การจับปูดำในป่าชายเลน
(บ้านหินร่ม บ้านติเตะ จังหวัดพังงา)


โดย
1. นายสัจจพันธ์    สัจจารักษ์ ม. 4/1
2. นายกิตติศักดิ์         พลีตา ม. 4/2
3. นายปรีชา          ลาวัลย์ ม. 4/1


รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545
โรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน

 

 

                           บทคัดย่อ
       ชุมชนบ้านหินร่มและบ้านหินเตะ อยู่ติดกับพื้นที่ป่าชายเลนผืนใหญ่ของอ่าวพังงามีความ
สมบูรณ์ทรัพยากรทางทะเลที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ป่าชายเลน สร้างรายได้จากการทำประมง
ชายฝั่ง ให้แก่ชุมชนมาช้านาน โดยเฉพาะ ปูดำ ทางกลุ่มจึงสนใจศึกษาสำรวจสภาพของ
ป่าชายเลน กับความหนาแน่นของปูดำ และการทดลองวิธีการดักจับปูดำโดยใช้เหยื่อล่อ
ต่าง ๆ รวมทั้งศึกษารายได้ของชุมชน จากการจับปูดำ พบว่า สภาพป่าชายเลนยังคงสมบูรณ์ เป็นส่วนใหญ่ มีบางส่วนเปลี่ยนสภาพเป็นบ่อเลี้ยงกุ้งและบ้านเรือน จำนวนปูดำยังคงมีอยู่
หนาแน่น แต่ปูดำที่จับได้มีขนาดเล็กลง ผลจากการทดลอง ดักจับปูดำด้วยไซ โดยใช้เหยื่อ
แบบต่าง ๆ พบว่า เหยื่อสดย้อมสีผสมอาหารสีแดง ดักจับปูได้ดีที่สุด และเหยื่อปลอมสีแดง สามารถดักจับปูดำได้เช่นกัน แต่น้อยกว่า ชุมชนมีรายได้ จากการจับปูดำลดลง เนื่องจาก
ปูดำ ที่จับได้มีขนาดเล็กลง ไม่ทำลายป่าชายเลนเพิ่มเพื่อให้ปูมีแหล่งอาศัย อาหารอันอุดม
สมบูรณ์ ได้อยู่ร่วม กับวิถี ชุมชนบ้านหินร่ม บ้านติเตะ ตลอดไป

                                  บทที่ 1
                                  บทนำ

ที่มาและความสำคัญ
         ครอบครัวสมาชิกในกลุ่มของข้าพเจ้า อาศัยอยู่ติดกับป่าชายเลน และประกอบอาชีพ
การประมง เป็นอาชีพหลัก จากป่าชายเลน และทะเลแถบหมู่บ้าน หินร่มและหมู่บ้านติเตะ ตำบลครองเคียน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ในป่าชายเลนมาช้านาน โดยเฉพาะปูดำ มีราคาค่อนข้างสูง สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ได้ดี
ด้วยเหตุนี้ ทางกลุ่มของข้าพเจ้า จึงคิดที่จะศึกษาสภาพป่าชายเลนในปัจจุบัน กับปริมาณของ
ปูดำ วิธีการจับปูดำ ที่สามารถสร้างได้ให้กับชุมชน และศึกษารายได้ จากการจับปูดำ รวมทั้ง
แนวทาง ในการสร้าง อาชีพการจับปูดำให้คงอยู่กับชุมชนตลอดไป

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสภาพป่าชายเลน ในพื้นที่การสำรวจ 2 พื้นที่ คือ
พื้นที่ป่าชายเลนบ้านหินร่มพื้นที่ป่าชายเลนของหมู่บ้านติเตะ
2. เพื่อศึกษาความหนาแน่นของปูดำจากพื้นที่สำรวจ
3.เพื่อศึกษาวิธีการจับปูดำโดยการทดลองที่ใช้เหยื่อล่อชนิดต่าง ๆ
4. เพื่อศึกษารายได้ชุมชนจากการจับปู

 

