MENU
Banner

ห้องปฏิบัติการวิจัยการประมวลผลสัญญาณชีวการแพทย์

ห้องปฏิบัติการวิจัยการประมวลผลสัญญาณชีวการแพทย์ (Biomedical Signal Processing : BSP) เป็นหนึ่งในห้องปฏิบัติการของหน่วยวิจัยอิเล็กทรอนิกส์และระบบทางชีวการแพทย์ สังกัดศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนางานทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพและการรักษา ในด้านการส่งเสริมสุขภาพเน้นการนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพ รวมถึงการติดตามและแนะนำการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพดี ในด้านการรักษาเน้นเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านงานวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์การแพทย์ของไทย โดยพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ ในการประมวลผล วิเคราะห์ และการแปลความหมายของสัญญาณต่างๆ ที่ตรวจวัดได้ทางการแพทย์ เพื่อเป็นองค์ประกอบให้แพทย์สามารถตัดสินใจในการรักษาผู้ป่วยได้ดีขึ้น โดยมุ่งหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีขึ้นและมีอุปกรณ์การแพทย์ที่ก้าวหน้า

วิสัยทัศน์

เป็นส่วนหนึ่งในการนำความมีสุขภาพดีสู่สังคมไทยด้วยเทคโนโลยีการประมวลผลสัญญาณชีวการแพทย์

พันธกิจ

  • สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ในด้านการประมวลผลสัญญาณชีวการแพทย์ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานอย่างสอดคล้องกับโปรแกรมยุทธศาสตร์ขององค์กร
  • นำองค์ความรู้ใหม่สู่การประยุกต์ใช้งานจริง
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็งกับหน่วยงานภายนอก รวมทั้งเป็นแหล่งฝึกอบรมด้านการประมวลผลสัญญาณชีวการแพทย์ให้กับนักวิจัยในประเทศเพื่อสร้างนักวิจัยที่สามารถนำเอาความรู้ไปต่อยอดได้

ความร่วมมือกับพันธมิตร

พันธมิตร
ศูนย์รักษาโรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
คลินิกรักษาโรคนอนกรน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์
บริษัท ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ จำกัด
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
บริษัท มิตรผล

เทคโนโลยีหลัก (Core Technology)

การประมวลผลสัญญาณทางชีวการแพทย์

มุ่งเน้นการหาข้อมูลที่มีประโยชน์จากสัญญาณทางชีวการแพทย์ เช่น สัญญาณคลื่นสมอง หรือสัญญาณคลื่นหัวใจ เป็นต้น โดยอาศัยเทคนิคการประมวลผลสัญญาณแบบต่างๆ มาช่วยในการวิเคราะห์ เพื่อช่วยแพทย์ในการคัดกรองโรคในเบื้องต้น

การประมวลผลภาพทางชีวการแพทย์

มุ่งเน้นการนำวิธีการประมวลผลภาพแบบต่างๆ มาประยุกต์ใช้ทางชีวการแพทย์ เช่น การคัดกรองผู้ป่วยโรคมาลาเรีย โดยการนำการประมวลผลภาพมาใช้ในการตรวจหาเม็ดโลหิตแดงข้อผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ซึ่งภาพของเซลเม็ดเลือดแดงจะถูกวิเคราะห์จากรูปร่าง สี และลักษณะอื่นๆ ที่เปลี่ยนไปจากเม็ดเลือดแดงปกติ

การประมวลผลสัญญาณทางพันธุกรรม

โดยการทำงานอย่างใกล้ชิดกับสถาบันจีโนม ศูนย์พันธุวิศวกรรม เราได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคนิควิธีการขั้นสูงเพื่อช่วยในการไขรหัส ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมที่ซับซ้อน ซึ่งสามารถมารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์เชิงสถิติในหลายสาขา เช่น การจำแนกประชากร การหายีนพันธุกรรมที่เกี่ยวกับโรค การแพทย์เชิงป้องกัน การแพทย์แบบเฉพาะบุคคล การปรับปรุงผลิตภัณฑ์อาหาร การปรับปรุงผลผลิตทางปศุสัตว์เป็นต้น

