ศึกษาการเปรียบเทียบสภาพแวดล้อมบริเวณต่างๆ
ในป่าชายเลนในชุมชนบางเตย อ. เมือง จ. พังงา


โดย


1. นางสาวสุกัญญา เพชรเพ็ง ม. 4/2
2. นางสาวรักชนก ดวงจันทร์ ม. 4/2
3. นายไพรัช ศิริกุล ม. 4/2


อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์อิ่มใจ จินดาพล

รายงานเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุมนุมวิทยาศาตร์
ภาดเรียนที1 ปีการศึกษา 2545
โรงเรียนดีบุกพังงงาวิทยายน

 
 




บทคัดย่อ

                  การศึกษาสภาพแวดล้อมป่าชายเลนบริเวณต่างๆ ในชุมชนบางเตย โดยแบ่งพื้นที่ศึกษาเป็น 3 บริเวณ
คือ บริเวณป่าชายเลนใกล้นากุ้ง พื้นที่ป่าชายเลนใกล้แนวถนน และพื้นที่ป่าชายเลนห่างไกลออกไปกลางทะเลเพื่อ
สำรวจความคิดเห็นถึงประโยชน์ป่าชายเลนที่ชาวบ้านได้รับ สภาพแวดล้อมชีวภาพ กายภาพ ทางเคมี และศึกษาพฤติ
ิกรรมของหอยน้ำพริก โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสอบถามชาวบ้าน การสังเกต การทดลอง พบว่า ชาวบ้านได้รับ
ประโยชน์จากป่าชายเลนทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ละบริเวณที่ศึกษามีความหลากหลายของชนิดพืช และสัตว์ใกล
้เคียงกัน อุณหภูมิของน้ำ อากาศ และดินบริเวณป่าชายเลนที่ห่างไกลออกไปกลางทะเลมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณอื่นๆ
ระบบนิเวศทั้งสามบริเวณมีกิจกรรมและโครงสร้างไม่แตกต่างกัน

สภาพป่าชายริมถนน


บทที่ 1
บทนำ

1. ที่มาและความสำคัญ

                   จากการศึกษาพบว่าป่าชายเลนเป็นที่อยู่อาศัยของสรรพสิ่งมีชีวิต ป่าชายเลนให้ประโยชน์
แก่มวลชนมนุษย์มากมายทั้งในด้านพลังงานและไม้ใช้สอยเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ เป็นแหล่งอนุบาล
สัตว์น้ำเศรษฐกิจนานับชนิด ทั้งยังช่วยป้องกันภัยธรรมชาติ ลดความรุนแรงของคลื่นลมชายฝั่ง จังหวัด
พังงาเป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรป่าชายเลนมากที่สุดในประเทศ แต่ปัจจุบันก็ลดจำนวนลงมาก จึงทำให้
มีการฟื้นฟูป่าชายเลนขึ้นมาในชุมชนบางเตย หมู่ 6 และหมู่ 8 ตำบลบางเตยอำเภอเมือง จังหวัดพังงา
เป็นสถานที่หนึ่งที่ฟื้นฟูป่าชายเลน ซึ่งป่าที่ฟื้นฟูแต่ละแห่งก็มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน บางแห่งอยู่
ใกล้นากุ้ง บางแห่งใกล้แนวถนน บางแห่งอยู่ไกลออกไปแนวทะเล ซึ่งทำให้ทางกลุ่มซึ่งเรียนวิชาวิทยา
ศาสตร์สิงแวดล้อม ว 411 สนใจที่จะศึกษาสภาพแวดล้อมป่าชายเลนอันจะนำไปสู่การเสริมสร้างสิ่งแวด
ล้อมอย่างยั่งยืน จึงเป็นมูลเหตุจูงใจให้ทางกลุ่มจัดทำโครงงานเรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวด
ล้อมกับป่าชายเลน"

สภาพป่าชายเลนบริเวณที่มีน้ำล้อมรอบ

2. วัตถุประสงค์
    
2.1 สำรวจความคิดเห็นถึงประโยชน์ของป่าชายเลนที่ชาวบ้านบางเตย หมู่ 6 และหมู่ 8 ตำบลบางเตย
อำเภอเมือง จังหวัดพังงา ได้รับ
     2.2 ศึกษาลักษณะและเปรียบเทียบสภาพแวดล้อมชีวภาพ ทางกายภาพ ของพื้นที่ศึกษา 3 บริเวณ คือ
พื้นที่ป่าชายเลนใกล้นากุ้ง พื้นที่ป่าชายเลนใกล้แนวถนน และป่าชายเลนที่อยู่ออกไปกลางทะเล
    2.3 ศึกษาระบบนิเวศต่างๆทั้ง 3 บริเวณ
    2.4 ศึกษาพฤติกรรมของหอยน้ำพริก

