ระบบวนวัฒนวิธีที่ใช้กับป่าชายเลน การจัดการสวนป่าชายเลนเอกชนนั้นทำมายาวนานถึง 60 ปี แล้วที่สวนป่าโกงกางหมู่บ้านยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามมีเนื้อที่ประมาณ1,600ไร่ การจัด
การสวนป่าไม้โกงกางของรัฐเริ่มครั้งแรกที่ปัตตานี
           ข้อควรพิจารณาป่าชายเลนในประเทศไทยการจัดการป่าชายเลนโดยใช้ระบบวนวัฒนวิธีตัดหมด
ในแนวสลับ ประสบผลสำเร็จทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้ได้ประโยชน์จากป่าชายเลนอย่างสูงสุดควร
พิจารณาการปฏิบัติดังต่อไปนี้
            การใช้ระบบวนวัฒนวิธี "ตัดหมดในแนวสลับ" หรือ "Clear Felling in Alternate Strips" เป็น
วิธีที่ใช้กันทั่วไปเพราะการควบคุมดูแลเป็นไปได้สะดวก และการปลูกก็ทำได้ดี แต่สิ่งที่สำคัญจะต้องระวัง
เสมอคือ
1. การตัดไม้ในแนวมักจะตัดบริเวณใกล้แม่น้ำลำคลองโดยมิได้ตัดตลอดทั้งแนวถึงด้านในสุด ผู้รับสัมปทาน
อ้างว่าการนำไม้ที่ตัดออกสู่ทะเลทำได้ยาก ดังนั้นเจ้าหน้าที่ต้องบังคับให้มีการตัดตลอดแนว
2. หลังจากมีการตัดไม้แล้ว ควรนำรากไม้หรือกิ่งไม้ที่ได้ขนาดควรนำไปใช้ประโยชน์ด้วย เศษไม้ที่เหลือควร
เก็บให้เรียบร้อย ถ้ามีมากเกินไปควรนำออกไป เพื่อมีให้เป็นอุปสรรคต่อการปลูกที่จะตามมา
3. การปลูกไม้ในแนวตัดฟันหากเป็นบริเวณที่น้ำท่วมถึงสม่ำเสมอก็จะไม่ค่อยมีปัญหา แต่หากเป็นบริเวณ
มีน้ำทะเลท่วมเป็นครั้งคราวต้องให้มีการขุดแพรกเพื่อให้น้ำทะเลท่วมถึง เพื่อช่วยในการเจริญเติบโต แต่
หากมีการลงทุนสูงเกินไปก็อาจมีการผ่าอนผันให้ปลูกพันธุ์ไม้อื่นได้
4. การปลูกไม้โกงกางทดแทนจะต้องให้ผู้รับสัมปทานดำเนินการ และจะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลรับผิดชอบ
5. ปัญหาที่สำคัญและเป็นอุปสรรคคือการลักลอบตัดไม้ผิดกฎหมาย และตัดไม้ผิดแปลง ซึ่งเจ้าหน้าที่จำเป็น
ต้องตรวจตราอย่างเคร่งครัด
          การจัดการเกี่ยวกับสวนป่าชายเลนการจัดการสวนป่าชายเลนส่วนใหญ่เป็นสวนป่าไม้โกงกางใน
ปัจจุบันยังไม่ประสบผลดีมากนัก ทั้งที่ปลูกโดยรัฐและเอกชน การปลูกที่ดำเนินอยู่จะคอยดูแลเพียง 1-2 ปี สิ่งที่ควรพิจารณาและสมควรดำเนินการอย่างยิ่งเกี่ยวกับสวนป่าโกงกางคือ
1. ควรตัดสางสวนป่าที่มีอายุ 5-6 ปี เมื่อใช้ระยะรอบตัดฟัน 10 หรือ 20 ปี ปลูกห่าง 1x1 เมตร
2. ควรจัดทำสวนเมล็ดหรือแหล่งฝักโกงกาง เพราะฝักโกงกางที่ใช้ปลูกในแต่ละปีมีไม่เพียงพอ
3. ควรฝึกอบรมในการปลูกและรักษา และให้ความรู้เรื่องป่าชายเลน ในทุกด้านแก่เอกชนอย่างสม่ำเสมอ
และต่อเนื่อง
4. กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ ทำให้ไม่มีความคล่องตัวในหลายกรณี รัฐควรจะดำเนินการปรับปรุงและแก้ไข
5. การปลูกสวนป่าชายเลนนอกจากไม้โกงกางแล้วควรจะมีไม้อื่นๆด้วย
6. บริเวณพื้นที่อนุรักษ์ควรปลูกไม้อื่นๆด้วยไม่ควรปลูกไม้ชนิดเดียวกันตลอด
3.5 การปลูกและฟื้นฟูป่าชายเลน
           การปลูกป่าชายเลนบนพื้นที่หาดเลนงอกใหม่ การปลูกป่าชายเลนในพื้นที่หาดเลนงอกใหม่ ดำเนิน
มาแล้วและได้ผลดีในหลายจังหวัด จากการศึกษาพบว่าโกงกางใบใหญ่มีการเจริญเติบโตได้ดีและมีอัตรา
การรอดตายสูง โกงกางใบเล็ก แสม เป็นต้น มีการนิยมนำลำพูลำแพนมาปลูก เป็นเสมือนกำแพงไว้ด้าน
หน้าติดทะเล มักจะปลูกต้นไม้ติดกับหลักไม้ไผ่
           การปลูกฟื้นฟูป่าชายเลนบนพื้นที่นากุ้งร้าง ก่อนการปรับปรุงนากุ้งควรทำลายคันนากุ้งเพื่อให้น้ำขึ้น
ลงตามปกติ นากุ้งที่ปล่อยร้างไว้ 2 ปี และเป็นพื้นที่น้ำทะเลท่วมถึงเสมอ พบว่าปลูก โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก ถั่วขาว และโปร่งแดง เป็นต้น จะปลูกได้ผลดีที่สุด นากุ้งร้างที่มีสภาพเป็นพื้นที่ค่อนข้างสูง
ห่างจากทะเล และน้ำท่วมถึงค่อนข้างน้อย ให้ปลูก โกงกางใบใหญ่ และถั่วขาว เป็นต้น
3.5.3 การฟื้นฟูปลูกป่าบนพื้นที่เหมืองร้างเหมืองแร่ร้างนั้นมีศักยภาพในการฟื้นฟูให้เป็นป่าชายเลนขึ้น
มาใหม่จากผลการศึกษา นำพันธุ์ไม้มาปลูก 5 ชนิด คือ โกงกางใบเล็ก แสมดำ โปร่ง ถั่วขาว และตะบูนดำ พบว่าพันธุ์ไม้ที่ปลูกได้ดีคือ แสมและโปร่ง