การใช้วนวิทยาจัดการกับป่าชายเลน
    
    

จุดประสงค์ของวนวิทยา (Silvicuture) คือการศึกษาหาความรู้เรื่องธรรมชาติของต้นไม้
การปลูกต้นไม้และบำรุงดูแลให้ได้ผลผลิตสูงสุด รวมถึงการตัดฟัน (rotation)
โดยระบบวัฒนวิธี (Silvicultural system) เพื่อให้ได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค

     ระบบวนวัฒนวิธีกับการจัดการป่าชายเลนธรรมชาติ(Silviculturalsystemsformanagementofnaturalmangroveforest)การใช้ระบบวนวัฒนวิธีในการจัดการป่าชายเลนมีจุดประสงค์หลายอย่างแต่ที่สำคัญคือเพื่อการใช้ประโยชน์ควบคู่กันไปกับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างเพียงพอและตลอดไปหลังจากการตัดฟันแล้วต้องมีการสืบพันธุ์ที่ดีและป้องกันรักษาสภาพทางนิเวศวิทยาด้วย การใช้ระบบวนวัฒน วิธีสำหรับการจัดการป่าชายเลนนั้น มีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างมากในแถบประเทศเอเชียบางประเทศในแถบแปซิฟิคประเทศในแถบโซนร้อนอัฟริกายังไม่มีการจัดการเรื่องป่าชายเลนอย่างจริงจังจึงไม่มีวนวัฒนวิธีที่ใช้อย่างจริงจังแถบประเทศในทางลาตินอเมริกาก็มิได้ทำกันอย่างจริงจังยกเว้นประเทศเวเนซูเอลาซึ่งมีการจัดการที่ค่อนข้างทันสมัยในประเทศพม่าสาธารณรัฐเวียดนามปาปัวนิวกินีฟิจิก็มีการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนในด้านป่าไม้เพื่อทำฟืนทำถ่านและอื่นๆแต่มิได้มีการกำหนดระบบวนวัฒนวิธีและทำแผนการจัดการที่แน่นอน แต่อย่างไรก็ตามในประเทศเหล่านี้กำลังมีการวางแผนอย่างละเอียดในการจัดการป่าชายเลน ในประเทศแถบลาตินอเมริกาและอัฟริกาบางประเทศใช้การตัดฟันแบบเลือกตัดเพื่อทำฟืนและเผาถ่านประเทศท่อนุรักษ์ป่าชายเลนเพื่อการป้องกันชายฝั่งและเพื่อการประมงเพียงอย่างเดียวโดยมิได้คำนึงถึงการใช้ประโยชน์ในทางผลผลิตด้านป่าไม้ ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศญี่ปุ่น และอีกหลายปรเทศในแถบลาตินอเมริกาและอัฟริกา

      ระบบวนวัฒนวิธีกับการจัดการสวนป่าชายเลน (Silvicultural system for management of natural mangrove plantation)การจัดการป่าชายเลนในประเทศต่างๆยงมิได้มีการกำหนดใช้ระบบวนวัฒนวิธีในการทำไม้ที่แน่นอน เนื่องจากว่าการปลูกป่าเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ในเชิงเศรษฐกิจ ยังไม่มีประเทศใดดำเนินการจนถึงขั้นตัดฟันครั้งสุดท้าย แม้แต่ในประเทศมาเลเซียที่มีการปลูกป่าชายเลนมานานแต่การจัดการสวนป่าก็เป็นส่วนหนึ่งในวิธีของการจัดการป่าชายเลนธรรมชาติเท่านั้น