สมมติฐาน สภาพแวดล้อมที่ต่างกันทำให้ป่าชายเลนแตกต่างกัน
    ตัวแปรต้น ลักษณะสภาพแวดล้อม
    ตัวแปรตาม ลักษณะป่าชายเลน
    ตัวแปรควบคุม 1. ขนาดพื้นที่ในการสำรวจ 3 บริเวณ
                              2. เครื่องมือที่ใช้ในการวัดค่า
                              3. สถานที่ทดลองสารเคมี
                              4. เวลาในการทำการสำรวจ (น้ำขึ้น น้ำลง)
3 นิยามศัพท์เฉพาะ
      3.1 สภาพแวดล้อม หมายถึง ลักษณะทางกายภาพและชีวภาพของพื้นที่ศึกษา
              - ลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ ดิน อุณหภูมิ สารประกอบคลอไรด์ และค่า pH ค่า N P K
              - ลักษณะทางชีวภาพได้แก่ ต้นพืช สัตว์
      3.2 ป่าชายเลน หมายถึง ระบบนิเวศของพื้นที่ 3 บริเวณที่ศึกษา 3 แห่ง ได้แก่
             พื้นที่ป่าชายเลนใกล้นากุ้ง พื้นที่ป่าชายเลนใกล้แนวถนน และป่าชายเลนที่อยู่ออกไปกลางทะเล

      3.3 ป่าชายเลนฟื้นฟู หมายถึง ป่าชายเลนที่ปลูกทดแทน

4 ขอบเขตในการศึกษา
       ในการศึกษาป่าชายเลนทั้ง 3 บริเวณ ในชุมชนบางเตยหมู่ 6 และหมู่ 8ตำบลบางเตย อำเภอเมือง
จังหวัดพังงา
แบ่งพื้นที่เป็น 3 บริเวณ
       4.3 พื้นที่ป่าชายเลนใกล้นากุ้ง คือ พื้นที่บริเวณหมู่ 6 และหมู่ 8 ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัด
พังงา ซึ่งเป็นป่าชายเลนที่มนุษย์ทำนากุ้งด้านหลัง
       4.4 พื้นที่ป่าชายเลนใกล้แนวถนนตัดผ่าน คือ พื้นที่ป่าชายเลนหมู่ 6 และหมู่ 8 ตำบลบางเตย อำเภอ
เมือง จังหวัดพังงา
      4.5 พื้นที่ปาชายเลนไกลออกไปโดยที่มีน้ำล้อมรอบ คือ พื้นที่บริเวณหมู่ 8 ตำบลบางเตย   อำเภอเมือง
จังหวัดพังงา


                                                   บทที่ 3
                                      วิธีการดำเนินงาน

1.อุปกรณ์และสารเคมี
1. ไม้หลัก ( ไม้ไผ่ ) 13.กรวยแก้ว
2. เชือกฟาง 14.ขวดรูปชมพู่
3. ไม้บรรทัด 15.ช้อนตวง
4. ตลับเมตร 16.หลอดหยด
5. เทอร์มอมิเตอร์ 17.ซิลเวอร์ไนเตรด
6. ขวดเก็บตัวอย่างดิน 18.pH มิเตอร์
7. ขวดเก็บตัวอย่างน้ำ 19.กรวยกรอง
8. มีด 20.กรดไฮโดรคลอริก
9. หลอดทดลอง 21.คอปเปอร์(ี)ซัลเฟต
10.กระดาษกรอง 22.เครื่องวัด pH
11.บีกเกอร์ 23.ชุดตรวจสอบวัดค่า
12.แท่งแก้วคน N P K

2. วิธีการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล
การศึกษาและรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้
     2.1 กำหนดพื้นที่ พื้นที่ศึกษากำหนดไว้ 3 บริเวณคือ พื้นที่ป่าชายเลนใกล้แนวถนน พื้นที่ป่าชายเลนใกล้นากุ้ง และพื้นที่ๆอยู่ไกลออกไปโดยมีน้ำล้อมรอบ มีเนื้อที่ 25 ตารางเมตร ในพื้นที่ 25 ตารางเมตร ก็จะแบ่งออกเป็น 5 จุด แต่ละจุดจะมีพื้นที่ 1 ตารางเมตร และในการกำหนดพื้นที่จะใช้ไม้หลักปัก 4 มุมและนำเชือกฟางมาล้อมทั้ง 4 ด้าน
     2.2 สำรวจและศึกษาลักษณะทั่วไปของพื้นที่ศึกษา
การศึกษาและสำรวจลักษณะทั่วไปโดยการเดินเก็บข้อมูลลักษณะทั่วไปของพื้นที่ศึกษา การสังเกตลักษณะเนื้อดิน โดยการหยิบดินมาขยี้ดูลักษณะเนื้อดิน ในการเก็บตัวอย่างดินเก็บจากผิวดิน และลึกลงจากผิวดิน 30 cm การสังเกตจะสังเกตจากจุดที่ 5 ของแต่ละกลุ่มบริเวณนั้นๆ (สังเกตจากภาคสนาม)
     2.3 การสำรวจทางชีวภาพ
การสำรวจทางชีวภาพมีการสำรวจ ชนิด ขนาด ปริมาณของพันธุ์ไม้
และพันธุ์หน้าดินในพื้นที่สำรวจ
          2.3.1 การสำรวจสัตว์หน้าดินยังสังเกตพฤติกรรมของสัตว์หน้าดินหนึ่งชนิด คือ หอยน้ำพริก ซึ่งสังเกตพฤติกรรมและลักษณะทั่วไปของหอยน้ำพริก
         2.3.2 การสำรวจพันธุ์พืชได้ทำการสำรวจดังนี้
                  -การนับจำนวนพันธุ์ในแต่ละจุดของพื้นที่สำรวจแล้วหาค่าเฉลี่ย
                  -การวัดขนาดของต้นพืช จะวัดทั้งความสูงและขนาดรอบวง การวัดความสูง โดยการประมาณ ส่วนการหาขนาดเส้นรอบวง ของลำต้นทำโดยการใช้เชือกพันรอบตัวแล้ววัดขนาดความยาวเชือก ที่ระดับความสูง 1 เมตร
     2.4 การเก็บข้อมูลทางกายภาพ โดยการสังเกตปริมาณแสง อุณหภูมิ น้ำ อุณหภูมิอากาศ อุณหภูมิ
ดิน สีและลักษณะเนื้อดิน (สังเกตจากภาคสนาม)

