1.
การสร้างโฟล์เดอร์ของผลงาน
จะต้องสร้างโฟลเดอร์หลักของผลงานทั้งหมด
และสร้างโฟลเดอร์ย่อยของเนื้อหาแต่ละบท
โดยชื่อโฟลเดอร์จะต้องเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก (a - z)
เท่านั้นไฟล์ประกอบการสร้างผลงานของเนื้อหาแต่ละบท (ได้แก่ ไฟล์รูปภาพ, ไฟล์เสียง,
ไฟล์วีดิทัศน์) จะต้องจัดเก็บทุกไฟล์
ไว้ในโฟลเดอร์ย่อยที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาแต่ละบทนั้น
ตัวอย่าง การสร้างโฟลเดอร์ ควรสร้างโฟลเดอร์ย่อยของเนื้อหาแต่ละบท
2.
การตั้งชื่อไฟล์
·
ไฟล์ของหน้าแรกของเนื้อหาที่นำเสนอผลงาน
จะต้องตั้งชื่อไฟล์ และนามสกุลเป็น index.html เท่านั้น
·
ไฟล์อื่นที่เหลือของผลงานและโฟลเดอร์
สามารถตั้งชื่อที่ประกอบด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก (a-z) และตัวเลข
(0-9) ผสมกันได้ (ห้ามมีช่องว่าง)
โดยตัวอักษรตัวแรกของชื่อไฟล์และโฟลเดอร์จะต้องเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กเท่านั้น
·
ชื่อไฟล์ไม่ควรยาวจนเกินไป
(ไม่ควรเกิน 8 ตัวอักษร ไม่รวมนามสกุลไฟล์)
·
ไฟล์ของเอกสาร
HTML จะต้องมีนามสกุลของไฟล์เป็น
html หรือ htm ทั้งหมด
ตัวอย่าง
การกำหนดชื่อไฟล์ และนามสกุลของไฟล์เอกสารเว็บ
3.
ชื่อของเอกสารเว็บ
เอกสารเว็บทุกไฟล์
ควรมีการกำหนดชื่อเอกสาร ไว้ในส่วนของแท็ก <TITLE>
.</TITLE> โดยชื่อที่กำหนดขึ้นมานี้
จะเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษก็ได้
แต่ควรมีความหมายอธิบายถึงภาพรวมของเว็บเพจนั้นๆ ให้ได้มากที่สุด
เนื่องจากข้อความส่วนนี้ จะเป็นข้อความที่จะถูกนำมาใช้เป็นคำสำคัญ (Keyword)
ในการสืบค้นข้อมูลจาก Search Engine ด้วย เช่น
ชื่อเอกสารเว็บของคอมพิวเตอร์สร้างสรรค์ สามารถกำหนดชื่อของเอกสารเว็บได้ดังนี้
<TITLE>คอมพิวเตอร์สร้างสรรค์</TITLE>
4.
คีย์เวิร์ดของเว็บเพจ
เว็บไซต์ที่นำเสนอในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ย่อมต้องการให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะเว็บไซต์ท่า (Search Engine Website) ชั้นนำ เช่น Yahoo, Google, SiamGuru วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เว็บไซต์ท่ารู้จักเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นมา
คือการกำหนดคีย์เวิร์ดให้กับเว็บเพจนั้นๆ โดยใช้แท็ก
<META
NAME = Keyword CONTENT = คีย์เวิร์ด 1, คีย์เวิร์ด
2,
>
คีย์เวิร์ดที่กำหนดขึ้นมานี้
สามารถกำหนดได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ สามารถกำหนดคีย์เวิร์ดได้มากกว่า 1 ตัว
โดยเขียนคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เช่น
<META
NAME = Keyword CONTENT = โครงงานขนาดเล็ก, โฮมเพจ, HTML>
5.
การควบคุมการเข้ารหัสภาษาไทย
ปัจจุบันบราวเซอร์แต่ละตัว
จะตรวจสอบการแสดงผลภาษาด้วยค่าการเข้ารหัสภาษา (Character Set) และหากเอกสารใด กำหนดค่าผิดพลาด
หรือไม่กำหนด อาจจะทำให้โปรแกรมบราวเซอร์แปลความหมายผิดพลาด
และแสดงผลภาษาผ่านบราวเซอร์ไม่ถูกต้อง
ดังนั้นเพื่อให้การแสดงผลภาษาไทยผ่านบราวเซอร์ต่างๆ แสดงผลได้อย่างถูกต้อง
ควรกำหนดค่าการเข้ารหัสภาษาไทยสำหรับเอกสารเว็บด้วยแท็ก
<META
HTTP-EQUIV="Content-Type" CONTENT="text/html;
charset=TIS-620"> หรือ
<META
HTTP-EQUIV="Content-Type" CONTENT="text/html;
charset=Window-874">
6.
