เพื่อการใช้พื้นที่ป่าชายเลนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการอนุรักษ์ป่าไว้ตลอดไปในขณะ
เดียวกันก็ช่วยลดกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงป่าชายเลนเพื่อกิจกรรมอื่นๆนอกเหนือจากการทำ
้ดังกล่าวข้างต้น รัฐควรกำหนดนโยบายหลักไว้ดังนี้ |
1)
การใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนจะต้องยึดพื้นฐานให้ได้ประโยชน์สูงสุดและตลอดไป
(sustainable yield) และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและความเหมาะสมของพื้นที่
โดยมีมาตรการที่รัดกุมและเพียงพอ
2) การเปลี่ยนสภาพพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อกิจกรรมอื่นๆ จะพิจารณาเฉพาะกิจกรรมที่ทำให้เกิดผลกระทบ
ต่อระบบนิเวศและทรัพยากรป่าชายเลนน้อยที่สุดเป็นอันดับแรก
3) การใช้พื้นที่ป่าชายเลนควรควรเน้นการใช้ประโยชน์แบบผสมผสานมากกว่าที่จะใช้ประโยชน์
์เพื่อกิจกรรมหนึ่งกิจกรรมใดแต่เพียงอย่างเดียว
4) การฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนป่าชายเลนที่ผ่านการใช้ประโยชน์ไปแล้วให้กลับคืนสู่สภาพป่าชายเลนที่สมบรูณ์
์เป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
5) การปลูกป่าชายเลนขึ้นใหม่ในพื้นที่ที่มีศักยภาพ เช่น
พื้นที่หาดเลนงอกใหม่ให้มากขึ้นเป็นต้น |
6)
การวิจัยและการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้พื้นที่ป่าชายเลนอย่างมี
ประสิทธิภาพการกำหนดเขตพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินป่าชายเลนจากอดีตถึงปัจจุบันพื้นที่ป่าชายเลน
ของประเทศไทยได้ถูกทำลายและเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย หากปล่อยให้อยู่ในสภาพเช่นนี้ต่อไป
พื้นที่ป่าชายเลนของประเทศจะลดลงเรื่อยๆ และอาจจะหมดไปในอนาคต ด้วยเหตุนี้รัฐจึงจำเป็นจะต้อง
มีการกำหนดเขตการจัดการใช้พื้นที่เป็นกรอบและแนวทางสำหรับการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลน
ขั้นตอนและวิธีการในการกำหนดเขตเขตการจัดการใช้พื้นที่ป่าชายเลน ได้แสดงรายละเอียดดังภาพที่
10-1กล่าวคือ จะต้องศึกษาถึงสภาพปัจจุบันของป่าชายเลนและพื้นที่ใกล้เคียงโดยใช้เทคนิคการ
แปลภาพดาวเทียมพร้อมทั้งศึกษารายละเอียดทางด้านนิเวศวิทยาของป่าชายเลนเป็นต้นว่าความอุดม
สมบรูณ์ของป่า คุณสมบัต ิของดินและน้ำ การขึ้นลงของน้ำทะเล ความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำใน
ป่าชายเลนแต่ละแห่ง ลักษณะภูมิประเทศตลอดจนสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประชากรที่อาศัยอยู่
ในป่าชายเลน และบริเวณใกล้เคียงนำมาพิจารณาในการแบ่งเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้แน่นอนเขต
การใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนจากการประชุมระหว่างประเทศในด้านป่าชายเลนหลายครั้งทั่วโลก
ผู้เชี่ยวชาญ นักวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ นักวางแผนและผู้เกี่ยวข้องในการจัดการและอนุรักษ์ป่า
ชายเลนได้กำหนดแบ่งออกเป็น 3 เขตใหญ่ๆคือ |
1)
เขตสงวน (Preservation zone) เป็นพื้นที่ป่าชายเลนที่มีความสมบูรณ์โดยสภาพทางภูมิศาสตร์
เป็นที่กำบังคลื่นลม ป้องกันการพังทลายของดินเป็นแหล่งอาหารที่อยู่และวางไข่ของสัตว์น้ำ
หากพื้นที่มีทิวทัศน์ที่สวยงามอาจจะกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติและแหล่งรักษาพันธุ์น้ำ
และโดยเหตุที่เป็นป่าชายเลนที่มีระบบนิเวศที่สมบูรณ์จึงเหมาะสมที่จะรักษาไว้เพื่อการศึกษาและวิจัยอีกด้วย
2) เขตอนุรักษ์ (Conservation zone) เป็นบริเวณพื้นที่ป่าชายเลนที่มีสภาพอุดมสมบูรณ์
หรือ
ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ แต่โดยลักษณะความสำคัญและจำเป็นไม่ถึงขั้นที่จะต้องสงวนไว้
ป่าชายเลนในเขตนี้อนุญาตให้มีการตัดฟันไม้ได้โดยปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและเงื่อนไขต่างๆ
ที่รัฐกำหนดไว้ เพื่อให้เกิดผลประโยชน์อย่างต่อเนื่องและตลอดไป |
นอกจากนี้พื้นที่ป่าชายเลนแถบนี้ยังเป็นแหล่งจับปลาและสัตว์น้ำอื่นๆของประชากรที่อาศัยในป่าชายเลนและพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย
3) เขตพัฒนา (Development zoo) เป็นบริเวณพื้นที่ป่าชายเลนที่มีสภาพความอุดมสมบรูณ์ต่ำ
มากหรือเสื่อมโทรมหรือพื้นที่ว่างเปล่า และมีความสำคัญทางนิเวศวิทยาน้อย
ป่าชายเลนในเขตนี้ สามารถนำมาใช้ในการปลูกป่าขึ้นมาใหม่หรือพัฒนาในรูปแบบต่างๆได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่โดย
มีเงื่อนไขไม่ให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชายเลนใกล้เคียงเขตพื้นที่ป่าชายเลนดังกล่าวจะต้องมีการ
หมายแนวเขตให้ชัดเจนและจะต้องยึดถือเป็นแนวปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และกำหนดให้เป็นแผนการ
จัดการใช้พื้นที่ป่าชายเลนของชาติสำหรับการจำแนกเขตการจัดการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชาย
เลนของประเทศไทยซึ่งจัดทำเสร็จเรียบร้อยและได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
15 ธันวาคม
2530 ให้ใช้เป็นแนวทางการใช้พื้นที่ป่าชายเลนของประเทศนั้น ได้แบ่งพื้นที่ป่าชายเลนทั้งที่มีการใช้
้ประโยชน์และที่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์ในปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 3,724.48
ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ
2,327,800 ไร่ออกเป็น 3 เขต โดยให้สอดคล้องกับนโยบายการป่าไม้ของประเทศคือ
เขตอนุรักษ์ เนื้อที่ 426.78 ตารางกิโลเมตร หรือ 266,737 ไร่ เขตเศรษฐกิจ
ก. เนื้อที่ 1,996.89 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,248,056 ไร่ และเขตเศรษฐกิจ
ข. เนื้อที่ 1,300.81 ตารางกิโลเมตร หรือ 813,006 ไร่
ในการพิจารณากำหนดเขตการจัดการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลนในประเทศไทยได้กำหนดขึ้นจากวิธีการสำรวจศึกษาและวิจัย
โดยอาศัยข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศ ภาพจากดาวเทียม LANDSAT แผนที่ระวางของกรมแผนที่ทหาร
มาตรส่วนส่วน 1 ต่อ 50,000 แผนที่สงวนแห่งชาติ |
|