ลับอาวุธ ฝึกความเข้มข้น ! ให้เยาวชนคนอาชีวะในเวทีแข่งขัน IoT Hackathon 2021 Gen R

Facebook
Twitter
iiot-hackaton-results กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จัดกิจกรรมแข่งขัน IoT Hackathon 2021 Gen R ณ ระยองรีสอร์ท จ.ระยอง เมื่อวันที่ 2 – 4 เมษายน 2564 โดยการสนับสนุนจาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ บริษัททีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด มุ่งต่อยอดเพิ่มทักษะด้าน IIoT ให้นักศึกษาอาชีวะในโครงการพัฒนาทักษะด้าน Industrial Internet of Things (IIoT) ตอบโจทย์รูปแบบการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายเป็นรูปธรรม 

 

IoT Hackathon 2021 Gen R เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนาทักษะด้าน IIoT เพื่อวัดผลการอบรมพื้นฐาน Internet of Things & IoT Training Kits นำมาสู่การแข่งขันฯ ที่เน้นการประยุกต์ใช้ความรู้จากการอบรมฯ ไปฝึกปฏิบัติจริง ทั้งการสร้างระบบ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การแก้ไขสถานการณ์ และการวางแผนการทำงานด้าน IoT เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เรียนสามารถ ทำได้ ทำเป็น ก่อนส่งผู้เรียนไปสู่การฝึกงานโดยมีนักเรียนอาชีวะในเขตพื้นที่ EEC ที่เข้าร่วมโครงการ จาก 16 สถาบัน จำนวน 70 คน แบ่งเป็น 21 ทีม ร่วมแข่งขัน

โดยผู้เข้าแข่งขันทั้ง 21 ทีม ต้องเลือกหนึ่งโจทย์การแข่งขัน ได้แก่ อุตสาหกรรม เกษตร ชุมชน สถานศึกษา และที่อยู่อาศัย และใช้ I-Box เป็นอุปกรณ์กลางสำหรับการแข่งขัน และใช้ I-Kit อุปกรณ์ในการอบรมฯ ร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ ตามหัวข้อผลงานที่นำเสนอ โดยมีเกณฑ์การตัดสิน คือ

  • การวัดระดับความซับซ้อนของแนวคิดการออกแบบ
  • การเลือกใช้เครื่องมือ
  • การนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงโดยการทดสอบใช้งาน
iiot-hackaton-results

 

การตัดสินกิจกรรมการแข่งขันฯ ในวันที่ 4 เมษายน 2564 ได้รับเกียรติจาก ดร. อภิชาติ ทองอยู่ ประธานคณะประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากร EEC-HDC กล่าวให้กำลังใจทุกทีมที่ร่วมการแข่งขัน พร้อมด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา ให้เกียรติร่วมตัดสินประกอบด้วย ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อานวยการ เนคเทค สวทช. คุณวีรศักดิ์ สุตัณฑวิบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษาโครงการ IIoT ดร.ไพบูลย์ ลิ้มปิติพานิชย์ ผู้อำนวยการศูนย์ EEC Automation Park มหาวิทยาลัยบูรพา ดร.กุลชาติ มีทรัพย์หลาก หัวหน้าทีมระบบไซเบอร์กายภาพ เนคเทค สวทช. และนายเสมา พูลเวช Senior Facilitator บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด

Iot Hackathon 2021 GenR

 

ดร. อภิชาติ ทองอยู่ ประธานคณะประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากร EEC-HDC
iiot-hackaton-results

การแข่งขันเข้มข้นถึง 36 ชั่วโมง เฟ้นหาทีมเยาวชนคนอาชีวะที่สามารถนำความรู้จากการอบรมฯไปต่อยอดการพัฒนาผลงานอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน ชิงเงินรางวัลมูลค่าทั้งสิ้น 70,000 บาท โดยมีผลการแข่งขัน ดังนี้

iiot-hackaton-results

 

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม PTC โบ๊ะบ๊ะ จากวิทยาลัยเทคนิคพัทยา จังหวัดชลบุรี
ผลงาน Smart Warehouse ระบบจัดการคลังสินค้า
ได้รับรางวัล มูลค่า 30,000 บาท
Smart Warehouse ระบบจัดการคลังสินค้า ใช้ Flame Sensor ตรวจจับการเกิดอัคคีภัย เมื่อมีเหตุเพลิงไหม้ ระบบจะสั่งให้ Sprinkler ทำงานโดยอัตโนมัติ และใช้ Air Quality Sensor ตรวจจับค่าปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ให้สูงเกินค่ามาตรฐานจนเกิดความเสี่ยงต่อบุคลากรและคลังสินค้า หากตรวจพบค่าของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง ระบบฯจะทำการเปิดพัดลมดูดอากาศเพื่อระบายก๊าซฯ พร้อมแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินผ่าน Blynk และ Line ให้บุคลากรรับทราบ ช่วยให้เพิ่มความสะดวกสบายในการจัดเก็บสินค้าและการดูแล และช่วยเก็บข้อมูลที่สำคัญ เช่น ข้อมูลการใช้งาน ข้อมูลการจัดเก็บ และข้อมูลประเภทสินค้า ทั้งยังมีระบบรักษาความปลอดภัยจากเหตุเพลิงไหม้และค่าคาร์บอนไดออกไซด์ช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อบุคลากรและทรัพย์สินเพื่อป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นในคลังสินค้าได้ตลอดเวลา
iiot-hackaton-results