นิยามศัพท์เฉพาะ
1. บ้านหินร่มหมายถึง หมู่บ้านที่มีป่าชายเลน ซึ่งตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2 ตำบลครองเคียน อำเภอ
ตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
2. บ้านติเตะ หมายถึง หมู่บ้านที่มีพื้นที่ป่าชายเลน อยู่ที่ห่างจากหมู่บ้านหินร่ม ประมาณ
7 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ หมู่ 6 ตำบลครองเคียน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
3. ปูดำ หรือปูทะเล หมายถึง ปูที่มีสีเข้ม ค่อนข้างคล้ำ นิสัยดุร้าย อาศัยอยู่ในป่าชายเลน และปากแม่น้ำ ที่มีทะเลท่วมถึง โดยขุดรูอยู่ ตามใต้รากไม้ หรือเนินดิน หรือดินโคลน ที่มี
ป่าแสม โกงกาง
4. ความหนาแน่นของปูดำ หมายถึง จำนวนรูปูดำ ที่พบในพื้นที่หนึ่งตารางเมตร
5. เหยื่อล่อ หมายถึง อาหารที่ปูดำชอบกินหรือวัสดุอื่น ๆ ที่ทำให้ปูดำเข้าใจว่าเป็นอาหาร
โดยนำไปเสียบหรือผูก ไว้ในอุปกรณ์ ที่ใช้ในการดักจับปู

ขอบเขตในการศึกษา
พื้นที่บริเวณที่เราจะศึกษา ได้แก่
- บริเวณพื้นที่ ป่าชายเลนของหมู่บ้านหินร่ม
- บริเวณพื้นที่ป่าชายเลน ของหมู่บ้านติเตะ


                                  บทที่ 3
                             วิธีการดำเนินงาน

โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง การจับปูดำในป่าชายเลน (บ้านหินร่ม บ้านติเตะ จังหวัดพังงา)มีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
1. สำรวจสภาพป่าชายเลนของบ้านหินร่ม บ้านติเตะ อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา โดยแบ่งออกเป็น
      1.1 สำรวจพันธุ์พืช ในป่าชายเลน ด้วยการลงพื้นที่ สำรวจด้วยตนเอง โดยแบ่งพื้นที่หมู่
บ้านละ 3 จุด
-จุดที่ 1 เป็นป่าโปร่ง อยู่ห่างจากชุมชน หรือป่าบกประมาณ 100 เมตร
-จุดที่ 2 ป่าค่อนข้างทึบ อยู่ห่างจากชุมชนหรือป่าบก ประมาณ 200 เมตร
-จุดที่ 3 ป่าทึบ ซึ่งอยู่ห่างจากชุมชน หรือป่าบกประมาณ 500 เมตร
กำหนดขนาดพื้นที่แต่ละจุด 5ด5เมตร แล้วนับจำนวนและชนิดพันธุ์ไม้ในแต่ละบริเวณ
บันทึกผล

1.2 สำรวจชนิดของพันธุ์สัตว์ ในป่าชายเลน โดยการเดินสำรวจ ในพื้นที่แต่ละจุด
ประกอบกับสอบถาม ข้อมูลชนิดพันธุ์ไม้ ที่พบในปัจจุบัน จากชุมชน บันทึกผล
2. ศึกษาความหนาแน่นของปูดำ จากพื้นที่ป่าชายเลนทั้ง สองหมู่บ้าน โดยการสุ่มนับจำนวน
รูปูดำ จากดินเลน และขอบตลิ่งครอง ที่น้ำ
ท่วมถึง หมู่บ้านละ 3 จุด ตามข้อโดยกำหนดพื้นที่
1 ตารางเมตร สุ่มนับ 3 ครั้ง แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย
3. ศึกษาวิธีการจับปูดำและการทดลองจับปูดำ โดยใช้เหยื่อล่อชนิดต่าง ๆ ได้แบ่งการทดลอง
ออกเป็น 7 การทดลอง ดังต่อไปนี้

วิธีการทดลองที่1 ชนิดของเหยื่อมีผลต่อการเข้าไซของปูดำหรือไม่
ตัวแปรต้น ชนิดของเหยื่อ
ตัวแปรตาม จำนวนปูดำที่เข้าไซ
ตัวแปรควบคุม 1.ขนาดของเหยื่อ 2.ขนาดของไซ 3.ชนิดของไซ 4.ความสดของเหยื่อ
อุปกรณ์และสารเคมี
1.ไซดักปู 2.ปลากระเบน 3.ปลาฉลาม 4.ปลาหลังเขียว 5.ไส้ไก่