         2.4.1 การสังเกตแสง การวัดปริมาณแสง กำหนดเกณฑ์ไว้แสง3ระดับ คือปริมาณแสงมาก ปริมาณแสงปานกลาง และปริมาณแสงน้อย โดยถือว่าแสงในห้องเรียนที่อากาศแจ่มใสเป็นแสงปานกลาง ถ้ามากหรือน้อยกว่าแสงในห้อง เป็นปริมาณแสงมากหรือน้อย ตามลำดับ
         2.4.2 การวัดอุณหภูมิน้ำ วัดโดยเทอร์มอมิเตอร์ โดยจับเวลา 2 นาที (วัดจากภาคสนาม) แล้วหาค่าเฉลี่ย
         2.4.3 การวัดอุณหภูมิทางอากาศ ใช้เทอร์มอมิเตอร์ วัดโดยการจับเวลา 2 นาที โดยสัดให้สูงจากพื้นดิน 1 เมตร แล้วหาค่าเฉลี่ย (วัดจากภาคสนาม)
         2.4.4 การวัดอุณหภูมิดิน จะใช้ไม้นำก่อนลึก 15 cm3 แล้วปักเทอร์มอมิเตอร์ลงไป แล้วหาค่าเฉลี่ย (จากภาคสนาม)
         2.4.5 การสังเกตลักษณะเนื้อดิน โดยหยิบดินมาขยี้ดูลักษณะเนื้อดินการเก็บตัวอย่างดินเก็บจากผิวดิน และลึกลงไปจากผิวดิน 30 cm3 (สังเกตจากภาคสนาม)
ในการวัดอุณหภูมิดิน อากาศ น้ำ และการสังเกตลักษณะเนื้อดิน จะสังเกตและวัดจากทุกบริเวณโดยการเก็บตัวอย่างของจุดที่ 5ในแต่ละกลุ่ม
     2.5 การศึกษาและการเก็บข้อมูลทางเคมี
         2.5.1 การตรวจหาค่าความเป็นกรด-เบสของดิน โดยใช้ pH Kit for soil ของภาควิชาปฐพี คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยการเก็บตัวอย่างจากน้ำจากทุกบริเวณ โดยเก็บจากจุดที่ 5 ของแต่ละบริเวณ แล้วหาค่าเฉลี่ย
(ทดสอบจากห้องปฏิบัติการทางเคมี)
         2.5.2 วิธีสกัดธาตุอาหาร N P K จากดิน
                   2.5.2.1 วิธีการสกัดดิน
                               - เก็บตัวอย่างดินจากพื้นที่ศึกษา โดยเก็บจากผิวดินและใต้พื้นผิวดินลึก 30 cm จากจุดที่ 5ของแต่ละพื้นที่
                               - บดดินแห้งให้ละเอียดแล้วตวงดินมา 1 ช้อนตวง โดยเคาะให้แน่น แล้วปาดให้เรียบ ใส่ลงในขวดสกัด
                               - ตวงน้ำยาเบอร์ 1 มา 20 มล.โดยกระบอกตวง เทใส่ขวดแล้วปิดฝาให้แน่น
                               - เขย่าส่วนผสมนี้ 5 นาที แล้วกรองผ่านกระดาษกรองได้สารละลายใส สำหรับหา N P K ต่อไป  
                  2.5.2.2 วิธีการตรวจสอบไนเตรด
                              - ดูดสารละลายที่กรองจากดินมา 1 หลอดดูด (2.5 มล.) ใส่ลงในหลอดแก้ว
                              - เติมน้ำยาทำสีเบอร์ 4 จำนวน 0.5 มล. (ตามขีดที่กำหนดไว้ในหลอดดูด)
                              - เติมน้ำยาทำสีเบอร์ 5 จำนวน 0.5 มล.ช้อนเล็ก
                              - ปิดฝาหลอดแก้วแล้วเขย่าให้เข้ากันทิ้ง 5 นาที จึงนำหลอดแก้วไปเปรียบเทียบกับแผ่นเทียบสีมาตรฐาน เมื่อมีไนเตรดจะเกิดสีชมพู
                 2.5.2.3 วิธีการตรวจสอบฟอสฟอรัส
                             - ดูดสารละลายที่กรองจากดินมา 1 หลอดดูด (2.5 มล.) ใส่ลงในหลอดแก้ว
                             - เติมน้ำยาทำสีเบอร์ 6 จำนวน 0.5 มล. (ตามขีดที่กำหนดไว้ในหลอดดูด)
                             - เติมน้ำยาทำสีเบอร์ 7 จำนวน 0.5 มล.ช้อนเล็ก
                             - ปิดฝาหลอดแก้วแล้วเขย่าให้เข้ากันทิ้ง 5 นาที จึงนำหลอดแก้วไปเปรียบเทียบกับแผ่นเทียบสีมาตรฐาน เมื่อมีฟอสฟอรัสจะเกิดสีน้ำเงิน
              วิธีการตรวจสอบโพแทสเซียม
                            - ดูดน้ำยาทำสีเบอร์ 8 จำนวน 2 มล. ใส่หลอดแก้ว
                            - เติมน้ำยาทำสีเบอร์ 9 จำนวน 2 หยด ใส่หลอดแก้ว
                            - ดูดสารละลายกรองจากดิน 0.8 มล. ใส่หลอดแก้ว
                            - ปิดฝาหลอดแก้วแล้วเขย่าให้เข้ากันทิ้ง 5 นาที จึงนำหลอดแก้วไปเปรียบเทียบกับแผ่นเทียบสีมาตรฐาน เมื่อมีโพแทสเซียมน้อยสีส้มจะเข้มมาก และเมื่อมีโพแทสเซียมมากสีส้มจะจางลง
               วิธีการตรวจสอบแอมโมเนีย
                           - ดูดสารละลายที่กรองมาจากดิน 1 หลอด (2.2มล.) ใส่ลงในหลอดแก้ว
                           - เติมผงทำสีเบอร์ 2 ลงในหลอดแก้ว 1 ช้อนเล็ก
                           - เติมน้ำยาทำสีเบอร์ 3 ลงในหลอดแก้ว 5 หยด
                           - ปิดฝาหลอดแก้วแล้วเขย่าให้เข้ากันทิ้ง 5 นาที จึงนำหลอดแก้วไปเปรียบเทียบกับแผ่นเทียบสีมาตรฐาน เมื่อเกิดสีฟ้าเทียบกับแผนสีแบบที่ 1 หากเกิดสีเขียวเทียบกับแผ่นที่ 2
         โดยกำหนดให้ 1. คะแนนแทนค่า N P K และแอมโมเนีย ต่ำมาก
                              2. คะแนนแทนค่า N P K และแอมโมเนีย ต่ำ
                              3. คะแนนแทนค่า N P K และแอมโมเนีย ปานกลาง
                              4. คะแนนแทนค่า N P K และแอมโมเนีย สูง
                              5. คะแนนแทนค่า N P K และแอมโมเนีย สูงมาก
         2.5.3 การทดสอบคลอไรด์
                   2.5.2.1 นำดินตัวอย่างที่เก็บจากบริเวณต่างๆมา 2 ช้อนชา ใส่บีกเกอร์ขนาด 50 cm แล้วใส่ลงในน้ำไป 20 cm3 คนแล้วกรองด้วนกระดาษกรอง
                  2.5.2.2 นำสารละลายจากข้อ 1 มา 20 cm3 นำมาหยดสารซิลเวอร์ไนเตรด เข้มข้น 1.18 โมล/ลิตร จำนวนหลอดละ 2 หยด ลงในการละลาย เขย่าแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลง แล้วเปรียบเทียบความสูงของตะกอนในแต่ละบริเวณ
         โดยกำหนดให้ OOO แทนปริมาณตะกอนมาก
                                 OO แทนปริมาณตะกอนปานกลาง
                                    O แทนปริมาณตะกอนน้อย
         
