โครงงานวิทยาศาสตร์

เรื่อง

ปูก้ามดาบ


โดย

1.นางสาวสุกัญญา  เพชรเพ็ง
2.นายสัจจพันธ์     สัจจารักษ์
3.นายกฤษณะ      พิกุลทอง


อาจารยี่ปรึกษา
อาจารย์อิ่มใจ จิดาพล


รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์
โรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน




                              บทคัดย่อ
         ความหลากหลายทางชีวภาพของป่าชายเลน เป็นสิ่งที่น่าสนใจ โดยเฉพาะความสวนงามของปูก้ามดาบ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ศึกษาพฤติกรรม ชนิด และการปรับตัวของปูก้ามดาบ ในบริเวณตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา จากการศึกษาพบว่า มีปูก้ามดาบ 3 ชนิด คือ Uca heaperias , Uca focipata และ Uca anulipes
ซึ่งทั้งสามชนิดจะสังเกตความแตกต่างที่ก้าม ระยะหว่างช่องตา และสภาพแวดล้อม และลักษณะเด่นของปูก้ามดาบ
ที่สังเกตได้ง่ายคือ ตัวผู้มีก้ามข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้างหนึ่ง มีสีสรรค์สวยงาม และปูก้ามดาบมีความสามารถปรับตัว
ได้ดี


                               บทที่ 3
                                    วิธีการดำเนิน
1.อุปกรณ์และสารเคมี
     1.ไม้หลัก (ไม้ไผ่) 12.แท่งแก้วคน
     2.เชือกฟฟาง 13.กระบอกฉีดยา
     3.ไม้บรรทัด 14.ช้อนตวง
     4.มีด 15.หลอดหยด
     5.ตลับเมตร 16.กระดาษกรอง
     6.เทอร์มอร์มิเตอร์ 17.ขวดเก็บตัวอย่างดิน
     7.pH Test Kit for Soil 18. ขวดเก็บตัวอย่างน้ำ
     8.pH Meter 19.หลอดทดลอง
     9.Vernier Cliper 20.คอปเปอร์ (II) ซัลเฟต
     10.Luk Meter 21.ซิลเวอร์ไนเตรด
     11.บีกเกอร์ 22.กรดไฮโดรคลอริก
     12.แท่งแก้วคน

2.วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

การรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่1 สำรวจสภาพพื้นที่
ขั้นตอนที่2 สำรวจชนิดของปูก้ามดาบ
ขั้นตอนที่3 สังเกตพฤติกรรมของปูก้ามดาบในธรรมชาติ
ขั้นตอนที่4 นำปูก้ามดาบมาเลี้ยงและสังเกตพฤติกรรม

ขั้นตอนที่1 สำรวจสภาพพื้นที่
              การสำรวจพื้นที่บริเวณที่มีปูก้ามดาบชุกชุม เมื่อได้พื้นที่ตามต้องการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีเนื้อที่ 25 ตารางเมตรตามกฎการสุ่มจำนวนประชากร และในแต่ละกลุ่มจะแบ่งเป็น 5 จุด แต่ละจุดจะมีพื้นที่1ตารางเมตร