วิธีการทดลอง
1. นำเหยื่อสด 4 ชนิด คือ ปลากระเบน ปลาฉลาม ปลาหลังเขียว และไส้ไก่ ตัดเป็นชิ้น
ขนาด 4-5 นิ้ว (ปลาหลังเขียวใช้ 2 ตัวเสียบติดกัน แล้วตัดส่วนไส้ไก่มัดเป็นก้อนขนาด
ใกล้เคียง 4ด 5 นิ้ว เสียบไว้ในไซไซละ 1 ชิ้น ชนิดละ 3 ไซ )
2. นำไซไปดักบนพื้นคลอง ที่คาดว่าปูดำออกหากิน โดยวางไซเป็นชุด จำนวน 3 ชุด แต่ละชุดประกอบด้วย ไซ 4 ไซ ไซแต่ละชนิดของเหยื่อสด โดยวางไซแต่ละชุดใน 3
พื้นที่ โดยวางในช่วงน้ำลง
3. ทิ้งไวไว้จนน้ำขึ้นเต็มที่ เมื่อน้ำลงพอที่จะเก็บไซได้ จึงเก็บไวทั้งหมด นับจำนวนปูดำ และวัดความยาวของกระดอง แต่ละตัว บันทึกผล
4. ทำการทดลอง เช่นข้อ 1-3 ซ้ำรวมกันเป็น 3 ครั้ง บันทึกผลและหาค่าเฉลี่ย จำนวนรูปู และขนาดของรูปู



การทดลองที่2 เหยื่อสดและเหยื่อดองมีผลต่อการเข้าไซของปูดำหรือไม่
อุปกรณ์และสารเคมี

1. ปลากระเบน 2. ชนิดของไซ 3. ขนาดของเหยื่อ 4. ลังใส่น้ำแข็ง 5.ถุงพลาสติก
วิธีการทดลอง
1. การเตรียมเหยื่อดอง โดยการนำปลากระเบน มาตัดเป็นชิ้นขนาด ชิ้นละ 4ด5 นิ้ว
จำนวน 3 ชิ้น โดยใส่เกลือหมัก และแช่น้ำแข็ง 2 คืน ส่วนเหยื่อปลากระเบนสด ให้ตัด
เป็นชิ้น ๆ ละ 4ด5 นิ้ว จำนวน 3 ชิ้น
2.นำเหยื่อดองไปเสียบไว้ในไซไซละ 1 ชิ้น จำนวน 3 ไซและเหยื่อปลากระเบนสดไปเสียบไว้
ในไซไซละ 1 ชิ้น จำนวน 3 ไซ
4. นำไซไปดักในร่องน้ำคลองที่คาดว่าปูดำออกหากิน โดยวางไซเป็นชุด จำนวน 3 ชุด
แต่ละชุดประกอบด้วย ไซ 2 ไซ ไซละชนิดของเหยื่อ โดยวางไซแต่ละชุดในพื้นที่ 3 พื้นที่ โดยวางในช่วงน้ำลง
5. ทิ้งไซไว้จนน้ำขึ้นเต็มที่ เมื่อน้ำลงพอที่จะเก็บไซได้จึงเก็บไวทั้งหมด นับจำนวนปูดำ
และวัดความยาวของกระดองปู แต่ละตัว บันทึกผล
6. ทำการทดลอง เช่นข้อ 1-4 ซ้ำรวมกัน 3 ครั้ง บันทึกผลและหาค่าเฉลี่ย จำนวนปูและ
ความยาวของกระดองปูดำ