2.5.4 การทดสอบซัลไฟด์
                   2.5.3.1 เก็บตัวอย่างดินจากป่าชายเลนทั้ง 3 บริเวณ โดยเก็บจากผิวดินและใต้พื้นผิวดินลึก 30 cm
                   2.5.3.2 นำดินแต่ละบริเวณใส่ในหลอดทดลองขนาดใหญ่ ปริมาณ 2 ช้อนชา ช้อนเบอร์ 2
                   2.5.3.3 หยดสารละลายไฮโดรคลอริก เข้มข้น 6 โมล/ลิตร จำนวน 10 หยด
                   2.5.3.4 นำสารทดสอบซัลไฟด์ ( จากการนำกระดาษกรองมาตัดให้ได้ขนาด 3๛2 cm จุ่มในสารละลายคอปเปอร์ (ี)ซัลเฟต แล้วผึ่งให้แห้ง) มาปิดบนปากหลอดทดลองที่ได้หยดสารละลายไฮโดรคลอริกไว้แล้ว จากนั้นจึงนำกระดาษกาวมาติดไว้ที่ปากหลอด
                              
- วางทิ้งไว้ 15 นาที แล้วนำกระดาษออกมาเปรียบเทียบสีของบริเวณต่างๆ
                               - ดมกลิ่นเพื่อเปรียบเทียบ


                 


                                                                   บทที่ 5
                                                        สรุปและอภิปรายผล

สรุป
          จากการศึกษาเปรียบเทียบสภาพแวดล้อมป่าชายเลนบริเวณต่างๆ 3 ในชุมชนบางเตย
ตำบล บางเตย อำเภอ เมือง จังหวัด พังงา ทั้ง 3 บริเวณ คือ บริเวณใกล้แนวถนน บริเวณใกล ้
นากุ้ง และบริเวณที่ห่างออกไปซึ่งมีน้ำทะเลล้อมรอบ โดยการรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจ
ความคิดเห็น สังเกตและทดลองทางเคมีพอสรุปผลงานได้ดังนี้
1. ประโยชน์ของป่าชายเลน ชาวบ้านได้รับประโยชน์จากป่าชายเลนมากมาย การใช้สอยไม้
การเป็นแนวกำบังแรงลมและเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนซึ่งจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจของชาว
บ้าน ลักษณะทางชีวภาพและกายภาพ
2. บริเวณศึกษาทั้งสามบริเวณมีความหลากหลายของชนิดพืชและสัตว์ใกล้เคียงกัน แต่บริเวณ
ที่ห่างไกลออกไปจะพบหอยจุ๊บแจงและมดมากกว่าบริเวณอื่นส่วนพืชที่พบบริเวณใกล้แนวถนน
มีมากกว่าบริเวณอื่น และบริเวณที่ห่างไกลออกไปจะมีขนาดใหญ่กว่าที่อื่น
3. ลักษณะทางกายภาพ อุณหภูมิดิน น้ำ และอากาศในบริเวณที่ห่างไกลออกไปจะมีอุณหภูมิสูง
กว่าบริเวณอื่น ส่วนปริมาณแสงก็จะมีมากกว่าบริเวณอื่น
4. ลักษณะเม็ดดินแต่ละบริเวณมีลักษณะที่แตกต่างกัน คือ ป่าชายเลนใกล้แนวถนน ดินมี
ลักษณะสีดำปนแดง ป่าชายเลนที่ใกล้บริเวณนากุ้งดินมีลักษณะสีดำอมเทา ป่าชายเลนที่ไกล
ออกไปโดยมีน้ำล้อมรอบบางส่วนเป็นสีขาวบางส่วนเป็นสีดำ สีของดินที่ลึก 30 cm ทุกบริเวณจะ
มีสีใกล้เคียงกันส่วนกลิ่นของดอนทุกบริเวณจะมีกลิ่นเหม็น ยกเว้นบริเวณที่ไกลออกไปโดยมีน้ำ
ล้อมรอบ
5. ความเป็นกรด-เบส ขงดินป่าชายเลนใกล้เคียงกัน บริเวณที่ห่างไกลออกไปมีความเป็นกรด
มากที่สุดส่วนที่นากุ้งมีความเป็นกรดน้อยที่สุด
6. ปาชายเลนทั้งสามบริเวณสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน
7. ระบบนิเวศของทั้งสามบริเวณ คือ กิจกรรมในการถ่ายทอดพลังงาน การหมุนเวียนของธาตุ
อาหาร และโครงสร้างไม่แตกต่างกัน
8. ลักษณะที่พบเกี่ยวกับหอย คือ เมื่อน้ำขึ้นจะพบหอยตามต้นไม้ เมื่อน้ำลดลงจะพบตามดิน
เลน กิ่งไม้ และเศษใบไม้ตามพื้นดิน


