ระบบนิเวศคืออะไร

 

 

คำว่า "นิเวศ" หรือตรงกับภาษาอังกฤษว่า "ecology" หมายถึงวิชาที่ว่าด้วย ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม  สิ่งมีชีวิตในที่นี้  หมายถึง สิ่งมีชีวิตทุกชนิดรวมทั้งพืชและสัตว์ ส่วนสิ่งแวดล้อม หมายถึง ทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา ซึ่งแยกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ

  1.สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ อันได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ภูมิอากาศดินและลักษณะภูมิประเทศ สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ อันได้แก่ พืช สัตว์ และมนุษย์

2.สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นเช่นเกี่ยวกับสังคมเศรษฐกิจการเมืองและวัฒนธรรมเป็นต้น"นิเวศวิทยา" หรือ "ecology" นี้เป็นศัพท์ที่ค่อนข้างใหม่สำหรับบ้านเรา  แต่ความจริงแล้วคำนี้เริ่มนำมาใช้เป็นศัพท์ทางด้านวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2412 โดยรวมคำกับภาษากรีกเข้าด้วยกันสองคำคือ "oikos" ซึ่งแปลว่า ที่อยู่หรือบ้าน กับ "ology" ที่แปลว่า การศึกษา ฉะนั้นความหมายรวม หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับที่อยู่หรือบ้านนั้นเอง

"ระบบนิเวศ" หรือตรงกับภาษาอังกฤษว่า "ecosystem"  นั้น เริ่มใช้กันไม่นานนัก โดยประมาณปี พ.ศ.2478 โดยนักนิเวศวิทยาชาวอังกฤษชื่อ A.G.Tansley แต่ในปัจจุบันคำว่า ระบบนิเวศหรือ ecosystem นี้ใช้กันอย่างแพร่หลายเกือบทุกสาขาสำหรับความหมายของระบบนิเวศหมายถึงระบบที่มีลักษณะค่อนข้างสลับซับซ้อนของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันและมีการกระทำร่วมกันไม่ว่าจะระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกันหรือสิ่งที่ไม่มีชีวิในอาณาเขตที่ไม่แน่นอน การศึกษาในระบบนิเวศของสังคมใดสังคมหนึ่งนั้นย่อม  ประกอบด้วยการศึกษา 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ลักษณะโครงสร้าง และการศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่และกิจกรรม

ลักษณะโครงสร้างของระบบนิเวศระบบนิเวศทุกประเภทย่อมมีพื้นฐานองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ลักษณะโครงสร้าง ซึ่งพอแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่คือ 1.ส่วนประกอบอชีวันหรือสิ่งไม่มีชีวิตได้แก่พวกธาตุอาหารเกลือแร่น้ำและพวกอินทรีย์วัตถุเช่นพวกซากพืชซากสัตว์ซึ่งจะถูกพวกจุลชีวันสลายตัวไปในที่สุด ซึ่งพวกสารต่างๆดังกล่าวนี้จะมีปริมาณมากหรือน้อยเปลี่ยนแปรไปตามแต่ละสถานที่นอกจากนี้สภาพภูมิอากาศก็เป็นส่วนที่สำคัญอันหนึ่งในองค์ประกอบอชีวันอีกด้วยเช่นอุณหภูมิแสงฝนความชื้นในทำนองเดียวกันสภาพสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ก็แปรเปลี่ยนไปตามแต่ละสภาพพื้นที่เช่นเดียวกั

2.ส่วนประกอบชีวันหรือสิ่งมีชีวิต องค์ประกอบชีวันหรือสิ่งที่มีชีวิตในระบบนิเวศ จำแนกออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ       

 

2.1 ผู้ผลิต หมายถึง พวกที่สร้างอินทรีย์สารโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และอนินทรีย์สารจากสิ่งแวดล้อมขึ้นใช้เองได้ ผู้ผลิตนี้ส่วนใหญ่เป็นพืชที่มีคลอโรฟิลด์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ อาจจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้ เช่น พวกขนาดเล็กซึ่งใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดู ได้แก่ พวกไดอะตอม พวกแพลงตอนพืชชนิดต่างๆ และพวกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมา เช่น พวกสาหร่าย และพวกสุดท้ายที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ต้นไม้ ต้นหญ้า เป็นต้น 2.2 ผู้บริโภค หมายถึงพวกที่ต้องพึ่งพาอาศัยพวกอื่นในการสังเคราะห์อาหารเพราะตัวเองไม่สามารถสร้างอินทรีย์สารได้ ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกได้แก่ พวกที่กินพืชเป็นอาหาร กลุ่มที่สองพวกที่กินสัตว์เป็นอาหาร ส่วนกลุ่มสุดท้ายเป็นพวกอยู่นอกเหนือจากทั้งสองประเภทที่กล่าวมา คือ พวกกินได้ทั้งพืชและสัตว์

2.3 ผู้ย่อยสลาย หมายถึง พวกจุลชีวันทั้งหลายที่จะช่วยในการทำลายหรือย่อยสลายซากพืชและซากซากสัตว์ให้เน่าเปื่อยผุพัง