การทดลองที่ 3 สีของเหยื่อมีผลต่อการเข้าไซปูดำหรือไม่
อุปกรณ์และสารเคมี
1. สีผสมอาหาร 2. ปลากระเบน 3. ไซดักปู
วิธีการทดลอง
1. การเตรียมเหยื่อ โดยการตัดปลากระเบนเป็นชิ้นขนาด ชิ้นละ 4ด5 นิ้ว นำไปคลุกกับสีผสมอาหาร สีละ 3 ชิ้น จำนวน 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และไม่ย้อมสี ทิ้งไว้ 4-5 ชั่วโมง จนเหยื่อติด สีทั้ง 3 ชิ้น
2. นำเหยื่อแต่ละชิ้น ไปเสียบในไซไซละ 1 ชิ้น
3. นำไวไปดักในร่องน้ำคลอง ที่คาดว่าปูดำออกหากิน โดยวางไซแต่ละชุดในพื้นที่ห่าง
กัน 3 พื้นที่ วางในช่วงน้ำลงการวางไซให้วางในแนวขวางลำคลอง
4. ทิ้งไซไว้จนน้ำขึ้นเต็มที่ เมื่อน้ำลงพอที่จะเก็บไซได้จึงเก็บไวทั้งหมด นับจำนวนปูดำ
และวัดความยาวของกระดองปู แต่ละตัว บันทึกผล
5. ทำการทดลอง เช่นข้อ 1-4 ซ้ำรวมกัน 3 ครั้ง บันทึกผลและหาค่าเฉลี่ย จำนวนปูและ
ความยาวของกระดองปูดำ


การทดลองที่ 4 เหยื่อลอมย้อมสีมีผลต่อการเข้าไซของปูดำหรือไม่
อุปกรณ์
1.น้ำยางพารา 2.สีผสมอาหาร 3. ไซดักปู 4. สารละลายกรดฟอร์มิก
วิธีการทดลอง
1. การเตรียมเหยื่อปลอมย้อมสี โดยการนำน้ำยางพารา ที่เหลือจากการเก็บน้ำยาง ประมาณ 1000 ลูกบาศก์เวนติเมตร มาแบ่งเป็น 3 ส่วน เท่ากัน ส่วนที่ 1 ผสมกับสีผสมอาหาร สีแดง 1ซอง ส่วนที่ 2 ผสมสีผสมอาหารกับสีเหลือง 1 ซอง และส่วนที่ สาม ไม่ผสมสี ทำให้แข็งตัว โดยการผสมกกรดฟอร์มิก ประมาณส่วนละ 10 ลูกบาศก์เซนติเมตร คนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ให้แข็งตัว แล้วเอาไปล้างน้ำเปล่า ผึ่งลมทิ้งไว้จนสะเด็ดน้ำ ตัดเป็นชิ้นปลาขนาด 4ด5 นิ้ว จำนวนสีละ 3 ชิ้น นำไปแช่ในน้ำล้างปลา เพื่อให้มีกลิ่นคาวปลา ประมาณ 2-5 ชั่วโมง
2. นำเหยื่อปลอม ไปเสียบไว้ในไซ ไซละ 1 ชิ้น จำนวน 9 ไซ
3. นำไซไปดักในร่องน้ำคลอง ที่คาดว่าปูดำออกมาหากิน โดยวางไซเป็นชุด จำนวน 3
ชุด แต่ละชุดประกอบด้วย ไซ 3ไซ ไซละชนิดของสี ของเหยื่อ โดยวางไซแต่ละชุด ใน 3 พื้นที่ โดยวางในช่วงน้ำขึ้นลง
4. ทิ้งไซไว้จนน้ำขึ้นเต็มที่ เมื่อน้ำลงพอที่จะเก็บไซได้จึงเก็บไวทั้งหมด นับจำนวนปูดำ
และวัดความยาวของกระดองปู แต่ละตัว บันทึกผล
5. ทำการทดลอง เช่นข้อ 1-4 ซ้ำรวมกัน 3 ครั้ง บันทึกผลและหาค่าเฉลี่ย จำนวนปูและ
ความยาวของกระดองปูดำ