อภิปรายผล
             1. ชาวบ้านทุกที่ตอบแบบสอบถามว่าป่าชายเลนทั้งหมดทีประโยชน์ และเกือบทั้งหมด
มีอาชีพประมง และสัตว์น้ำจับได้มากทำรายได้ให้ชาวบ้านตลอดปี คือ การวางอวนปูม้าเป็นที่
ทราบกันดีว่า ปูม้าจะไม่อาศัยในป่าชายเลน แต่สภาพภูมิประเทศของหมู่บ้านมีพื้นที่ป่าชายเลน
ล้อมรอบ จึงส่งผลให้กระแสน้ำบริเวณอ่าวที่วางอวนปู เป็นกระแสน้ำเย็น ทำให้ปูม้าชุกชุม เพราะ
ปูม้าชอบกระแสน้ำเย็น และนอกจากนี้สังเกตเห็นได้ว่า เมื่อชาวบ้านออกทะเลไป หาปู หาปลา
จะพบเศษใบไม้ที่อยู่ในป่าชายเลนถูกพัดพาตามน้ำมา เศษไม้เหล่านี้อาจเป็นอาหารของสัตว์น้ำ
ในทะเลและนอกจากนี้เมื่อฤดูวางไข่ปูม้า มันก็จะวางไข่ในป่าชายเลน ทำให้ชาวบ้านจับปูม้าได้
ตลอดปีนอกจากนี้ชาวบ้านยังนำไม้ในป่าชายเลนมาใช้ประโยชน์มากมาย เช่น แสมทำหลังคา
โปรงทำอวน เป็นต้น แต่พืชเหล่านี้ชาวบ้านจะไม่ตัดในพื้นที่ด้านหน้าและด้านหลังหมู่ที่ 8
เพราะช่วยกันความแรงของมรสุม และไม้ที่นำไปใช้จะต้องไปตัดในบริเวณอื่น แต่เป็นที่น่าสังเกต
ว่า การฟื้นฟูป่าชายเลนในหมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 8 ในปี พ.ศ.2536-2538 จะปลูกต้นโกงกางใบใหญ่
โกงกางใบเล็ก โปรง ถั่ว ซึ่งการฟื้นฟูจะไม่ตรงกับการใช้ของชาวบ้าน แสดงให้เห็นว่า ในการปลูก
ป่าชายเลนไม่ได้หวังการใช้เพียงอย่างเดียว แต่หวังประโยชน์ทางอ้อม เช่นการอนุบาลสัตว์น้ำวัย
อ่อน ป้องกันพายุ ฟื้นฟูสภาพดิน
2. ลักษณะทางกายภาพและชีวภาพ
2.1 ลักษณะทางชีวภาพ
จากการสำรวจพบวา จำนวนสัตว์ทุกชนิดโดยรวม จะพบมากในป่าชายเลน ใกล้นากุ้ง อาจอธิบาย
ได้ว่าบริเวณรอบๆนากุ้ง มีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหาร ทีมีอยู่ในนากุ้งแล้วหลุดลอดออกมา
หรืออาจเกิดการปล่อยออกมา ซึ่งสอดคล้องกับผลทดลองที่พบธาตุโปรแทสเซียม บริเวณใกล้นากุ้ง
มากกว่าบริเวณอื่นลักษณะพันธุ์พืชที่พบ ไม้หลายชนิดเป็นพืชที่เกิดเองตามธรรมชาติ เช่น
ไม้แสม ลำพูน ตะบูน เป็นไม้เบิกนำ จะเป็นไม้ที่เกิดก่อนเพื่อปรับสภาพดินให้ดีขึ้น และไม้ชนิดอื่นค่อยเกิดตามมา และพบว่าไม้ที่เกิดห่างกันจะมีขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านสาขามาก ไม่ค่อยเป็นที่ต้องการของชาวบ้าน ส่วนไม้ที่ขึ้นอย่างหนาแน่น ต้นจะตรงแม้มีขนาดเล็กก็สามารถนำมาใช้งานได้ เช่น ทำไม้หลักกระชัง ไม้หลักทำโพงพาง แต่ต้นไม้ขนาดใหญ่จะมีผลสามารถใช้ในการขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนได้
2.2 ลักษณะทางกายภาพ