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

1. International Journals:

ปี 2551 1. Apichart Intarapanich, Padam L. Kafle, Robert J. Davies, Abu B. Sesay and John G. McRory, “Geometrically Based Broadband MIMO Channel Model With Tap-Gain Correlation”, IEEE Transaction on Vehicular Technology, Vol. 56, No. 6, November 2007.
ปี 2552 1. Padam L. Kafle, Apichart Intarapanich, Abu B. Sesay, John McRory and Robert J. Davies, “Spatial Correlation and Capacity Measurements for Wideband MIMO Channels in Indoor Office Environment”, IEEE Transactions on Wireless Communications, May 2008, Vol. 7, Issue 5, Page 1560-1571
ปี 2553 1. Wattanan Makarasara, Natsuhiko Kumasaka, Anunchai Assawamakin, Atsushi Takahashi, Apichart Intarapanich, Chumpol Ngamphiw, Supasak Kulawonganunchai, Uttapong Ruangrit, Suthat Fucharoen, Naoyuki Kamatani, Sissades Tongsima, "A Parallel Haplotype Configuration Reduction Algorithm for Haplotype Interaction Analysis", Journal of Human Genetics, Nov 20, 2009.
2. Apichart Intarapanich , Philip J Shaw , Anunchai Assawamakin , Pongsakorn Wangkumhang , Chumpol Ngamphiw , Kridsadakorn Chaichoompu , Jittima Piriyapongsa and Sissades Tongsima, "Iterative Pruning PCA Improves Resolution of Highly Structured Populations", BMC Bioinformatics ,10:382, 23 November 2009.
ปี 2554 1. JCK Wells, P. Treleavan and S. Charoensiriwath, “Body shape by 3-D photonic scanning in Thai and UK adults: comparison of national sizing surverys”, International Journal of Obesity advance online Publication, 8 March 2011, pp. 1-7.
2. JCK Wells, S. Charoensiriwath and P. Treleavan, “Reproduction, aging, and body shape by three-dimensional photonic scanning in Thai men and woman”, The American Journal of Human Biology, Vol. 32, Issue 3, May 2011, pp. 291-298.
3. Tulaya Limpiti, Apichart Intarapanich, Anunchai Assawamakin, Philip J Shaw, Pongsakorn Wangkumhang, Jittima Piriyapongsa, Chumpol Ngamphiw, and Sissades Tongsima, “Study of large and highly stratified population datasets by combining iterative pruning principal component analysis and structure”, BMC Bioinformatics. 2011; 12: 255.
ปี 2555 1. Luenam S, Chalongviriyalert P, Kosiyatrakul A, Thanawattano C., “Alteration of the end-plane angle in press-fit cylindrical stem radial head prosthesis: an in vitro study”, Hand Surg. 2012;17(1):19-24.
2. Piriyapongsa J, Ngamphiw C, Intarapanich A, Kulawonganunchai S, Assawamakin A, Bootchai C, Shaw P and Tongsima S, “iLOCi: a SNP interaction prioritization technique for detecting epistasis in genome-wide association studies”, BMC Genomics, 13(Suppl 7):S2, December 2012.
3. Saowaluck Kaewkamnerd, Chairat Uthaipibull, Apichart Intarapanich, Montri Pannarata, Sastra Chaotheing, Sissades Tongsima, “An automatic device for detection and classification of malaria parasite species in thick blood film” BMC Informatics, 13(Suppl7):S18, December 2012.
ปี 2556 1. Uttamatanin R., Yuvapoositanon P., Intarapanich A., Kaewkamnerd S., Phuksaritanon R., Assawamakin A. and Tongsima S., “MetaSel: a metaphase selection tool using a Gaussian-based classification technique, BMC Informatics” BMC Bioinformatics 2013
ปี 2557 1. Treeumnuk D. and Popescu, D.C., “Enhanced spectrum utilisation in dynamic cognitive radios with adaptive sensing”, IET Signal Processing 2014
2. Bhidayasiri R., Petchrutchatachart S., Pongthornseri R., Anan C., Dumnin S., Thanawattano C., “Low-cost, 3-dimension, office-based inertial sensors for automated tremor assessment: technical development and experimental verification”, Journal of Parkinson's Disease 2014
ปี 2558 1. Limpiti T., Amornbunchornvej C., Intarapanich A., Assawamakin A and Tongsima S., “NJclust: Iterative Neighbor-Joining Tree Clustering Framework for Inferring Population Structure”, IEEE/ACM Transactions on Computational Biology and Bioinformatics, October 2014.
2. El-Tawab S., Alhafdhi A., Treeumnuk D., Popescu D.C. and Olariu S.“Physical Layer Aspects of Information Exchange in the NOTICE Architecture”, IEEE Intelligent Transport Systems Magazine, January 2015.
3. Jitsritsadakul O., Thanawattano C., Anan C. and Bhidayasiri R., “EXPLORING THE EFFECT OF ELECTRICAL MUSCLE STIMULATION AS A NOVEL TREATMENT OF INTRACTABLE TREMOR IN PARKINSON'S DISEASE”, Journal of neurological sciences, August 2015.
4. Bhidayasiri R., Sringean J. and Thanawattano C., “Sensor-based evaluation and treatment of nocturnal hypokinesia in Parkinson's disease: An evidence-based review”, Parkinson and related disorder, September 2015.