การทดลองที่ 5 เหยื่อสดสีแดงกับเหยื่อปลอมสีแดงมีผลต่อการเข้าไซของปูดำหรือไม
อุปกรณ์และสารเคมี
1. น้ำยางพารา 2. ปลากระเบน 3.สีผสมอาหารสีแดง 4.สารละลายกรดฟอร์มิก
วิธีการทดลอง
1. การเตรียมเหยื่อปลอมใช้วิธีการเดียวกับการทดลองที่ 4 แต่ใช้สีผสมอาหารเพียงสีเดียว คือ สีแดง ได้เหยื่อปลอมสีแดงจำนวน 9 ชิ้น
2. การเตรียมเหยื่อปลากระเบน สดย้อมสีแดง ทำเช่นเดียวกับการทดลองที่ 3 ได้ปลา
กระเบนจำนวน 9 ชิ้น นำเหยื่อสดย้อมสีแดง และเหยื่อปลอมย้อมสีแดง มาเสียบในไซ ไซ ละ1 ชิ้น (เนื่องจากมีฝนตกชุก การกรีดยาพาราได้น้อยครั้ง จึงทดลองครั้งเดียว แต่เพิ่มจำนวนไซเป็น 3 เท่า และใช้พื้นที่ดักไซออกไปหลาย ๆจุด)
3. นำไซไปดักปูดำในร่องน้ำที่คาดว่า ปูดำออกหากิน โดยวางไซเป็นชุด จำนวน 9 ชุด
แต่ละชุดประกอบด้วย ไว 2 ไซ ไซละชนิดของเหยื่อ โดยวางไซแต่ละชุดใน 3 พื้นที่ วางในช่วงน้ำลง
4. ทิ้งไซไว้จนน้ำขึ้นเต็มที่ เมื่อน้ำลงพอที่จะเก็บไซได้จึงเก็บไวทั้งหมด นับจำนวนปูดำ
และวัดความยาวของกระดองปู แต่ละตัว บันทึกผล

การทดลองที่ 6 ทิศทางการวางไซมีผลต่อการเข้าไซของปูดำหรือไม่
อุปกรณ์และสารเคมี

1. ปลากระเบนสด 2. สีย้อมอาหาร 3.ชนิดของเหยื่อ
วิธีการทดลอง
1.ดำเนินการเหมือนการทดลองที่ 3 แต่เปลี่ยนวิธีการวางไซจาก ในแนวขวาง ลำคลอง มาเป็นแนวขนานลำน้ำ และสลับไซ ที่มีเหยื่อแต่ละสีเป็น 3 แบบ ดังนี้
แบบที่ 1 แดง -เหลือง - ไม่ย้อม
แบบที่ 2 เหลือง - แดง - ไม่ย้อม
แบบที่ 3 ไม่ย้อม -แดง -เหลือง

2. หลังการเก็บไซบันทึกจำนวนปูที่เข้าไซ แต่ละแบบ และวัดความยาวกระดองปู

การทดลองที่ 7 เหยื่อทั่วไปที่มีสีแดง มีผลต่อการเข้าไซของปูดำหรือไม่
อุปกรณ์และสารเคมี

1. เหยื่อทั่วไปที่มีสีแดง เช่น กระดองปูต้ม และตับไก่ 2. ไซดักปู
วิธีการทดลอง
1. นำระดองปูที่ต้มแล้ว ไปเสียบไว้ในไซ ไซละ 1 กระดอง จำนวน 9 ไซ
2. นำตับไก่สด ไปเสียบไว้ในไซ ไซละ 1ชิ้น จำนวน 9 ไซ
3. นำไซไปดักในร่องน้ำคลองที่คาดว่ามีปูดำออกมาหากิน โดยการวางไซเป็นชุด
จำนวน 9 ชุด แต่ละชุดประกอบด้วยไซ 2 ไซ ไซละชนิดของเหยื่อ โดยวางไซแต่ละชุดใน 3 พื้นที่ โดยวางในช่วงน้ำลง
4. ทิ้งไซไว้จนน้ำลงเต็มที่ เมื่อน้ำลงที่จะเก็บไซได้ จึงเก็บไซทั้งหมด นับจำนวนปูดำ
และวัดความยาวกระดองปูดำ บันทึกผล
5. ทำการทดลองซ้ำ เช่นข้อ 1-4 ซ้ำรวมกัน 3 ครั้ง บันทึกผลและหาค่าเฉลี่ยจำนวนปูดำ
และความยาวกระดองปูดำสำรวจรายได้ของคนในชุมชน ที่ได้จากการจับปูดำ ของชาวบ้าน
หินร่ม ล้านติเตะ โดยการสอบถาม ข้อมูลจากผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านทั้งสอง และจากผู้ที่จับ
ปูดำเป็นอาชีพหลัก