การกำหนดฟอนต์
· เอกสารเว็บที่เป็นภาษาไทย หรือภาษาไทยผสมภาษาอังกฤษ นอกจากจะต้องกำหนดแท็กควบคุมการเข้ารหัสตามข้อ 5 แล้วควรกำหนดแบบอักษร (Font) ให้กับข้อความในเอกสารเว็บด้วย โดยการใช้แท็ก
<FONT FACE = ชื่อฟอนต์ที่1, ชื่อฟอนต์ที่ 2, >
· ควรกำหนดฟอนต์ที่สามารถแสดงผลได้ทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบ Macintosh และ PC พร้อมทั้งระบุขนาดที่เหมาะสมด้วย โดย
รูปแบบการกำหนดชื่อฟอนต์ที่เหมาะสมสำหรับข้อมูลที่เป็นภาษาไทย ได้แก่
<FONT FACE = MS Sans Serif,
Microsoft Sans Serif, Thonburi">
</FONT>
รูปแบบการกำหนดชื่อฟอนต์ที่เหมาะสมสำหรับข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษ ได้แก่
<FONT FACE = Arial,
Helvetica, Times>
</FONT>
·
การใช้แท็ก
<FONT FACE =
> นั้น ให้ระบุไว้ที่ตอนต้นของเอกสารครั้งเดียว
ไม่ต้องเขียนหลายรอบเพราะจะเป็นการเพิ่มขนาดของไฟล์เอกสาร HTML โดยไม่จำเป็น ยกเว้นเมื่อมีการใช้แท็ก <TABLE> จะต้องมีการระบุ <FONT FACE =
> ไว้ ในทุกๆ
แท็ก <TD> และในกรณีที่มีการเปลี่ยนขนาดของฟอนต์ไม่ต้องกำหนด
<FONT FACE =
> ให้ใช้แท็ก <FONT SIZE =
> ได้เลย
·
ขนาดของฟอนต์ที่เหมาะสม
ควรจะอยู่ในช่วง 1
3 เช่น หัวเรื่องใช้ขนาดเท่ากับ 3
ส่วนเนื้อหาใช้ขนาดอักษรเท่ากับ 1 หรือ 2 เป็นต้น โดยมีรูปแบบแท็ก <FONT SIZE=1>
</FONT> เป็นต้น
·
ควรเลือกใช้สีตัวอักษรที่อ่านได้ชัดเจน
ไม่กลืนไปกับสีพื้น
7.
การจัดการเกี่ยวกับภาพ
·
ภาพควรมีความสัมพันธ์กับเนื้อหา
โดยคำนึงถึงสาระสำคัญของเนื้อหาเป็นหลัก
·
ควรมีจำนวนภาพพอเหมาะไม่มากเกินไป
เพื่อความรวดเร็วในการเคลื่อนย้ายข้อมูล (transfer) ความสวยงามของเอกสารเว็บ
·
เพื่อให้สามารถใช้ได้กับจอภาพของผู้เข้าชมโฮมเพจซึ่งอาจมีขนาดจอภาพต่างๆ
กัน ควรใช้ภาพประกอบขนาดเล็ก (thumbnail)
และสามารถคลิกที่ภาพเล็กเพื่อแสดงภาพที่ใหญ่ขึ้นได้
·
ไฟล์ภาพที่สามารถเลือกใช้ได้
ประกอบด้วยฟอร์แมต .jpg
.gif หรือ .png ทั้งนี้ ให้เลือกใช้ฟอร์แมตของภาพที่เหมาะสม
เช่น ภาพสี หรือภาพที่ต้องการแสดงถึงความคมชัดของเนื้อหา ควรใช้ฟอร์แมต .JPG
ในขณะที่ภาพขาวดำ หรือภาพที่ไม่เน้น รายละเอียดเกี่ยวกับสี
ควรใช้ฟอร์แมต .GIF เป็นต้น
·
ภาพที่มีขนาดโต
แต่ไม่มากนัก ควรกำหนดรูปแบบการแสดงผลเป็น Interlaced หรือ Progressive ตามฟอร์แมตของภาพที่เลือกใช้งานด้วย
·
ภาพที่มีขนาดโตมาก