กลุ่มที่1
กลุ่มที่2
กลุ่มที่5
กลุ่มที่3
กลุ่มที่4

                                    ภาพแสดงการกำหนดพื้นที่ในการศึกษา

ในแต่ละพื้นที่ย่อยๆจะมีการศึกษาสภาพแวดล้อมดังนี้
1.การศึกษาทางกายภาพ คือ การศึกษาลักษณะที่อยู่อาศัยของปู ลักษณะและปริมาณ แสง อุณหภูมิน้ำ อุณหภูมิดิน อุณหภูมิอากาศ
    1.1) ลักษณและปริมาณแสงวัดโดยเครื่องวัดปริมาณแสง (Luk Meter) โดยถือในระดับสายตาประมาณ 1.5  เมตรในการวัดจะจัดทั้ง 5 จุด     ของทุกกลุ่มและหาค่าเฉลี่ย
    1.2) อุณหภูมิน้ำ วัดโดยเทอรมอมิเตอร์โดยจุ่มลงในแหล่งน้ำวัดทั้ง 5 จุด ของแต่ละกลุ่มแล้วหาค่าเฉลี่ย
    1.3) อุณหภูมิดิน วัดโดยเทอรมอมิเตอร์โดยจุ่มลงในดินวัดทั้ง 5 จุด ของพื้นที่แต่ละกลุ่มแล้วหาค่าเฉลี่ย
    1.4) อุณหภูมิอากาศ วัดโดยเทอรมอมิเตอร์ ถือระดับสายตา วัดทั้ง 5 จุด ของแต่ละกลุ่ม
     แล้วหาค่าเฉลี่ย
2.การทดสอบทางเคมี
      2.1) การทดสอบค่า pHดินและน้ำทำโดยนำตัวอย่างดินและน้ำมาหาค่าในห้องปฏิบัติการแล้วหาค่าเฉลี่ย
      2.2) การศึกษาชนิดของดินโดยการสังเกตลักษณะเม็ดดินจากผิวดินและลึกลงไปจากดิน 20 cm
      2.3) การทดสอบซัลไฟด์
                2.3.1) เก็บตัวอย่างดินจากป่าชายเลนทั้ง 2 บริเวณ โดยเก็บจากผิวดินและลึกลงไปจากดิน 20 cm
                2.3.2) นำดินแต่ละบริเวณใส่หลอดทดลองขนาดใหญ่ ปริมาณ 2 ช้อน ช้อนเบอร์2
                2.3.3) หลดสารละลายไฮโดรคลอริก (HCL) เข้มข้น 6 โมล / ลิตร จำนวน 10 หยด
                2.3.4) นำสารทดสอบซัลไฟด์ (ได้จากการนำกระดาษกรองมาตัดให้ได้ ขนาด 3ด2 cm2 จุ่มลงในสารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต แล้วผึ่งให้แห้ง) มาปิดบนหลอดทดลองที่ได้หยดสารละลายกรดไฮโดรคลอริกไว้แล้ว จากนั้นจึงนำกระดาษกาวมาติดไว้ที่ปากหลอด
               2.3.5) วางทิ้งไว้ 15 นาที แล้วจึงนำมาเปรียบเทียบสีของบริเวณต่างๆ
                              กำหนดให้ KKK แทนปริมาณซัลไฟด์มาก
                                                KK แทนปริมาณซัลไฟด์ปานกลาง
                                                  K แทนปริมาณซัลไฟด์น้อย
3.การศึกษาทางชีวภาพ
      3.1) การนับจำนวนปูก้ามดาบ โดยการสุ่มนับจำนวนปูก้ามดาบในแต่ละจุดของทุกกลุ่มแล้วหาค่าเฉลี่ย
      3.2) การวัดขยาดของตัวปู เช่น ความกว้าง ยาวของปู ทั้งเพศผู้และเพศเมีย โดยการสุ่มตัวอย่างปูในแต่ละจุดของทั้ง 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัว ซึ่งจะวัดความกว้างและความยาว โดย Vernier Caliper
      3.3) การวัความกว้างและความลึกของรูปู โดยใช้ Vernier Caliper วัดแล้วเปรียบเทียบกับขนาดของตัวปู

ขั้นตอนที่ 2 สำรวจชนิดของปูก้ามดาบ
การสำรวจชนิดของปูก้ามดาบ ในการสำรวจชนิดของปูก้ามดาบ จะศึกษาจากกลุ่มใหญ่โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
      1.สังเกตลักษณะสีของปูก้ามดาบโดยการสุ่มปูก้ามดาบเพศผู้ 10 ตัว ของแต่ละกลุ่มมาสังเกต เช่น สีลูกตา สีกระดอง สีขา สีก้าม สีกระดอง
     2.จำแนกชนิดของปูก้ามดาบออกเป็นสปีชีส์ตาม KEY TO THE SPECIES OF UCA IN THAILAND AND THE OCEANIC ISLANDS OF THE PACIFIC โดยการนำปูก้ามดาบจากการสุ่มตัวอย่างจากขั้นตอนที่1 (เฉพาะเพศผู้) มาแบ่งชนิดของปูก้ามดาบ
      3.การวัดขนาดของปูก้ามดาบแต่ละสปีชีส์ โดยการสุ่มตัวอย่างปูก้ามดาบ 2 สปีชีส์ คือ Uca hesperiae และ Uca annulipes (เฉพาะเพศผู้) มาวัดขนาดความกว้างและความยาวของลำตัว ขนาดของ Major Cheliped, Carpus, Merus ของก้าม วัดความยาวก้านตา ความกว้างร่องตา
4.การวัดความกว้าง และความลึกของรูปูก้ามดาบ โดยการไปวัดรูปูก้ามดาบด้วย Vernier Caliper ที่เป็นรูของปูในข้อที่3 มาวัดขนาดความกว้าง และวัดความลึก


