บทที่
1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
ด้วยจังหวัดพังงา
มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย โดยเฉพาะทรัพยากรป่าชายเลน ได ้
ชื่อว่ามีมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบ กับจังอื่น
ๆแต่ถ้าเมื่อเทียบกับ
จังหวัดพังงาในอดีตแล้ว พบว่า พื้นที่ป่าชายเลนลดลงเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมนุษย์เข้า
ไปทำลายป่าชายเลนเพื่อใช้ประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ กัน โดยไม่ได้วางแผนการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน อย่างรอบคอบ เป็นเหตุให้ป่าเสื่อมโทรม จึงมีกลุ่มชาวบ้าน
รวมกันจัดทำโครงงานปลูกป่าชายเลน จึงเกิดป่าฟื้นฟูขึ้น ซึงกลุ่มของข้าพเจ้ามีส่วนร่วมของ
การปลูกป่า มีข้อสงสัยว่า ระหว่างป่าฟื้นฟูกับป่าดั้งเดิม ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
ระบบนิ
เวศน์แตกต่างกันอย่างไร เพื่อจะได้เป็นข้อมูล ในจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรป่าชาย
เลนของจังหวัดพังงาในอนาคต จากเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้เกิดโครงงาน
การเปรียบเทียบ
ป่าชายเลนฟื้นฟูกับป่าชายเลนดั้งเดิม
ป่าชายเลนดั้งเดิม
|
ป่าชายเลนพื้นฟููู
|
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเปรียบสิ่งมีชีวิต และระบบนิเวศน์ ในป่าชายเลนดั้งเดิมกับป่าชายเลนฟื้นฟู
2. สังเกตพฤติกรรมของสัตว์ชนิดหนึ่งในป่าชายเลน นั้นคือ ปู
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. สิ่งมีชีวิต คือ พืชที่เป็นพืชยืนต้น ส่วนสัตว์ที่ศึกษาเป็นสัตว์หน้าดิน
2. ระบบนิเวศ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ขอบเขตในการศึกษา
พื้นที่บริเวณที่เราจะศึกษาได้แก่
1. ป่าชายเลนดั้งเดิม คือ ป่าชายเลนอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา หมู่บ้านท่าด่าน
ตำบลเกาะ
ปันหยี อำเภอเมือง จังหวัดพังงา
2. ป่าชายเลนฟื้นฟู คือ ป่าชายเลนที่ปลูกใหม่ (ปลูกเมื่อปี พ.ศ. 2537)
บริเวณหมู่ 6-8 ตำบล
บางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา
บทที่ 3
วิธีการศึกษาและรวบรวมข้อมูล
ในการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลได้ดำเนินการดังนี้
1.อุปกรณ์
1.ไม้หลัก 6.pH มิเตอร์
2.เชือกฟาง 7.เครื่องวัดความเค็ม
3.ไม้บรรทัด 8.ขวดเก็บตัวอย่างดิน
4.ตลับเมตร 9.ขวดเก็บตัวอย่างน้ำ
5.เทอร์โมมิเตอร์ 10.มีด
2.วิธีการศึกษา
การศึกษาแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ คือ
2.1 สำรวจลักษณะทั่วไปของพื้นที่การศึกษา
- บริเวณพื้นที่ป่าชายเลนดั้งเดิมคือ บริเวณป่าชายเลนแถบหมู่บ้านท่าด่าน
ตำบล
เกาะปันหยี อำเภอเมือง จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าชายเลนที่เกดขึ้นเองตามธรรม
ชาติ เป็นเวลานานมาแล้ว