ควรแบ่งซอยเป็นภาพเล็กๆ แล้วใช้เทคนิคการประกบภาพด้วยตาราง
· ไม่ควรใช้ภาพโตเกินไปหลายๆ ภาพในหน้าเอกสารเว็บแต่ละหน้า
· ควรกำหนดแอทริบิวท์ WIDTH และ HEIGHT ให้กับภาพ (หรือในแท็ก <img >)ด้วย เพื่อระบุความกว้างและความยาวของรูปภาพให้ เว็บบราวเซอร์รู้ซึ่งมีผลให้การปรากฏภาพบนจอเร็วขึ้น
· ควรกำหนดแอทริบิวท์ ALT ให้กับภาพ (หรือในแท็ก <img >) เพื่อแสดงข้อความอธิบายสำหรับเว็บบราวเซอร์ที่ไม่สามารถแสดงข้อมูลที่เป็นรูปภาพได้ โดยข้อความควรมีความหมายเหมาะสมกับภาพสามารถอ่านแล้วเข้าใจหรือเห็นภาพ (รวมถึงการใช้ภาพเป็น Image Map)
ตัวอย่าง ของ Image tag
<IMG
alt=combine hierarchy chart src=pic3_combine.gif width=56 height=20
border=0>
8.
การจัดการเกี่ยวกับวีดีทัศน์ และเสียง
ฟอร์แมตของวีดิทัศน์และเสียงจะต้องใช้เทคโนโลยี
Streaming เช่น Flash หรือ Window Media Player
9.
การใช้ Frame
เมื่อมีการนำเฟรมมาใช้ในการสร้างเว็บเพจ
จะต้องกำหนดชื่อเฟรมเป็นภาษาอังกฤษที่สื่อความหมายได้
ชัดเจน
10. โปรแกรมประยุกต์
ผลงานสามารถนำ web programing มาพัฒนาด้วยได้
ซึ่งอนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะ script programing
(เช่น Flash
Action Script, VBScript, Java Script) และ Java Applet เท่านั้น
11. การใช้เครื่องหมายวรรคตอน
(หมายเหตุ
xxx และ
yyy แทนข้อความใดๆ)
· นขลิขิตหรือวงเล็บ (เครื่องหมายวงเล็บ (
))
ควรเว้นวรรค 1
ครั้งก่อนเปิดวงเล็บ และเว้นวรรค 1 ครั้งหลังปิดวงเล็บ
ข้อความภายในวงเล็บควร
ติดกับเครื่องหมายวงเล็บเปิด
และเครื่องหมายวงเล็บปิด ตัวอย่างเช่น xxx (yyy) xxx
· อัญประกาศหรือเครื่องหมายคำพูด
(เครื่องหมาย ก)
ควรเว้นวรรค 1 ครั้ง
ก่อนเปิดเครื่องหมายคำพูดและเว้นวรรค 1 ครั้ง
หลังปิดเครื่องหมายคำพูด
ข้อความภายในเครื่องหมายคำพูด
ควรติดกับเครื่องหมายคำพูดเปิด และเครื่องหมายคำพูดปิด
ตัวอย่างเช่น xxx yyy xxx
·
ไม้ยมก
(เครื่องหมาย ๆ)
ควรอยู่ติดกับข้อความ
หลังเครื่องหมายไม้ยมก เว้นวรรค 1 ครั้ง ตัวอย่างเช่น xxxๆ yyy
·
ไปยาลน้อย
(เครื่องหมาย ฯ), จุลภาคหรือจุดลูกน้ำ(เครื่องหมาย , ) จุดคู่ (เครื่องหมาย
:) และอัฒภาคหรือจุดครึ่ง (เครื่องหมาย
;)
ควรอยู่ติดกับข้อความ หลังเครื่องหมายควรเว้นวรรค 1 ครั้ง
ตัวอย่างเช่น xxxฯ yyy xxx; yyy
ควรอยู่ติดกับข้อความ หลังเครื่องหมายจุดควรเว้นวรรค ตัวอย่างเช่น xxx. yyy