      4.1การวัดความกว้างของรูปูก้ามดาบจะใช้วิธีการเทปูนปาสเตอร์ลงไปในหลุมจนเต็มรูและเมื่อปูนแข็งตัวจึง
      ขุดปูนพลาสเตอร์เพื่อวัดความยาวของรู โดยใช้เชือกฟางทาบตามความยาวแล้ววัดด้วยไม้บรรทัด

ขั้นตอนที่3 สังเกตพฤติกรรมของปูก้ามดาบ

สังเกตพฤติกรรมของปูก้ามดาบ โดยการสังเกตพฤติกรรมต่างๆดังนี้
    1) การกิน
    2) การสร้างที่อยู่ และลักษณะที่อยู่อาศัย
    3) การเคลื่อนไหว
    4) การป้องกันตัวเอง
    5) ลักษณะอื่นๆที่พบเห็น เช่น การทำความสะอาดร่างกาย เป็นต้น
การศึกษาพฤติกรรมจากธรรมชาติ จะสังเกตในช่วงเวลาก่อนน้ำขึ้นเป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง และหลังเวลาน้ำลงประมาณ 1 ชั่งโมง


ขั้นตอนที่4 นำปูก้ามดาบมาเลี้ยงและสังเกตพฤติกรรม

นำปูก้ามดาบมาเลี้ยงและสังเกตพฤติกรรม
     1) ทำโดยสุ่มตัวอย่างปูก้ามดาบที่พบทั้งเพศผู้ และเพศเมีย มาเลี้ยงในตู้กระจกขนาด กว้าง 40 cm ยาว 120 cm ลึก 75 cm โดยใส่ดิน 10 kg น้ำ 5 ลิตร จากพื้นที่สำรวจ

2)ให้อาหารปูโดยการโรยบนผิวโคลน ในช่วงเวลา เช้า เที่ยง และเย็น อาหารของปูจะเป็นอาหารของปลาที่บดละเอียด
    3)สังเกตพฤติกรรมของปูก้ามดาบการประมวลผลการสังเกตพฤติกรรมของปูก้ามดาบ จะเปรียบเทียบความแตกต่าง
พฤติกรรมของปูจาการสังเกตในธรรมชาติ กับพฤติกรรมของปูในการทดลอง และสังเกตถึงกรปรับตัวของปูก้ามดาบ
ว่าสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาวะที่กำหนดให้ได้หรือไม่