2. Prototypes:

ปี 2557 ต้นแบบเชิงพาณิชย์ ต้นแบบชุดทดสอบการเคลื่อนไหวระหว่างการนอนของผู้ป่วยที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติสามารถ
ต้นแบบภาคสนาม ระบบตรวจสุขภาพเบื้องต้นอัตโนมัติ ซอฟต์แวร์คัดกรองผู้ป่วยพาร์กินสันและโรคที่มีลักษณะใกล้เคียง
ปี 2558 ต้นแบบเชิงพาณิชย์ ระบบตรวจวัดสุขภาพเบื้องต้นสำหรับผู้มารับบริการรุ่น 2 โปรแกรมบันทึกและวิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภคอาหารและออกกำลังกาย (FoodiEat) ต้นแบบสาธารณประโยชน์
ต้นแบบภาคสนาม อุปกรณ์วัดความสูงแบบอัตโนมัติโดยใช้ลวดความร้อน

3. สิทธิบัตร:

23 สิทธิที่ยื่นขอและอยู่ระหว่างการพิจารณาของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ตั้งแต่ปี 2551

บุคลากร

ชื่อ นามสกุล ความเชี่ยวชาญ
1. เสาวลักษณ์ แก้วกำเนิด Signal Processing
2. อภิชาติ อินทรพานิชย์ Signal Processing
3. ดุษฎี ตรีอำนรรค Signal Processing
4. ชูศักดิ์ ธนวัฒโน Signal Processing
5. เดโช สุรางค์ศรีรัฐ Signal Processing
6. วุฒิพงษ์ พรสุขจันทรา Signal Processing
7. สุรพล ตันอร่าม (ลาเรียน) Signal Processing
8. ธนกร สุนันทชัยกุล Hardware Design
9. สุพัฒน์ สัมพันธ์ยุทธ์ Hardware Design
10.ทรงพล ดำนิล Signal Processing
11. รณชัย พงศ์ธรเสรี Hardware Design
12.สาโรช เจริญกุล Software Programming
13. สมพงษ์ กิตติปิยกุล Software Programming

ติดต่อ

ห้องปฏิบัติการวิจัยการประมวลผลสัญญาณชีวการแพทย์ (BSP)
อีเมล : bsp@nectec.or.th