MENU
Banner

ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูและอำนวยความสะดวก

ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการพื้นฟูและอำนวยความสะดวก (Rehabilitation and Assistive Technology Laboratory: RHA) เป็นหนึ่งในห้องปฏิบัติการของหน่วยวิจัยอิเล็กทรอนิกส์และระบบทางชีวการแพทย์ ภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ มุ่งเน้นการพัฒนาอุปกรณ์และระบบเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพรวมถึงเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ในกลุ่มมุ่งเป้าคือผู้สูงอายุและผู้พิการ เน้นการพัฒนาที่มีนวัตกรรม มีมาตรฐาน และสามารถนำไปสู่การใช้งานจริง เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

พันธกิจ

ดำเนินการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและอุปกรณ์เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยวามสะดวก เพื่อการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุและผู้พิการ มุ่งเน้นการร่วมมือกับเครือข่ายเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีเข้าสู่ระบบบริการ และสร้างความเข็มแข็งทางวิชาการ โดยห้องปฏิบัติการวิจัยฯ มีแผนงานวิจัยใน 3 ด้านหลัก คือ

  1. เทคโนโลยีเพื่อการพื้นฟูสมรรถภาพทางพุทธิปัญญา (Cognitive Rehabilitation)
  2. เทคโนโลยีการพื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยิน (Auditory Rehabilitation)
  3. เทคโนโลยีด้านการพื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพ (Physical Rehabilitation)

เทคโนโลยีที่มีความชำนาญและสนใจ

ห้องปฎิบัติการวิจัยฯ มีประสบการณ์หรือความสนใจในกลุ่มเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการพัฒนาอุปกรณ์ ระบบ และ บริการ ตามแผนวิจัยของหน่วย ดังต่อไปนี้

  • Assistive auditory technology
  • Rehabilitation robotics
  • Brain computer interface/Cognitive neuroscience
  • Wearable sensor/Body area network
  • Bone conduction/Auditory perception

ตัวอย่างงานวิจัย

เครื่องช่วยฟังดิจิทัล P02

P02 เป็นอุปกรณ์การแพทย์สำหรับผู้สูญเสียการได้ยินเนื่องจากระบบประสาทรับเสียงเสีย โดยอุปกรณ์จะทำหน้าที่ขยายและปรับแต่งสัญญาณเสียงที่ได้รับให้เหมาะสมกับผู้ป่วยโดยใช้ตัวประมวลผลแบบ digital signal processor มีจุดเด่นที่ราคาประหยัด สามารถใช้แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมปรับตั้งค่าเครื่องช่วยฟังภาษาไทยเพื่อสะดวกต่อผู้ใช้งานในการปรับแต่ง ปัจจุบันได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้บริษัทเอกชน นำไปผลิตตามมาตรฐานเครื่องมือแพทย์สากล ได้รับเครื่องหมาย CE-Mark และให้บริการอยู่ในโรงพยาบาลมากกว่า 12 แห่งจากทั่วประเทศ ภายใต้ชื่อ INTIMA

ระบบหุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย

ระบบ SEFRE/WEFRE ถูกออกแบบให้มีรูปแบบที่น่าใช้ ง่ายต่อการจัดการ และตอบสนองความต้องการของแพทย์ นักฟื้นฟูฯ และผู้ใช้งาน โดยระบบ SEFRE Rehab System เป็นนวัตกรรมที่สามารถฟื้นฟูข้อไหล่ ข้อศอก และแขนท่อนล่างได้ในระบบเดียวกัน ขณะที่ ระบบWEFRE Rehab System มีจุดเด่นที่ความสามารถในการเคลื่อนย้าย โดยสามารถฟื้นฟูข้อมือ แขนท่อนล่าง และข้อศอกได้ในระบบเดียวกัน ระบบหุ่นยนต์ทั้งสองสามารถรองรับการฟื้นฟูสมรรถภาพได้ในหลากหลายรูปแบบตามสถานะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของผู้ใช้ รวมถึงมีการป้องกันข้อยึดติด และยังสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้ขณะที่ทำการฟื้นฟู เพื่อให้แพทย์สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ผลของการฟื้นฟูได้อีกด้วย

บุคลากรและความสนใจ

ชื่อ - นามสกุล ความสนใจ
ดร. พศิน อิศรเสนา ณ อยุธยา Signal processing systems for medical applications
ดร. วินัย ชนปรมัตถ์ Rehabilitation robotics
นายสุวิชา จิรายุเจริญศักดิ์ BCI, Machine learning
นายอนุกูล น้อยไม้ Embedded systems, Hearing aids
ดร. สุรภา เทียมจรัส Wireless Sensor Network
ดร. ศิวัตม์ สายบัว Sensors and systems
นายธราพงษ์ สูญราช Electronics hardware
นายอภิชย์ เหมาคม (ลาศึกษา) Digital Signal Processing
นายสังวรณ์ สีสุทัศน์ Electroacoustic measurements
นายวิศรุต ทรัพย์ศรี Gaming software

ติดต่อ

ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูและอำนวยความสะดวก (RHA)
Email: rha@nectec.or.th