2.2.1 อุณหภูมิน้ำ อุณหภูมิดิน และอุณหภูมิอากาศในป่าชายเลน ที่ห่างไกลออกไปกลางทะเล พบว่าอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณอื่นๆ ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณแสงที่พบว่ามีปริมาณมากกว่าบริเวณอื่นๆ เช่นกัน เนื่องจากต้นไม้บริเวณนี้ส่วนใหญ่จะสูง อยู่ห่างกัน หรือต้นมันแยกจากกัน เนื่องจากอยู่บริเวณที่โล่ง มีลมปะทะเต็มที่ จาการสังเกตต้นไม้มักเอนลู่ตามแรงลมบ้าง หรือที่มีอุณหภูมิสูงเนื่องจากได้รับแสงตลอดเวลา เช้า เที่ยง เย็น จึงทำให้ป่าชายเลนที่ห่างไกลออกไป มีอุณหภูมิน้ำ อุณหภูมิดิน และอุณหภูมิอากาศสูงตลอด ส่วนป่าชายเลนใกล้นากุ้ง บริเวณๆเหล่านี้มีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าบริเวณอื่น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมีจำนวนพืช และความสูงพืชในปริมาณที่มาก จึงทำให้กิ่งก้านสาขาของพันธุ์พืช บดบังแสงแดดที่ส่องมายังบริเวณดังกล่าว จึงทำให้มี อุณหภูมิน้ำ อุณหภูมิดิน และอุณหภูมิอากาศ ต่ำกว่าบริเวณอื่นถึงสามช่วง คือ เวลา
2.2.2 ปริมาณแสงแดด ป่าชายเลนใกล้นากุ้งและป่าชายเลนใกล้แนวถนนมีปริมาณแสงแดดปานกลางซึ่งเป็นค่าที่น้อยที่สุดทั้งนี้อาจเป็นผลเนื่องมาจากการบดบังแสงแดดตลอดทั้งวันจึงทำให้ได้รับปริมาณแสงแดดมากกว่า
2.2.3 ลักษณะสีดินป่าชายเลนทั้งสาม เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วพบว่ามีสีของดินต่างกัน คือ ป่าชานเลนใกล้แนวถนนดินมีสีดำปนส้ม ซึ่งอาจเกิดจากการนำดินเหนียวที่มีสีแดงมาทับถมกันในขณะสร้างถนนและดินที่มีสีดำนั้นคือดินโคลนที่มีอยู่แล้วในป่าชายเลน ป่าชายเลนใกล้นากุ้งมีลักษณะเป็นดินสีดำอมเทาซึ่งเป็นลักษณะของดินแข็งอาจเกิดจากการทับถมของขี้กุ้งที่ชาวบ้านเลี้ยงแล้วปล่อยออกสู่ป่าชายเลนอย่างไม่ถูกต้องและในบางพื้นที่อาจมีสีส้มอาจเกิดจาดธาตุเหล็กที่เหลืออยู่ในเหมืองแรดีบุก (ดีบุกถูกนำไปใช้ส่วนธาตุอื่นที่ปะปนจะถูกทิ้งไว้) ป่าชายเลนที่อยู่ไกลออกไปมีทะเลล้อมรอบมีดินสีขาวปนดำ ซึ่งสีขาวเป็นสีของสีทรายที่เกิดจากการทำเหมืองแร่ดีบุก ส่วนดินดำเป็นสีของดินโคลนมที่มีซากพืชของดินเลน
3. ระบบนิเวศ พื้นที่ป่าชายเลนใกล้แนวถนน เป็นดินทรายเนื่องจากการบุกรุกป่าชายเลน โดยการทำเหมืองแร่ทำให้สภาพดินเสื่อมโทรม จึงเกิดการฟื้นฟูของป่าชายเลนขึ้น แต่พื้นที่ๆเป็นดินทรายจะเหมาะแก่การปลูกไม้แสม ลำพู เพราะเป็นไม้นำร่อง คือมีระบบรากแบบแท่งดินสอช่วยในการดักตะกอนของซากสัตว์ ให้ทับถมจนเกิดดินทรายกลับกลายเป็นดินโคลน
พื้นที่ป่าชายเลนบริเวณนากุ้ง การเลี้ยงกุ้งจะต้องมีการถ่ายน้ำและสูบน้ำเข้าบ่อ ซึ่งการสูบแต่ละครั้งจะมีสัตว์วัยอ่อนติดมาด้วยและตายในที่สุดทำให้สัตว์น้ำตามธรรมชาติลดลง นอกจากนั้นในนากุ้งมีการปล่อยสารเคมี จากการสำรวจพบว่าหอยมีกลิ่นเหม็นสารเคมี อาจเป็นเพราะหอยดูดกรองของเสีย บริเวณที่ห่างไกลออกไปโดยมีน้ำล้อมรอบเป็นป่าชายเลนที่ชาวบ้านอนุรักษ์ไว้เพื่อป้องกันความรุนแรงของลมมรสุม นอกจากนี้บริเวณพื้นที่นี้ ลักษณะของเนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายซึ่งเป็นที่อยู่ของหอยพงโดยที่หอยพงเป้นอาหารของปูม้า
