|
ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่ค่อนข้างจะมีลักษณะพิเศษ
เป็นเอกภาพเนื่องจากป่าประเภทนี้ขึ้นอยู่เฉพาะ
ในแถบร้อนและอยู่ตามชายทะเลระหว่างบริเวณที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุด
และที่ลงต่ำสุดองค์ประกอบและกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศป่าชายเลน
ในทุกแห่งทั่วโลกมีลักษณะคล้ายกันระบบนิเวศป่าชายเลนประกอบด้วย |
องค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน
เช่นเดียวกับระบบนิเวศประเภทอื่นๆทั่วไปคือ
องค์ประกอบส่วนที่เป็นโครงสร้างของระบบนิเวศ และส่วนที่เป็นความสัมพันธ์ในแง่อาหารและการถ่ายทอดพลังงานเท่านั้น
1.โครงสร้างระบบนิเวศป่าชายเลน โครงสร้างระบบนิเวศป่าชายเลน
มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ |
|
1.โครงสร้างระบบนิเวศป่าชายเลน
โครงสร้างระบบนิเวศป่าชายเลนมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1.1 ผู้ผลิต (producer) คือ พวกที่สร้างอินทรีย์สาร
โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้แก่
แพลงตอนพืช สาหร่าย และพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆในป่าชายเลน
|
|
1.2
ผู้บริโภค (consumers) สามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆดังนี้
1) กลุ่มผู้บริโภคหรือกินอินทรีย์สาร
ได้แก่ สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก และพวกหอยฝาเดียว รวมไป ถึงพวกปลาบางชนิด |
|
2)
กลุ่มผู้บริโภคหรือกินพืชโดยตรง พวกนี้จะกินทั้งพืชโดยตรง เช่น
แพลงตอน สัตว์ปู ไส้เดือนทะเล และปลาบางชนิด เป็นต้น |
|
3) กลุ่มผู้บริโภคหรือกินสัตว์
ซึ่งรวมถึงพวกกินสัตว์ระดับแรก
หรือระดับต่ำได้แก่ พวกกุ้ง ปู ปลา ขนาดเล็ก และพวกนกกินปลาบางชนิด ส่วนพวกกินสัตว์ระดับสูงสุดหรือยอด
ได้แก่ ปลาขนาดใหญ่ นก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และที่สำคัญที่สุดคือมนุษย์นั่นเอง |
|
4)
กลุ่มบริโภคกินทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่ปลาบางชนิด แต่ส่วนใหญ่สัตว์กลุ่มนี้มักจะกินพืชมากกว่ากินสัตว์
|
|
1.3
ผู้ย่อยสลาย (decomposers) ได้แก่ แบคทีเรีย รา และพวกคัสเตเชียน
|
|
2.ความสัมพันธ์ในแง่อาหารและการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศป่าชายเลนในป่าชายเลนโซ่อาหารแบ่งออกได้เป็น2
แบบใหญ่ๆคือแบบแรกเป็นลูกโซ่อาหารที่เริ่มจากพืชสีเขียวไปสู่สัตว์ชนิดอื่นในระดับอาหารต่างๆที่สูงกว่า
ซึ่งเรียกว่า
grazing food chainและแบบที่สองเป็นลูกโซ่อาหารที่เริ่มจากอินทรีย์สารไปสู่สัตว์ชนิดอื่นๆในระดับอาหาารที่สูงกว่า
เรียกว่า detrital food chain ความสัมพันธ์ในแง่อาหารหรือการหมุนเวียนของธาตุอาหารและการถ่ายทอดพลังงาน
ในระบบนิเวศป่าชายเลนเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนพอสมควร แต่อย่างไรก็ตาม
พอจะอธิบายเข้าใจได้ง่ายๆคือ
|
|
เริ่มแรกเมื่อพันธุ์พืชชนิดต่างๆที่อยู่ในป่าชายเลนได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสง
ทำให้เกิดอินทรีย์วัตถุและการเจริญเติบโตขึ้นโดยเรียกพวกนี้ว่า ผู้ผลิต
ส่วนของต้นไม้โดยเฉพาะใบไม้ กิ่งไม้ และเศษไม้ นอกเหนือจากส่วนที่เป็นลำต้น
ซึ่งมนุษย์นำไปใช้ประโยชน์จะร่วงหล่นทับถมในน้ำและดิน และในที่สุดก็กลายเป็นแร่ธาตุอาหาของพวกจุลชีวัน
หรือเรียกว่า ผู้บริโภค พวกผู้บริโภคจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและก็จะกลายเป็นอาหารของพวกกุ้ง
ปู และปลาขนาดใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆตามลำดับ
หรือบางส่วนก็ตายและผุ
สลายตัวเป็นธาตุอาหรสะสมอยู่ในป่านั่นเอง และในขั้นสุดท้ายพวกกุ้ง
ปู และปลาขนาดใหญ่ก็จะเป็นอาหารโปรตีนของพวกสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า
และของพวกมนุษย์ ซึ่งถือเป็นอันดับสุดท้ายของลูกโซ่อาหาร หรือเป็นอันดับสูงสุดของการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศนั่นเอง
|
|
3.ความสมดุลในระบบนิเวศสรรพสิ่งที่มีชีวิตต่างๆที่ธรรมชาติสร้างขึ้น
ล้วนแล้วแต่ถูกกำหนดให้ทุกอย่างสมดุลกัน ระบบนิเวศในป่าชายเลนก็เช่นเดียวกัน
หากปราศจากการรบกวนของมนุษย์และภัยธรรมชาติ ที่มาคุกคามแล้ว สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ก็สามารถปรับให้เกิดความสมดุลของระบบได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันสภาพป่าชายเลนทั่วโลกได้ถูกรบกวนจากมนุษย์ทำให้สภาพป่า
ได้สูญเสียความสมดุล และเสื่อมโทรมลงไป |
|
การบุกรุกทำลายป่าเป็นประเด็นหลักในการรบกวนและทำลายระบบนิเวศอย่างรุนแรง
นอกจากนี้การทำการเกษตร |
|
การทำเหมืองแร่
การขยายตัวของชุมชนการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมนับเป็นกิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้เกิดความ
เสื่อมโทรมในระบบนิเวศทั้งสิ้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นเหล่านี้ จะต้องมีการวางนโยบายที่ถูกต้องในการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน เพื่อเป็นการอนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ให้มีอยู่อย่างสมบูรณ์ตลอดไป
|