MENU
Banner

ห้องปฏิบัติการวิจัยติดตามสุขภาพและรูปแบบการดำเนินชีวิต

ในปัจจุบัน การสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ประชาชนนั้น นอกจากจะมุ่งเน้นในเรื่องของความถูกต้องตามหลักวิชาการแล้ว อาจต้องปรับเปลี่ยนวิธี หรือมีเครื่องมือช่วยให้ประชาชนเข้าถึง หรือสามารถแทรกอยู่ในการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติ ไม่ทำให้รู้สึกว่าเป็นเรื่องลำบาก และจะยิ่งให้ผลลัพธ์ที่ดีมากแค่ไหน หากเราสามารถติดตาม ดูแล และส่งเสริมสุขภาพของประชาชนได้ทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็กไปจนถึงวัยสูงอายุ ซึ่งหากสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชาชนได้ ก็จะทำให้การสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่คนไทยเป็นเรื่องง่ายและมีความยั่งยืน

ดังนั้นห้องปฏิบัติการวิจัยติดตามสุขภาพและรูปแบบการดำเนินชีวิต (Health and Lifestyle Monitoring Lab : HLM) มีความมุ่งหวังที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมอันเป็นประโยชน์ในด้านการส่งเสริมสุขภาพของคนไทย โดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมโยง เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญไปสู่ประชาชน สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านงานวิจัยและพัฒนา หรือการต่อยอดนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และสังคมเพื่อให้คนไทยมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี

หน้าที่ความรับผิดชอบ

  • สร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพโดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมโยง เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญไปสู่ประชาชน
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ทั้งด้านงานวิจัยและพัฒนา หรือการต่อยอดนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และสังคม

เทคโนโลยีหลัก / ความสนใจ

Human Behaviour Analysis

เทคโนโลยีที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อนและค้นหาความสัมพันธ์ในข้อมูลที่ได้จากการติดตามรูปแบบการดำเนินชีวิตและสุขภาพ ผนวกกับการเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานพันธมิตรและผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่นฐานข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการ ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการวิเคราะห์และวิจัยเพื่อตอบโจทย์ปัญหาทางด้านสุขภาพของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการบริโภคอาหารและออกกำลังกาย พฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือ พัฒนาการของเด็กไทย ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนี้ ได้แก่ โปรแกรมKidDiary โปรแกรมFoodiEat และ Thai School Lunch เป็นต้น

Health and Lifestyle Prediction

เทคโนโลยีเพื่อพยากรณ์ ความเสี่ยงการเป็นโรคจากติดตามรูปแบบการดำเนินชีวิตและสุขภาพ (lifestyle and health) ด้วยตนเอง เพื่อไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของแต่ละบุคคล และเสริมสร้างค่านิยมในการบริโภคอาหารและออกกำลังกายที่ถูกต้อง โดยเน้นการออกแบบและพัฒนาเครื่องเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของคนไทยเพื่อให้ให้เกิดการใช้งานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนี้ ได้แก่ โปรแกรมSizeThailand e-Heath และโปรแกรมFoodiEat เป็นต้น

Adaptive Human Data Clustering

เทคโนโลยีที่สามารถจัดกลุ่มข้อมูลคนที่เหมือนหรือคล้ายกันมากที่สุด โดยความท้าทายอยู่ที่การทำงานกับข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด และยังไม่สามารถระบุเงื่อนไขการจัดกลุ่มแบบตายตัว ต้องมีการรับ feedback จากผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรับเปลี่ยนกลุ่มให้ได้ผลลัพท์ที่ตอบโจทย์มากขึ้นอยู่ตลอดเวลา เช่น การจำแนกเด็กที่มีความเสี่ยงออกจากกลุ่มที่ปกติ ต้องใช้ความเข้าใจในด้านพัฒนาการ โภชนาการและต่อมไร้ท่อในเด็ก และต้องสามารถเรียนรู้และดึงองค์ความรู้จากกุมารแพทย์เฉพาะด้านออกมาประยุกต์ใช้ ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนี้ ได้แก่ KidDiaryและ โปรแกรมติดตามและทดสอบพัฒนาการเด็กปฐมวัยอย่างละเอียด เป็นต้น

Multi-objective Decision Making

การใช้ชีวิตของบุคคลล้วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยปกติเราจะมีทางเลือกหรือคำตอบที่มากมายหลากหลาย หากแต่ถ้าปัญหานั้นๆ มีหลายๆ มิติ หรือมีเป้าหมายหรือจุดประสงค์จำนวนมากจะทำให้ปัญหาหรือโจทย์ที่ต้องตัดสินใจมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก จุดประสงค์เหล่านี้อาจมีความขัดแย้งกันเอง ดังนั้นการพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่ใช้ในการตัดสินแบบองค์รวมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการแก้ปัญหาทางด้านต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาการจัดอาหารกลางวันในโรงเรียน ควรจะจัดอย่างไรในราคาที่ถูกที่สุด มีความหลากหลายมากที่สุดและมีคุณค่าโภชนาการที่เหมาะสม ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนี้ ได้แก่ ระบบThai School Lunch และ ระบบAutomatic Body Size Chart Creation

ผลงานเด่น / รางวัลที่ได้รับ

โปรแกรมบันทึกและคัดกรองการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก ปฐมวัย (KidDiary) ได้รับ 2 รางวัล คือThe Best of Special Prize และSpecial Prize กลุ่มสิ่งประดิษฐ์เพื่อสังคมจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) งานวันนักประดิษฐ์ 58

บุคลากร

ชื่อ - นามสกุล ความเชี่ยวชาญ
1. ดร. สุปิยา เจริญศิริวัฒน์
นักวิจัย/หัวหน้าห้องปฏิบัติการ
Intelligent Systems, Swarm Intelligence, Evolutionary Computation, Recommender Systems, Data Mining
2. ดร. นันทพร รติสุนทร
นักวิจัย
Mathematical Modeling and Optimization; Game Theory; Stochastic Processes and Applied Statistics
3. ดร. นิดา ชาติวัฒนศิริ
นักวิจัย
Systems Reliability & Quality modeling and research, Data analysis for optimization, Production and Supply chain analysis, Quantitative models
4. นายพงษ์ศักดิ์ ติยานันทิ
ผู้ช่วยนักวิจัย
Web Programming / GML / SVG / Spatial Database / Internet GIS / Remote Sensing / Web Mapping /JAVA / Web Map Service (WMS) / Web Feature Service (WFS)
5. นางสาวปารุสก์ บุญพร
ผู้ช่วยนักวิจัย
Information System and Database Design Information Management
6. นางอาภัททา ปี่ทอง
ผู้ช่วยนักวิจัย
System Analyst, Software Tester, UI/UX Designer, Graphic & Visual Designer

ติดต่อ

ห้องปฏิบัติการวิจัยติดตามสุขภาพและรูปแบบการดำเนินชีวิต (HLM)
อีเมล์ : hlm@nectec.or.th