                                บทที่ 5
                       สรุปผลและอภิปลาย

           จากการศึกษาเรื่องการจับปูดำ ในป่าชายเลนบ้านหินร่ม บ้านติเตะ จังหวัดพังงา การสำรวจเก็บข้อมูล และการทดลองดักจับปูดำ โดยใช้เหยื่อที่แตกต่างกัน พอสรุปได้ดังนี้
1. สภาพทั่วไปของป่าชายเลน ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ป่าเลนหลากหลายแต่ พันธุ์ไม้ป่าชายเลน
ที่พบมากตามริมคลอง จะเป็นไม้
โกงกาง ตะบูน และแสม เป็นส่วนใหญ่ ส่วนสัตว์ที่พบที่หน้า
ดินที่คนไม่นิยมนำมารับประทาน คือ ปูก้ามดาบ ปูแสม ปูเสฉวน ปลาตีน และเพรียงหิน
2. ปริมาณพันธุ์ไม้ในบริเวณบ้านหินร่มบ้านติเตะ มีจำนวนไม้ป่าชายเลน และความหนาแน่น
ที่ไม่แตกต่างกัน อุดมสมบูรณ์ ไปด้วยพันธุ์ไม้ป่าชายเลนและสัตว์หน้าดินที่คล้ายคลึงกัน
3. ประเภทของสัตว์ ที่สำรวจได้ในการศึกษา จากทั้งสองพื้นที่ใกล้เคียงกัน
4. ผลการสำรวจความหนาแน่นของรูปูดำ พบว่าในป่าทึบ มีรูปูดำค่อนข้างหนาแน่น กว่า
ป่าค่อนข้างทึบ และป่าโปร่ง ในป่าโปร่งมีรูปูดำขนาดเล็ก คือขนาดความกว้าง ของรูปู
ประมาณ4-6 ซม. พื้นที่ที่ 2 ป่าค่อนข้างทึบ มีรูปูดำที่มีขนาดเล็ก เช่นเดียวกับจุดแรก
แลพื้นที่ที่ 3 ป่าทึบ พบว่า มีขนาดรูปูดำค่อนข้างใหญ่ กว่าพื้นที่ป่าโปร่ง และพื้นที่ป่าค่อน
ข้างทึบ
5. ผลที่ได้จากการ ดักจับปูดำ โดยใช้เหยื่อล่อต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้
     5.1 ถ้าเป็นเหยื่อสด ใช้เหยื่อปลากระเบนสดย้อมสีแดงจะดักจับปูได้ดีที่สุด หรือถ้าเป็น
เหยื่อสดสีแดงธรรมชาติ ใช้ไส้ไก่ หรือตับไก่สามารถใช้ได้ดี
     5.2 ถ้าเป็นเหยื่อปลอม ใช้เหยื่อยางพาราสดย้อมสีแดง
     5.3 ทิศทางการวางไซ ไม่มีผลต่อการเข้าไซของปูดำ
     5.4 เมื่อศึกษาจำนวนปูดำ ที่ดักได้ ในแต่ละพื้นที่ ของการทดลอง พบว่า พื้นที่ป่าทึบ
จับปูดำได้มากที่สุด รองลงมาคือ พื้นที่ป่าค่อนข้างทึบ และพื้นที่ป่าโปร่งตามลำดับ
     5.5 จากการทดลองขนาดของปูดำ ที่จับได้ขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวกระดอง 12 ซม.
ความยาวกระดองที่ต่ำที่สุดมีขนาด 4 ซม. เมื่อนำจำนวนปูดำ ทุกการทดลอง และเปรียบ
เทียบขนาดแล้ว มีปูดำที่มีขนาดกระดอง 11-12 ซม. ขึ้นไป ประมาณ 7% นอกจากนั้นอีก
93 % จัดเป็นปูดำที่มีขนาดกลางและเล็ก
     5.6 ขนาดขอองปูดำในป่าทึบ ซึ่งอยู่ห่าจากชุมชน 500เมตร จะมีขนาดค่อนข้างโต
กว่าปูดำที่ดักได้จากป่าค่อนข้างทึบ และป่าโปร่ง
6. ผลจากการสำรวจรายได้ ของชาวบ้านที่จับปูดำเป็นอาชีพหลัก พบว่ามีรายได้ประมาณ ครอบครัวละ 4500บาท/เดือน

