การจัดการป่าชายเลนในไทย
      

การจัดการป่าชายเลนธรรมชาติ

         พื้นที่ป่าชายเลนเพื่อการจัดการด้านป่าไม้พื้นที่ป่าชายเลนธรรมชาติทั่วประเทศเกือบทั้งหมดได้มีกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดให้ป็นป่าสงวนแห่งชาติและทางกรมป่าไม้ได้จัดวางโครงการให้สัมปทานทำไม้ในป่าชายเลนให้ถูกต้องเพื่ออำนวยผลผลิตทางด้านป่าไม้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องกรมป่าไม้ด้จัดวางโครงการเพื่อการจัดการใช้ประโยชน์ทางด้านป่าไม้ทั้งหมดประมาณ1,186,563 ไร่ โดยภาคใต้และภาคตะวันออก มีการจัดการดังตารางต่อไปนี้

ระบบวนวัฒนวิธีที่ใช้ในป่าชายเลนการใช้ระบบวนวัฒนวิธีกับการจัดการป่าชายเลนของประเทศตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันช่วงก่อนปีพ.ศ.2504วัตถุประสงค์หลักของการใช้ประโยชน์ป่าชายเลนเพื่อผลิตถ่านไม้อย่างเดียวมีผู้สนใจขอสัมปทานเพียงไม่กี่รายแผนการจัดการป่าชายเลนจึงไม่ละเอียดมาก คือ ระบบเว้นแม่ไม้ไว้เพื่อการแพร่พันธุ์ มีรอบฟัน 10-20ปี ปีพ.ศ.2504กรมป่าไม้ได้ปรับปรุงแผนการจัดการป่าชายเลน โดยการผูกขาด และยังคงใช้ระบบเว้นแม่ไม้เอการแพร่พันธุ์ แต่ได้เพิ่มรายละเอียดของแม่ไม้ที่เหลื่อไว้ในแปลงระยะรอบการตัดฟันเป็น15ปีกำหนดแบ่งป่าออกเป็น15แปลงตัดฟันจะมีการประมูลป่าสัมปทานทุกๆ3ปีปีพ.ศ.25042515กรมป่าไม้ได้มีการใช้ระบบวนวัฒนวิธีการตัดฟันแบบเว้นแม่ไม้ไว้เพื่อการสืบพันธุ์ ซึ่งได้กำหนดขนาดต่ำสุดของไม้ไว้ด้วย แต่นักวิชาการพบว่ายังเป็นระบบที่ไม่สามารถควบคุมให้เป็นไปตามหลักวิชาการได้ ดังนั้นในปี พ.ศ. 2523 กรมป่าไม้จึงปรับปรุงแผนการจัดการป่าชายเลนจากวิธีการอนุญาตรายย่อยหรือวิธีการประมูลแบบผูกขาด มาเป็นการขออนุญาตระยะเวลารอบตัดฟัน (rotation) เป็น 30 ปี ระยะเวลารอบหมุนเวียน (felling cycle) 15 ปี ระบบวนวัฒนวิธี"ตัดหมดในแนวสลับ"ที่ใช้ในประเทศไทยระบบที่ปรับปรุงเรียกว่า "ระบบตัดหมดในแนวสลับ" หรือ"Clear Felling in Alternate Strips" ระบบนี้ได้แบ่งแปลงออกเป็น 15 แปลงตัดฟัน แต่ละแปลงตัดฟันจะแบ่งออกเป็นแนว (strip) มีความกว้าง 40 เมตร โดยแนวที่วางนี้จะทำมุม 45? กับ
แนวการไหลของกระแสน้ำ และอนุญาตให้มีการตัดฟันไม้ในแนวเว้นแนวสลับกันไปทั่วทั้งแปลงตัดฟันรายปีในระยะเวลา 15 ปี ระบบการตัดฟันแบบนี้ให้ผลดีทางด้านปฏิบัติและทางวิชาการ จะมีการปลูกได้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

