SMC Spotlight ส่องไฟให้ภาคอุตสาหกรรม ตอน อุตสาหกรรมไทย จะปรับตัวให้รอดอย่างไร ในวิกฤตสงคราม

Facebook
Twitter

24 มีนาคม 2565 ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) จัดกิจกรรมเสวนาออนไลน์ SMC Spotlight ส่องไฟให้ภาคอุตสาหกรรม ตอน “อุตสาหกรรมไทย จะปรับตัวให้รอดอย่างไร ในวิกฤตสงคราม” ในวิกฤตสงครามรัสเซีย ยูเครน ที่เกิดขึ้น มีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก แล้วในฐานะผู้ประกอบการ ในอุตสาหกรรมไทยจะต้องเตรียมรับมืออย่างไร? โดย ได้รับเกียรติวิทยากรผู้ทรงคุณ 2 ท่าน ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ, อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคุณเกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธานสภาอุตสาหกรรม ประธานงานส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรม, ประธานสภาธุรกิจไทย-รัสเซีย ในโอกาสนี้ ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการเนคเทค สวทช. ได้กล่าวเปิดเสวนาและขอบคุณวิทยากรทั้ง 2 ท่าน ที่มาร่วมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนมุมมองเพื่อให้ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมสามารถปรับตัวและเตรียมรับมือวิกฤตที่เกิดขึ้น

ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการเนคเทค สวทช.  กล่าวว่า ภารกิจหลักของศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) ช่วยภาคอุตสาหกรรมยกระดับการพัฒนาตัวเองสู่อุตสาหกรรม 4.0 ให้มากที่สุด เนคเทคเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล อิเล็กทรอนิกส์ และ คอมพิวเตอร์ ยินดีที่จะช่วยภาคอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการ อย่างไรตามเข้าใจว่าเทคโนโลยีไม่ใช่คำตอบทุกอย่างอีกมุมต้องการให้ความรู้ผู้ประกอบการในมุมอื่นๆ ด้วย เช่น กิจกรรม SMC Spotlight เล็งเห็นว่าสงครามส่งผลกระทบการส่งออก และการนำเข้าวัตถุดิบต่างๆ  ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต้องเริ่มปรับตัวและเตรียมรับมืออย่างไร หวังว่าทุกท่านได้ประโยชน์จากกิจกรรมในวันนี้ รอพบ SMC Spotlight มีประจำทุกเดือนในหัวข้อที่ประโยชน์กับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมต่อไป

โดยสรุป เรื่องราวของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่มองดูเหมือนจะไกลตัวเรา แต่สิ่งที่กระทบและเป็นที่น่ากังวลสำหรับประเทศไทยคือสงครามทางเศรษฐกิจ เนื่องจากประเทศไทยมีการนำเข้าสินค้าหลักจากประเทศรัสเซียและยูเครนหลากหลายอย่าง เช่น ปุ๋ย วัตถุดิบอาหารสัตว์ น้ำมัน เหล็ก และโลหะ เป็นต้น โดยในระยะสั้นอาจมีผลกระทบไม่มากนัก แต่ในระยะกลางและระยะยาวเป็นสิ่งที่เราต้องเตรียมตัวรับมือ โดยแนวทางรับมือในระยะสั้น ภาคเอกชนจำเป็นต้องเร่งหาตลาดการค้าและหาแหล่งนำเข้าวัตถุดิบใหม่ โดยมีภาครัฐที่ช่วยสนับสนุน และออกนโยบายอย่างยั่งยืนมารองรับ

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทยยังคงได้รับความท้าทายในรูปแบบต่างๆ นอกเหนือจากความท้าทายที่เกิดขึ้นจากวิกฤตสงครามในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นความท้ายทายจากสถานการณ์ covid-19 ที่ทางสภาอุตสาหกรรมได้มีแผนฟื้นฟูที่มุ่งเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมดั้งเดิม 45 กลุ่ม 11 คลัสเตอร์ และ 6 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมดิจิทัล, อุตสาหกรรมด้านสุขภาพ, อุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์, อุตสาหกรรมโลจิสติกส์, อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ และ อุตสาหกรรม Bio Economy ทั้งยังมีความท้าทายอีกหลายด้านไม่ว่าจะเป็น Digital Disruption, Climate Change, หรือแม้กระทั่งความท้าทายจาก Trade War ระหว่างประเทศมหาอำนาจอย่างอเมริกาและจีน ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมตัวรับมือกับความท้าทายในทุกๆ ด้าน

สามารถรับชมและรับฟังกิจกรรมเสวนาออนไลน์ SMC Spotlight ส่องไฟให้ภาคอุตสาหกรรม ตอน “อุตสาหกรรมไทย จะปรับตัวให้รอดอย่างไร ในวิกฤตสงคราม” ย้อนหลังได้ที่ https://youtu.be/LLPvInxGGho และสามารถติดตาม SMC Spotlight ส่องไฟให้ภาคอุตสาหกรรม รายการที่จะพูดคุยอัพเดทสถานการณ์ของอุตสาหกรรมไทยและเทคโนโลยี เสมือนเป็นไฟส่องทางให้ท่านเข้าใจ รู้ลึก รู้ทุกเรื่องกับภาคอุตสาหกรรม เสมือนกำลังอ่านคู่มือฉบับพกพาที่จะช่วยให้ความรู้ มุ่งอุตสาหกรรมสู่ 4.0 ได้ในช่องทาง https://www.facebook.com/smceeci/