อภิปลายผล
        จากการทดลองจะเห็นไดว่า ปูดำจะกินเหยื่อสด ที่เป็นไส้ไก่ มากกว่าปลากระเบน แต่
เนื่องจากไส้ไก่ ค่อนข้างหายาก และมีราคาแพง เก็บไว้ได้ไม่นาน และใช้เวลาในการจัดการ
มาก และโอกาสที่สัตว์เล็ก ๆ เข้าไปดึงกัดกินได้ง่าย ชาวประมงนิยมใช้ปลากระเบนแทน
เพราะหาได้ง่าย ราคาถูก หรือจากการทดลองที่ 7 ที่ใช้ตับไก่ มีราคาแพงมาก เมื่อเปรียบ
เทียบกับปลากระเบน และถูกกัดกิน จากสัตว์ ์น้ำขนาดเล็กได้ง่าย จากการทดลองใช้เหยื่อ
สด ซึ่งเป็นปลากระเบนย้อมสีอาหารสีแดง ปูดำจะเข้าไซมากกว่า สีเหลืองหรือไม่ย้อมสี รวม
ทั้งเหยื่อปลอมย้อมสีแดง ก็สามรถดักจับปูดำได้ ซึ่งผลการทดลองส่วนนี้ ชาวงบ้านไม่เคย
ทดลองมาก่อน อาจจะเป็นไปได้ว่า สีแดงทำให้ปูมองเห็น เหยื่อชัดเจนที่สุด และปลากระ
เบนสดมีเนื้อค่อนข้างเหนียว ที่สามารถดักได้ไว้นาน ไม่หลุดจากที่เสียบได้ง่าย เหมือน
ตับไก่ หรือไส้ไก่ ดังนั้นจากการทดลองเรื่องนี้จึงเป็นทางเลือกใหม่ ให้ชาวประมงที่มีอาชีพ
ดักจับปูดำ สามารถเพิ่มรายได้ จากการดักจับปูดำโดยการใช้เหยื่อสีแดงได้ในกรณีที่ไม่มี
เหยื่อสดตามธรรมชาติ หรือในช่วงที่เหยื่อมีราคาแพง ชาวประมงยังสามารถใช้เหยื่อยาง
พารา แข็งตัวที่ย้อมสีแดงก็ได้ แต่ก็ควรแช่น้ำล้างปลาที่มีกลิ่นคาวธรรมชาติด้วยจากการ
ทดลองใช้เหยื่อสีแดงธรรมชาติ ที่เป็นกระดองปู พบว่าปูไม่เข้าไซเลย จึงพอจะกล่าวได้ว่า
การเข้าไซของปูดำ นอกจากการใช้สีแดง แล้วยังต้องอาศัยกลิ่นอาหารสดจากธรรมชาติ
เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งสังเกตจากการทดลอง ใช้เหยื่อปลอมที่เป็นน้ำยางพาราสดย้อมสี
แดงแช่รวมกับปลากระเบนสด สามารถดักจับปูดำได้จากการทดลองดักจับปูดำ พบว่า
ขนาดของปูดำในป่าทึบซึ่งอยู่ในคลอง ที่ค่อนข้างลึกจะจับได้ปูดำที่มีขนาดกลางถึงโตได้
แสดงว่าปูดำขนาดโตชอบอยู่ในป่าลึกที่มีความหนาแน่นของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนมากดัง
นั้นชุมชนจึงควรอนุรักษ์ป่าชายเลนให้คงอยู่ในสภาพที่สมบูรณืที่สุดเพื่อเป็นแหล่งขยาย
พันธุ์ และการเจริญเติบโตของปูดำ ให้ชุมชนสามารถเลี้ยงชีวิตจากการดักจับปูดำได้
นานเท่านาน ส่วนป่าโปร่งซึ่งออยู่ใกล้ชุมชนจะพบปูดำที่มีขนาดเล็กรวมทั้งลูกปูดำเล็ก ๆ
จำนวนมากที่ได้จากการสังเกตเห็นแสดงว่า ลูกปูดำจะหากินบริเวณที่น้ำตื้น ๆ ซึ่งปราศจากการรบกวนจากสัตว์ใหญ่ในการดักจับปูดำพบว่าขนาดปูดำมีขนาดกลางถึงเล็ก
คือมีความยาวกระดอง10-12 ซม. จัดเป็นปูดำที่มีขนาดกลาง มีประมาณ 7 %ราคาประมาณกิโลกรัมละ 65 บาทเท่านั้น จึงทำให้รายได้ ของชาวบ้านที่ประกอบ
อาชีพ ดักจับปูดำไม่ค่อยสูง จากการไปสังเกตการ จับปูดำของชาวบ้านพบว่าใกล้เคียงกับ
กลุ่มทดลอง แต่ของชาวบ้านได้ปริมาณมากกว่าเพราะใช้ไซมากกว่าและเข้าไปดักในป่าลึก
ที่มีปูดำขนาดกลางมากกว่า
        จากการศึกษาครั้งนี้พบว่ารายได้จากการดักจับปูดำโดยเฉลี่ยเดือนละ ประมาณ
4500 บาท สามารถช่วยให้ชุมชน สามารถดำรงชีวิตในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันทั้ง ๆที่ราย
ได้จากการจับปูดำนั้นค่อนข้างไม่แน่นอน แต่พออยู่พอกินตามเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งดำเนิน
มานับร้อยปีมาแล้วปัจจุบันชุมชนโตขึ้นผู้คนจึงประกอบอาชีพอื่นกันมากขึ้นเพื่อความอยู่รอด
แต่การจับปูดำก็ยังคงเป็นของชุมชนดั้งเดิมที่มีปริมาณค่อนข้างคงที่สืบทอดกันมาอยู่ตั้งแต่
สมัยที่ปูดำมีขนาดโตกว่า 1กิโลกรัม ต่อตัว จนปัจจุบันหายากมาก ที่จะจับปูดำให้ได้ตัว
หนึ่งหนักกว่า 300กรัม ซึ่งมีราคา ประมาณกิโลกรัมละ120-150 บาทในอนาคตถ้าชาวบ้าน
ยังคงจับปูดำอย่างปัจจุบันมีแนวโน้มว่ารายได้จากการดักจับปูดำจะลดลงไปอีกเพราะว่าขนาด
ของปูดำ จะมีขนาดเล็กลงไม่โตพอที่จะทำให้ได้ราคาดี ซึ่งจากการสังเกตพบว่าชาวบ้านจะ
ไม่นิยมปล่อยปูดำขนาดเล็กแต่กลับขายราคาถูกๆ ไม่เกิน 25 บาท/ กิโลกรัม ด้วยเหตุดัง
กล่าวชาวบ้านควรร่วมมือกันในการอนุรักษ์ ลูกปูดำหรือปูดำที่มีขนาดเล็ก ทั้งนี้เพื่อให้
ปริมาณปูดำมีมากพอและควรทิ้งช่วงระยะเวลาการจับปูดำให้เหมาะสมเพื่อรอให้ปูโต พอ
ที่สร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจ แก่ชุมชนได้ และให้การประกอบอาชีพในการดักจับปูดำเป็น
อาชีพที่ยั่งยืนต่อไป