        การจัดการสวนป่าชายเลน การปลูกสวนป่าชายเลนเพื่อเป็นแหล่งไม่ฟืนและเผาถ่าน ยังมีความจำเป็นมาก เพราะวัตถุดิบที่จะนำมาทำเป็นไม้ฟืนได้มาจากการเผาถ่านจากไม้ในป่าธรรมชาติเพียงอย่างเดียวเท่านั้น นอกจากความต้องการในการใช้ฟืนและถ่านมีอยู่มากในประเทศแล้วยังสามารถส่งออกไปต่างประเทศได้อีกด้วย การปลูกป่ามีทั้งทางภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งไม้ส่วนใหญ่ที่นำมาปลูกจะเป็นโกงกาง เพราะเผาถ่านแล้วมีคุณภาพดี ราคาสูง

      การปลูกสร้างสวนป่าชายเลน มี่วิธีการดังนี้

          (1) การเลือกและการเตรียมพื้นที่ปลูก โกงกางใบเล็กสามารถขึ้นได้ในที่ที่มีน้ำทะเลท่วมถึงสม่ำเสมอ บริเวณหาดเลนและพื้นที่ริมฝั่งทะเลจึงเหมาะที่จะปลูกไม้โกงกาง
          (2) ระยะการปลูกและการปลูก การปลูกโกงกางใบเล็กควรจะปลูกเว้นระยะให้ห่างกัน 1-1.5 เมตร จะเจริญเติบโตและให้ผลดีที่สุด และ Aksornkaoe (1975) พบว่าการปลูกโดยเว้นระยะห่าง 1x1 เมตรจะมีการรอดตายถึง 90% การปลูกนั้นเพียงแค่ใช้ฝักของโกงกางปักลงในดินให้ฝังอยู่ในดินประมาณ1 ใน 3 ของความยาวฝัก

          (3) การบำรุงรักษา ช่วง 2 ปีแรกควรกำจัดวัชพืชที่ขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นพวกปรง (Acrostichum spp.) และพวกเถาวัลย์โดยเฉพาะเถาถอบแถบ (Derris trifoliata) และเถากระเพาะปลา (Finlaysonia mariti-ma)บางครั้งอาจพบเหงือกปลาหมอ (Acanthus spp.) การกำจัดควรใช้มีดตัดหรือถอนทิ้ง ไม่ควรใช้ยาฆ่าแมลงเพราะอาจมีผลกับสัตว์น้ำบริเวณนั้นได้การเจริญเติบโตของสวนป่าโกงกางจะลดลงเมื่ออายุ 5-6 ปี หากจำเป็นต้องใช้ไม้อายุมากก็ควรจะตัดสางในช่วงอายุนี้

          (4)โรคและแมลงในป่าโกงกางมีโรคและแมลงน้อยมากเมื่อเทียบกับป่าบกแมลงที่มีบทบาทสำคัญในการทำลายป่าชายเลนคือหนอนผีเสื้อกินใบโกงกาง(Cleorainjectria)เพราะหนอนผีเสื้อชนิดนี้เป็นเหตุให้โกงกางแห้งตายและเนื้อไม้เสื่อมคุณภาพเมื่อนำมาเผาถ่านแมลงอีกอย่างหนึ่งคือมอดปีกแข็งเจาะฝักโกงกาง(Poecilipsfallax)พวกนี้จะเจาะฝักโกงกางและยังเจาะไชหาอาหารบริเวณปลายฝักเป็นเหตุให้ฝักไม่สามารถเจริญเติบโตได้และโกงกางที่ปลูกตายได้สัตว์หน้าดินที่อันตรายจะมีปูแสมโดยที่ปูแสมจะใช้ก้ามของมันกัดรอบๆต้นกล้าไม้โกงกางซึ่งเป็นการตัดท่อน้ำและท่ออาหารที่จะส่งไปที่ใบจนต้นกล้าไม่สามารถที่จะสังเคราะห์อาหารได้จนตายในที่สุด ปัญหาปูแสมนี่มิได้มีเพียงในประเทศไทย ประเทศมาเลเซียเองก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน แม่หอบ (Thalassina anomala) จะสร้างจอมหอบเป็นการปิดทางน้ำ ซึ่งเป็นผลให้การเจริญเติบโตของของไม้โกงกางที่ปลุกชะงักและตายได้ นอกจากนั้นหากปลุกโกงกางใบใหญ่หรือโกงกางใบเล็กบริเวณชายฝั่งทะเลดินเลนงอกใหม่ขะมีเพรียงหิน (Barnacle sp.) ในปัจจุบันยังไม่พบโรคที่ทำอันตรายต่อสวนป่าไม้โกงกางแต่อย่างใด