-พื้นที่ป่าชายเลนฟื้นฟู คือ ป่าชายเลนแถบหมู่บ้านบางพัฒน์ อำเภอ เมือง
จังหวัดพังงา เป็นป่าเสื่อมโทรม แต่ชาวบ้านและคณะครู นักเรียน จากโรงเรียน
ต่าง ๆ ได้ร่วมกันปลูก
เมื่อ ปี พ.ส. 2537 มีเนื้อที่ประมาณ 290 ไร่
2.2 การสำรวจทางชีวภาพของพื้นที่ศึกษา
การสำรวจทางชีวภาพ มีการสำรวจ ชนิด ปริมาณ ของพันธ์ไม้และสัตว์น้ำในพื้นที่
2
แห่ง ที่ได้ไปศึกษา คือ พื้นที่ป่าดั้งเดิม และพื้นที่ป่าฟื้นฟู โดยการสุ่มตัวอย่างดังนี้
ในแต่ละพื้นที่ศึกษา จะกำหนดเป็น 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มให้มีเนื้อที่ประมาณ
25 ตาราง
เมตร ( กว้าง 5 เมตร ยาว 5 เมตร ) ในพื้นที่ 25 ตารางเมตร นั้นก็จะแบ่งออกเป็น
5 จุด ซึ่งแต่ละจุดจะแบ่งพื้นประมาณ 1 ตารางเมตรดังภาพ
2.2.1 การสำรวจสัตว์น้ำบริเวณหน้าดิน
จะสำรวจโดยการนับจำนวนของสัตว์น้ำที่
พบเห็น โดยสังเกตทุก 3 กลุ่ม และแต่ละกลุ่มจะแงเป็น 5 จุด ของพื้นที่ศึกษา
เพื่อคอย
สังเกตจำนวนสัตว์ ชนิดพันธ์ของสัตว์ รวมไปถึงสังเกตพฤติกรรมของสัตว์ชนิดหนึ่งนั้น
ก็คือ ปูก้ามดาบ
การศึกษาปูก้ามดาบ จะศึกษา ลักษณะดังต่อไปนี้
1. สังเกตลักษณะทั่วไป
2. สังเกตลักษณะการเคลื่อนที่
3. สังเกตลักษณะการกิน
2.2.2 การสำรวจพืช และพันธ์ไม้
ได้ทำการสำรวจดังนี้
- การนับจำนวน ชนิดของพันธ์พืช ในแต่ละจุดของพื้นที่สำรวจ ในแต่ละจุดของพื้นที่สำรวจ
และหาค่าเฉลี่ย
- การวัดความสูงของต้นไม้ โดยการวัดจากพื้นดินถึงยอดสูงสุดและหาค่าเฉลี่ย
2.3 การเก็บข้อมูลทางกายภาพ
เป็นลักษณะการเก็บข้อมูล โดยการสังเกตแสง อุณหภูมิน้ำ อุณหภูมิอากาศ
อุณหภูมิดิน และรวมไปถึง การสังเกตลักษณะของดิน
2.3.1 ในการสังเกตแสง ใช้เกณฑ์สามระดับดังนี้
คือ แสงมาก แสงน้อย
แสงปานกลาง โดยถือว่าแสงในห้องเรียนวันที่อากาศแจ่มใสเป็นแสงปานกลาง
2.3.2 การวัดอุณหภูมิน้ำ ใช้เทอร์มอมิเตอร์วัดน้ำ
โดยวัดในจุดย่อยทั้ง 5 จุด
ของพื้นที่สำรวจ ในพื้นที่ป่าชายเลนดั้งเดิม และพื้นที่ป่าชายเลนดั้งเดิม
และพื้นที่
ป่าชายเลนฟื้นฟู ซึงเวลาในการวัด จับเวลา 2 นาที แล้วหาค่าเฉลี่ยโดยประมาณ
2.3.3 การวัดอุณหภูมิอากาศ ทำได้โดยการใช้เทอร์มอมิเตอร์วัดตามปกติ
โดย
วัดจาก ระยะห่างระหว่างพื้น ดิน ประมาณ 1 เมตร ซึ่งในการวัดจับเวลา
2 นาที แล้วหาค่าเฉลี่ยนอกจากการวัดอุณหภูมิของดินแล้ว ยังมีการสังเกตลักษณะเมล็ดดิน
และสีของดิน ลักษณะเมล็ดดิน โดยใช้มือสัมผัส
2.4 การทดสอบทางเคมี
2.4.1 ตรวจความเป็นกรด-เบส ของน้ำ
โดยเก็บตัวอย่างน้ำ ใต้ดินลึกประมาณ
15 เซนติเมตร ในบริเวณ ของแต่ละจุด ของป่าชายเลนดังเดิม และป่าชายเลนฟื้นฟู
มาหาค่า ความเป็นกรดเบส ของน้ำ ด้วย pH มิเตอร์
2.4.2 ความเค็มของน้ำ หาได้โดย
การเก็บตัวอย่างน้ำ ในดินลึกประมาณ 15 ซม. ในบริเวณของแต่ละจุด ของพื้นที่ป่าชายเลนดั้งเดิม
และป่าชายเลนที่ได้รับการฟื้นฟูมา
หาค่าความเค็มของน้ำ ด้วยเครื่องมือวัดความเค็ม