 

รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Bk.tech#1 จากวิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย จังหวัดระยอง
ผลงาน Safety and Protect ระบบระวังภัยท่อ
ได้รับรางวัล มูลค่า 20,000 บาท
ระบบระวังภัยท่อจะรับค่าอินพุตผ่านเซนเซอร์ต่างๆ โดยตรวจสอบในรูปแบบของ Loop เมื่อค่าอินพุตตรงตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้ ESP32 จะทำการแจ้งเตือน ไปยัง Line และแสดงค่าผ่าน Blynk ตลอดเวลา ด้วยการสร้างและออกแบบระบบป้องกันที่ทันสมัยมากขึ้น จึงจะช่วยลดความเสียหายจากความผิดพลาด ของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม
iiot-hackaton-results

 

รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ได้แก่ ทีม Above me จากวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ผลงาน Alert Box ระบบตรวจสอบคลังสินค้า
ได้รับรางวัล มูลค่า 10,000 บาท
Alert box ช่วยนับจำนวนชิ้นงานที่ทำการผลิตเสร็จสมบูรณ์ก่อนเข้าสโตร์ พร้อมระบบความปลอดภัยที่ติดตั้งไว้ ณ เครื่องผลิตชิ้นงาน หากมีชิ้นงานที่ไม่สมบูรณ์ ระบบฯ จะหยุดการทำงานของเครื่องโดยอัตโนมัติ ผู้ดูแลสามารถเข้าไปนำงานชิ้นนั้นแยกออกได้ Alert box มีความแม่นยำในการนับจำนวนงานที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว ทำให้พนักงานมีความปลอดภัยมากขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยสามารถประยุกต์ใช้กับงานแบบอื่น ๆ ได้อีก ไม่ว่าจะเป็น รางขนส่งพัสดุทั่วไป รางขนส่งอาหาร เป็นต้น ในอนาคต ทีมฯ จะทำ Alert box เป็นแบบชุดเพื่อจำหน่าย ให้กับบริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการ รวมถึงพัฒนาความสามารถของ Alert box ทั้งเรื่องความปลอดภัย ปริมาณการตรวจจับและปริมาณการควบคุมอีกด้วย
รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล ได้แก่
iiot-hackaton-results

 

ทีมมะพร้าวอ่อน จากวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
ผลงาน SMART HOSPITAL ระบบมอนิเตอร์ Clean Room
ได้รับรางวัล มูลค่า 5,000 บาท
SMART HOSPITAL ระบบมอนิเตอร์ Clean Room จำลองระบบที่เกี่ยวกับการแพทย์เพื่อให้เห็นตัวอย่าง และการทำงานของ Smart Hospital อำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และโรงพยาบาล โดยระบุเวลาอย่างชัดเจนว่าเยี่ยมคนป่วยได้ถึงกี่โมง เมื่อเกินเวลาเยี่ยมพยาบาลจะรู้ได้ทันทีผ่านการแจ้งเตือนบนมือถือ เพื่อให้ทราบว่ามีบุคลากรทางการแพทย์เข้าไปพบกับผู้ป่วย และห้ามญาติไม่ให้เข้าไปในห้องผู้ป่วย โดยสามารถนำมาใช้กับสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน สำหรับการจำหน่ายจะให้บริการพร้อมแพลตฟอร์มฟรี โดยมีค่าบริการฐานข้อมูลและค่าเซอร์วิส 1 ครั้ง/ปี สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับภาคส่วนอื่นได้ เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร และสถานบันเทิง
iiot-hackaton-results

 

ทีม CHONTECH จากวิทยาลัยเทคนิคชลบุรี
ผลงาน Clean Room ในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ได้รับรางวัล มูลค่า 5,000 บาท
ระบบรักษาสภาพแวดล้อมใน Clean Room ของโรงงานชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แก้ไขปัญหาการควบคุมความชื้น (Solve problems of moisture control) แก้ไขปัญหาการควบคุมแรงดันอากาศในระบบของห้องที่ต้องการควบคุม (Air Flow) สามารถต่อยอดไปในทางด้านอุตสาหกรรมทางการแพทย์ อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมอาหาร ฯลฯ