถดำเนินงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส คล่องตัว ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม และกลยุทธ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างทันท่วงที
- ส่งเสริมให้เกิดทีมทำงานในระดับต่างๆภายในเนคเทค และการทำงานร่วมกับพันธมิตร ภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน สร้างความสามารถในการเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีม
การมุ่งเน้นลูกค้าและผู้ได้รับประโยชน์ (Stakeholder)
- มุ่งเน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างภาคเอกชน นักวิจัย และสถาบันการศึกษาภายใต้ความร่วมมือโครงการวิจัยพัฒนา ความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่าย และศูนย์ความรู้เฉพาะด้าน
- ให้ความสำคัญกับโครงการที่สร้างผลกระทบ (Impact) ทั้งจำนวนภาพรวมอุตสาหกรรมและจำนวนบริษัทที่เข้าร่วม
การสร้างเครือข่ายพันธมิตร
- ทำงานร่วมกับสมาคมวิชาชีพ สมาคมอุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐ ผลักดันการใช้มาตรฐานเปิดและเทคโนโลยีที่พัฒนาได้เองในประเทศ ร่วมมือทำให้เกิดโครงการนำร่องในภาครัฐที่ใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาในประเทศ
- ร่วมกับหน่วยงานพัฒนานโยบาย และหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรม เพื่อให้มีการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงและทำให้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการตัดสินใจ
นโยบายการ Spin-off
- สนับสนุนให้กลุ่มงาน/โครงการที่มีขีดความสามารถ และเริ่มมีภารกิจเฉพาะ ให้สามารถเติบโตและมีระบบบริหารจัดการที่ดูแลตนเองได้ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว และทำให้ศูนย์เป็น Learning and Lean Organization ที่สอดคล้องกับการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์อย่างชัดเจน