[Final Report] การสำรวจและวิเคราะห์ตลาดของ EV Charger ในประเทศไทย

Facebook
Twitter

ประเทศไทยมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้เป็นศูนย์กลางการผลิตและใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในเขตภูมิภาค ซึ่งอุปกรณ์ประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า จึงมีนโยบายส่งเสริมให้เกิดสถานีประจุไฟฟ้าในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐ และเกิดจากการลงทุนสถานีประจุไฟฟ้าโดยเอกชนผู้มองเห็นโอกาสในการดำเนินธุรกิจการให้บริการสถานีประจุไฟฟ้าแก่ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค สวทช.) โดยศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน Sustainable Manufacturing Center (SMC) จึงได้มีโครงการวิจัยสำรวจและวิเคราะห์ตลาดของ EV Charger ในประเทศไทยโดยวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยคือ

  • เพื่อศึกษาสถานะตลาด อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของอุปกรณ์ประจุไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ (Charging Station, Wallbox charger, Onboard charger, Normal charger) สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าแต่ละประเภท ที่มีในประเทศไทย
  • เพื่อศึกษาพฤติกรรม ความสนใจของผู้ใช้งาน ผู้ประกอบการและหน่วยงานในภาคธุรกิจบริการต่าง ๆ ในประเทศไทย สำหรับการให้บริการอุปกรณ์ประจุไฟฟ้าแก่ลูกค้า เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านนวด/สปา ภัตตาคาร/ร้านอาหาร เป็นต้น รวมทั้งความต้องการและปัญหาต่าง ๆ ในการใช้งาน
  • เพื่อจัดทำกรณีศึกษา (Case Study) ความต้องการของผู้ประกอบการและหน่วยงานในภาคธุรกิจบริการต่าง ๆ ในการนำเทคโนโลยีอุปกรณ์ประจุไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ มาใช้อย่างน้อย 5 กรณีศึกษา เพื่อระบุ Customer needs & pain-points ของตลาดและอุตสาหกรรมในปัจจุบัน
  • เพื่อวิเคราะห์โอกาสด้านเทคโนโลยีและความต้องการของตลาด ของอุปกรณ์ประจุไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ รวมถึงปัจจัยสนับสนุนและปัญหาอุปสรรค์ของทำตลาดอุปกรณ์ประจุไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ
  • เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริษัทและแนวทางการดำเนินธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ประจุไฟฟ้าทั้งผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้ให้บริการ เช่น การจำหน่ายตู้ประจุไฟฟ้า การคิดค่าบริการจากการจำหน่ายไฟ

ดาวน์โหลดเอกสารเผยแพร่