4. การทดสอบคลอไรด์ เป็นการทดสอบเกลือได้ส่วนหนึ่ง ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องไปถึงความเค็มของดินและส่งไปยังพืชและสัตว์ต่อไป การทดสอบคลอไรด์ดังสมการ
Cl- (aq) + Ag+ (aq) ฎ AgCl (s)
(ตะกอนสีขาว)
และหากบริเวณใดมีซัลไฟด์มากเป็นการบ่งบอกถึงความเสื่อมโทรมของดินเนื่องจากการขาดออกซิเจนและจากการทดลองไม่พบซัลไฟด์ อาจการทดลองในห้องปฏิบัติการไม่ได้ทดลองในภาคสนาม
5. การทดสอบสารอาหารในดิน พบว่าในดินชั้นบนในบริเวณป่าชายเลนที่อยู่ห่างออกไปกลางทะเล มีไนเตรดและฟอสฟอรัสสูงกว่าบริเวณอื่นๆมากเป็นตัวบ่งบอกได้ส่วนหนึ่งว่าบริเวณดังกล่าวมีดินอุดมสมบูรณ์ที่เกิดจากธรรมชาติ ซึ่งมีสัตว์มากพอสมควร แต่สำหรับป่าชายเลนใกล้บ่อกุ้ง มีธาตุอาหารโปรแทสเซียมมากเป็นพิเศษซึ่งน่าจะเกิดจากอาหารของกุ้งที่ถูกปล่อยออกมากับน้ำ และมีข้อสังเกตว่า ป่าชายเลนใกล้บ่อกุ้งและใกล้แนวถนน ดินชั้นบนและดินชั้นไม่แตกต่างกันมากนัก
6. ระบบนิเวศในป่าชายเลน เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันทั้งกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและทางเคมี ซึ่งพบว่ามีการแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย เช่นบริเวณที่ห่างไกลออกไปมีแสงมากทำให้อุณหภูมิน้ำ ดิน สูงและธาตุอาหารในดินชั้นบนและดินชั้นล่างจะแตกต่างกันมากอย่างเห็นได้ชัดซึ่งแตกต่างกับป่าชายเลนถูกรบกวนจากมนุษย์มากลักษณะ ดินชั้นบนและดินชั้นล่างจะแตกต่างกันน้อยมากจนไม่แตกต่างกัน ซึ่งมีผลต่อสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ซึ่งอาจมองเห็นชัดขึ้นในระยะยาวต่อไป และพบว่าบริเวณนากุ้งมีธาตุอาหารโปแทสเซียมมากจึงพบสัตว์เป็นจำนวนมาก
7. หอยน้ำพริกเป็นหอยที่พบมากใกล้บริเวณนากุ้ง เนื่องจากหอยน้ำพริกมากินอาหารที่ถูกปล่อยออกจากนากุ้ง ด้วยหอยน้ำพริกเป็นสัตว์ที่เคลื่อนที่ช้า จึงสังเกตพฤติกรรมได้ง่าย และจากลักษณะที่อยู่กับที่ของหอย จึงสามารถนำหอยมาวิเคราะห์เพื่อหาสารพิษ หรือโลหะหนักบริเวณนั้นๆได้


ข้อเสนอแนะ
1. อาจมีการศึกษารายละเอียดของดินในบริเวณนั้นๆ โดยใช้ช่วงตามฤดูกาล เพื่อปรับสภาพดินกับการเจริญเติบโตของไม้ป่าชายเลนแต่ละชนิดในแต่ละพื้นที่
2. ในป่าชายเลนมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากหลายสาเหตุ เช่นน้ำขึ้นน้ำลง ฤดูกาล สภาพดินฟ้าอากาศ และจากมนุษย์และสัตว์ การเก็บข้อมูลบางอย่างจึงควรเก็บข้อมูลซ้ำๆหลายครั้ง

ปัญหาอุปสรรค
1. เครื่องมือไม่พร้อม
2. มีฝนตกซึ่งมีอุปสรรคในการเก็บข้อมูล