ปัญหาและอุปสรรค
1. สภาพอากาศแปรปรวน เช่น ฝนตก ลมแรง
2. อุปกรณ์ในการดักจับปูดำมีน้อย จึงต้องทดลองหลาย ๆครั้ง
3. มีระยะเวลาในการทดลองจำกัด

ข้อเสนอแนะ
1. ควรให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลรักษาป่าชายเลน โดยการสื่อให้เห็น ถึงความ
เกี่ยวพันธ์ระหว่างป่าชายเลน สัตว์ในป่าชายเลน และการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่ต้องพึ่ง
พาอาศัยกับป่าชายเลน
2. ในการดักจับปูดำควรใช้ตาข่ายตาห่างไว้ด้านล่างเพื่อให้ปูตัวที่ไม่ได้ขนาดเข้าไปแล้ว
สามารถออกได้
3. ชุมชนควรวางกฎเกณฑ์ร่วมกันในการกำหนดช่วงของการจับปูดำเพื่อให้ปูเจริญเติบโต
ได้ขนาดและราคาดี ส่วนช่วงที่ไม่ได้จับปูดำก็สามารถจับสัตว์น้ำอื่นทดแทนได้ เช่น
กุ้ง ปลา เป็นต้น
4. ช่วงที่ปูวางไข่ควรปล่อยให้ปูสามารถแพร่พันธ์จะได้เพิ่มจำนวนปูมาก
5. ร่วมกันปลูกป่าชายเลนในพื้นที่ที่ ถูกทำลายเพื่อเพิ่มที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารให้แก่ปู
ดำ