อยุธยากล๊าส อินดัสทรี เครือ BGC เดินหน้าต่อยอด IDA Platform เพื่อวิเคราะห์ภาพรวมพลังงาน

Facebook
Twitter
📌อยุธยากล๊าส อินดัสทรี เครือ BGC เดินหน้าต่อยอด IDA Platform เพื่อวิเคราะห์ภาพรวมพลังงาน
4 ตุลาคม 2565 คณะผู้บริหาร นักวิจัย และ บุคลากร เนคเทค สวทช. นำโดย ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการเนคเทค สวทช. ดร.รวีภัทร์ ผุดผ่อง ผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมืออุตสาหกรรมสมัยใหม่ สวทช. และ ดร.กุลชาติ มีทรัพย์หลาก หัวหน้าทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ เดินทางเยี่ยมชมผลการดำเนินงานโครงการ IDA Platform ณ บริษัท อยุธยากล๊าส อินดัสทรี จำกัด บริษัทในเครือ บริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตแก้วรายใหญ่ และบรรจุภัณฑ์ครบวงจร จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมี คุณจักษ์รินทร์ มุสิกะสังข์ ผู้อำนวยการอาวุโส – ห่วงโซ่อุปทานบรรจุภัณฑ์แก้ว คุณไพรัชฏ์ ไตรเวทย์ ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมกลาง และ ส่วนวิศวกรรม BGC อยุธยากล๊าส พร้อมด้วยผู้จัดการ และบุคลากรบริษัทฯ ให้การต้อนรับนำชมพื้นที่ติดตั้ง IDA Platform และร่วมอภิปราย แลกเปลี่ยนมุมมองจากการใช้งาน เพื่อพัฒนาสู่ระยะต่อไป
บริษัท อยุธยากล๊าส อินดัสทรี จำกัด ได้ติดตั้งระบบ IDA Platform เพื่อติดตามการใช้พลังงานไฟฟ้าบริเวณ เครื่องอัดอากาศ (Air Compressor) จำนวน 9 เครื่อง หลังจากเริ่มใช้งาน พบว่า ใช้งานง่าย ใช้งานสะดวก และ ประเด็นสำคัญ คือ ทำให้บริษัทฯ ทราบถึงการใช้พลังงานไฟฟ้า และติดตามสถานะเครื่องจักร ผ่าน Dashboard ได้อย่าง real-time
ในอนาคต บริษัทฯ คาดหวังว่าจะขยายผล IDA Platform สู่การติดตามการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องจักรอื่นๆ การใช้ไฟฟ้าในภาพรวมทั้งโรงงาน และการติดตามการใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นพลังงานหลักของโรงงาน เพื่อการบริหารจัดการค่าพลังงานของทั้งโรงงานและลดต้นทุนการผลิตได้ และคาดหวังว่าข้อมูลจาก IDA Platform จะนำมาช่วยส่งเสริมการวิเคราะห์ข้อมูลด้านพลังงาน เชื่อมโยงค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ เพื่อนำมาสู่การพัฒนา แก้ปัญหาการจัดการในโรงงานได้ต่อไป
ดร.พนิตา ได้ยกตัวอย่างการใช้งาน IDA Platform ในโรงงานนำร่องอื่นๆ ว่านอกจากช่วยติดตามการใช้พลังงานไฟฟ้าแล้ว หากโรงงานมีการติดตั้ง sensor เพิ่มเติมบริเวณเครื่องจักร จะช่วยชี้จุดที่เกิดการขัดข้องของเครื่องจักร และเข้าแก้ไขได้ทันท่วงทีอีกด้วย ทั้งนี้ เรื่องการดูแลรักษา IDA Platform และการขยายผลนั้น ทางเนคเทค สวทช. มีความยินดีให้คำปรึกษาด้านเทคนิคเพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้งานอย่างต่อเนื่องและเกิดประโยชน์สูงสุด
นอกจากนี้ คุณศรัณย์ ศรีพิพัฒน์ ที่ปรึกษาโครงการฯ และทีมวิจัยฯ ได้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการอ่านค่าพารามิเตอร์ การประยุกต์ใช้ค่าพารามิเตอร์ และแนะนำการสร้างรายงานอัตโนมัติจาก Dashboard เพื่อการประยุกต์ใช้งานในด้านพลังงาน
ในช่วงท้าย ดร.พนิตา และดร.รวีภัทร์ ได้แนะนำบริการและสิทธิประโยชน์ของการเป็นสมาชิกศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) ที่สามารถตอบโจทย์โรงงานที่ต้องเพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่การประเมินสถานะอุตสากรรม การพัฒนาบุคลากร ที่ปรึกษาด้านการใช้เทคโนโลยี แหล่งทุน และสิทธิประโยชน์ด้านภาษี พื้นที่ทดสอบการใช้งานเทคโนโลยี (Testbed) ไปจนถึงการพัฒนาเทคโนโลยีที่เฉพาะเจาะจงกับแต่ละโจทย์ของอุตสาหกรรม
ติดตามรายละเอียดสมัครสมาชิก SMC > https://www.nectec.or.th/smc/services-membership/