Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the rank-math domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/html/smc/wp-includes/functions.php on line 6114
EECi จับมือเอกชนจีน ขับเคลื่อนศูนย์นวัตกรรม SMC มุ่งเป้ายกขีดความสามารถโรงงานไทย สู่อุตสาหกรรม 4.0 - SMC

EECi จับมือเอกชนจีน ขับเคลื่อนศูนย์นวัตกรรม SMC มุ่งเป้ายกขีดความสามารถโรงงานไทย สู่อุตสาหกรรม 4.0

Facebook
Twitter

(10 กุมภาพันธ์ 2564) ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมลงนามความร่วมมือกับ SIASUN AUTOMATION (SINGAPORE) PTE. LTD. เพื่อการสนับสนุนการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation, EECi) ด้วยการนำเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ มาร่วมขับเคลื่อนศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) อันจะส่งผลให้เกิดการยกระดับขีดความสามารถในภาคการผลิตของประเทศไทยให้เปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยมี ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และ นางสาลินี ผลประไพ ผู้อำนวยการกองเอเชียตะวันออก 1 กรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมเป็นสักขีพยาน พร้อมด้วย ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้อำนวยการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) นาย Zhao Chen ประธานกรรมการบริหาร SIASUN AUTOMATION (SINGAPORE) PTE. LTD. และ นางสาว Toh Guat Lan รองประธานกรรมการบริหาร SIASUN AUTOMATION (SINGAPORE) PTE. LTD. ร่วมลงนาม

ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้อำนวยการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) กล่าวว่า

“มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในความร่วมมือระหว่าง สวทช. และ เซียซุน ในการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรม SMC-SIASUN ขึ้นที่ EECi ซึ่ง EECi หรือ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมสำคัญของประเทศ กำกับดูแลโดย สวทช. มีพันธกิจหลักในการมุ่งสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมที่สมบูรณ์เพื่อรองรับการขยายขนาดงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริง และการปรับแปลงเทคโนโลยีขั้นสูงให้เข้ากับบริบทอุตสาหกรรมของประเทศไทย

ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) เป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมสำคัญของ EECi ในการสนับสนุน ส่งเสริม และยกระดับขีดความสามารถในอุตสาหกรรมภาคการผลิตของไทย ให้สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ได้ด้วยการประยุกต์ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ โดย สวทช. มีแผนที่จะให้ศูนย์นวัตกรรม SMC เป็นศูนย์กลางการบริการที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรมภาคการผลิตของประเทศ ซึ่งออกแบบมาเป็นพิเศษให้สอดคล้องกับบริบทของไทย อาทิ การประเมินความพร้อมของผู้ประกอบการสู่อุตสาหกรรม 4.0 การให้คำปรึกษาทางธุรกิจและทางเทคนิค การฝึกอบรมอุตสาหกรรมภาคการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อให้เกิดทักษะใหม่และมีทักษะที่สูงขึ้น อีกทั้งยังมีพื้นที่สำหรับใช้ทดสอบ/ทดลอง (Industry 4.0 test-bed) ในการทำนวัตกรรมอีกด้วย”

นาย Zhao Chen ประธานกรรมการบริหาร SIASUN AUTOMATION (SINGAPORE) กล่าวว่า

“ในฐานะบริษัทชั้นนำจากประเทศจีน เซียซุน คอร์ปอเรชั่น ได้เติบโตขึ้นจนกลายเป็นบริษัทไฮ-เทคระดับโลกที่บูรณาการนวัตกรรม วิจัยพัฒนา และการผลิตหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และสาขาที่เกี่ยวข้อง เซียซุนจะผนึกกำลังกับ สวทช. ในการพัฒนาหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ไอโอทีเพื่อภาคอุตสาหกรรม คลาวด์คอมพิวเตอร์ บิ๊กดาต้า และเทคโนโลยีล้ำสมัยอื่นๆ เพื่อเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมภาคการผลิตของประเทศไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0 อย่างยั่งยืน”

ศูนย์นวัตกรรม SMC ภายใต้ EECi ARIPOLIS ได้รับอนุมัติกรอบงบประมาณจาก ครม. 5,400 ล้านบาท โดยงบประมาณหลักในระยะแรกจะเป็นการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมสำคัญ เพื่อรองรับอุตสาหกรรม 4.0 นอกจากนี้ ศูนย์นวัตกรรม SMC ยังได้ร่วมกับผู้ประกอบการไทย EECi หน่วยงานพันธมิตรจากภาครัฐและเอกชนพัฒนาโครงการนำร่องที่เรียกว่า IDA Platform (Industrial IoT and Data Analytics Platform) โดยเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากจากอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) ตรวจจับสัญญาณต่าง ๆ จากเครื่องจักรในกระบวนการผลิต สู่การวิเคราะห์และบูรณาการข้อมูล ทำให้ทราบสถานภาพของเครื่องจักร นำไปสู่การบริหารจัดการการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพและอนุรักษ์พลังงาน ปัจจุบัน มีโรงงานนำร่องเข้าร่วมโครงการในปี 2563 จำนวน 15 โรงงาน และจะขยายไปอีก 500 โรงงานภายในเวลา 3 ปี