                
                        บทที่5

                    สรุปและอภิปรายผล
อภิปราย
        1.พฤติกรรมด้านการกินของปูก้ามดาบในเพศผู้และเพศเมีย มีลักษณะที่เหมือนกันแต่แตกต่างในด้านความเร็ว เนื่องจากปูก้ามดาบเพศผู้มีก้ามเล็กที่ใช้ในการตักอาหารเพียงก้ามเดียว แต่เพศเมียมีก้ามเล็กที่ใช้ตักอาหารทั้ง
สองข้าง
        2.เมื่อปูกินอาหารเข้าสู่ปากมันจะเลือกเอาส่วนที่เป็นอินทรีย์สาร
และจะปล่อยส่วนที่มันไม่ต้องการออกมาพักไว้บริเวณด้านหน้าของลำตัว
เมื่อเศษอาหารนั้นมีปริมาณมาพอ มันก็จะกำจัดออก โดยใช้ก้ามข้างเล็ก
ตักคืนสู่พื้นดิน จะสังเกตว่าบริเวณที่มันอาศัยอยู่จะมีดินก้อนเล็กๆ
เรียงเป็นแถวๆ อุปมากับการกินมะยม จะเลือกกินแต่เนื้อและคายเมล็ดไว้ในมือ
เมื่อเต็มมือแล้วคนจะทิ้ง
        3.เนื่องจากปูก้ามดาบเป็นสัตว์ที่มี 8 ขา และก้ามอีก 2 ก้าม ในเพศผู้
จะมีก้ามใหญ่หนึ่งก้ามเรียกว่า Major ที่ใช้เป็นทั้งอาวุธต่อสู้และอวดตัวเมีย
ส่วนก้ามเล็กจะเรียกว่า Minnor ทำหน้าที่ตักอาหาร ทำความสะอาดลำตัว
ส่วนขาที่เหลือแปดขา ทำหน้าที่แตกต่างกัน เช่น สองขาคู่หน้าซึ่งติดกับก้าม
ปูก้ามดาบมักจะใช้ในการเดินและใช้หอบดินเพื่อนำไปปิดรู
ส่วนสองขาหลังมันจะถูกลากตามไปเท่านั้นคล้ายๆกับรถมีการขับเลื่อนล้อหน้า
       4.รูของปูก้ามดาบพบว่ามีลักษณะปล้องกลางน่าจะเป็นเพราะ
เวลาลงรูของปูก้ามดาบจะลงด้วยด้านข้างเมื่อมันหลบลงในรู
มันจะมีการเคลื่อนที่โดยการขยายก้ามเลยทำให้ตรงกลางปล้อง
การที่ส่วนปากรูแคบก็เป็นการลดพลังงานในการขนดินเข้ามาปิดปากรู
และเพื่อป้องกันศัตรูที่มีขนาดใหญ่กว่า
      5.ลักษณะสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันจะมีผลต่อสปีชีส์ของปูก้ามดาบ
คือ บางสปีชีส์ชอบดินทราย มีความชื้นน้อย เช่น Uca annulipe
ส่วนบางชนิดชอบบริเวณที่ชื้น มักพบในบริเวณดินคลอง เช่น Uca lacter เป็นต้น
      6.การปรับตัวของปูก้ามดาบ มันสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมต่างๆได้ดี สังเกตจากเมื่อนำมาเลี้ยง สภาพแวดล้อมต่างๆก็เปลี่ยนไปจากธรรมชาติ เช่น
ไม่มีปรากฎการณ์น้ำขึ้นน้ำลง   การไม่มีต้นไม้กำบัง เป็นต้น
แต่ปูก้ามดาบก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แม้กระทั่งมันสามารถกินอาหารที่เราให้

สรุป
       1.พฤติกรรมที่เด่นของปูก้ามดาบคือ การชูก้าม
       2.ปูก้ามดาบที่พบในบริเวณศึกษามี 3 สปีชีส์ คือ Uca hesperiae, Uca foripata, Uca annulipes
      3.ปูก้ามดาบสามารถปรับตัวและทนต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ดี
      4.เราสามารถนำปูก้ามดาบมาเลี้ยงเป็นสัตว์สวยงามได้

ข้อเสนอแนะ
      1.อาจมีการศึกษาสปีชีส์ของปูก้ามดาบที่หลากหลายมากกว่าเดิม
      2.ป่าชายเลนมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น น้ำขึ้นน้ำลง ฤดูกาล  สภาพดินฟ้าอากาศการเก็บรวบรวมข้อมูลบางอย่าง
จึงควรเก็บข้อมูลซ้ำๆหลายครั้ง
ปัญหาและอุปสรรค
      1.ขาดเครื่องมือและอุปกรณ์ในการสังเกตชนิดของปูก้ามดาบ
      2.ขาดข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับปูก้ามดาบ
      3.การเดินทางไม่ค่อยสะดวก
      4.ขาดเครื่องมือในการจับภาพเคลื่อนไหวของปูก้ามดาบ