การปรับตัวของสัตว์หน้สดินในป่าชายลน

ลักษณะความร่วนซุยและชนิดของดินตะกอน
          ลักษณะความร่วนซุยและชนิดของดินตลอดจนชนิดของดินโคลนหรืดดินทรายนั้นจะควบคุมปริมาณออกซิเจนในดินระดับใต้น้ำและปริมาณอินทรีย์สารสูงกว่าในดินทรายที่มีอนุภาคขนาดใหญ่กว่าปูลมและปูก้ามดาบจะมีการกินอาหารแบบที่เลือกอินทรีย์สารจากดินทรายรยางค์ส่วนปากของมันจะมีลักษณะเฉพาะเพื่อใช้เลือกอาหารพวกอินทรีย์สารและจุลชีพจากตะกอนดินที่มีอนุภาคต่างๆกันความร่วนซุยของดินตะกอนนอกจากมีความสำคัญเรื่องปริมาณอินทรีย์สารที่เป็นแหล่งอาหารของสัตว์ทะเลหน้าดินแล้วยังมีความสำคัญในเรื่องการขุดฝังตัวของสัตว์ทะเลหน้าดินเพื่ออยู่อาศัยหรือหลบหลีกศัตรูรูของปูก้ามดาบและปูแสมจะมีลักษณะแตกต่างกันไปตามลักษณะของดินตะกอนถึงแม้ว่าป่าชายเลนจะมีปริมาณอินทรีย์สารในดินในรูปของใบไม้ที่ตกทับถมมากก็ตามแต่สัตว์ทะเลหน้าดินมักไม่พึ่งอาหารจากอินทรีย์สารอย่างเดียวหรือพึ่งเฉพาะพืชสีเขียวเพียงอย่างเดียวปูแสมหลายชนิดเมื่อผ่าตัดกระเพาะอาหารพบซากใบไม้ปะปนกับซากสัตว์พวกครัสตาเซียนแสดงว่าปูเหล่านี้กินพวกครัสตาเซียนเป็นครั้งคราวนอกเหนือจากพวกใบไม้เช่นเดียวกับพวกกุ้งทะเลได้แก่พวกแพลงก์ตอนพืชอินทรีย์สาร ครัสตาเซียน ฟอแรมมินิเฟอรา ไส้เดือนทะเล หอยและปลา

 

ความเค็มของน้ำและความเค็มในดิน
          ความเค็มมีความสำคัญในการกำหนดของเขตการกระจายของสัตว์ทะเลหน้าดินเช่นปูก้ามดาบทั้งนี้ขึ้นกับความทนทานของสัตว์แต่ละชนิดต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มปูก้ามดาบและปูแสมจะมีความสามารถในการควบคุมน้ำและเกลือแร่ภายในตัวได้ดีคือเมื่อความเค็มของน้ำที่มันอาศัยอยู่ลดต่ำลงเนื่องจากปริมาณน้ำจืดหรือปริมาณน้ำฝนไหลลงมามากปุพวกนี้จะปรับให้ความเข้มข้นของของเหลวภายในตัวมันหรือภายในเลือดให้สูงกว่าปริมาณความเข้มข้นของสารละลายภายนอกและในทางกลับกันเมื่อความเค็มของน้ำภายนอกสูงขึ้นเนื่องจากน้ำขึ้นหรือน้ำทะเลหนุนมันจะมีความเข้มข้นของเกลือแร่ภายในเลือดต่ำกว่าน้ำภายนอกนอกจากนี้ปูก้ามดาบหรือปูแสมจะมีกระดองหรือเปลือกหุ้มที่ตจะช่วยลดการสัมผัสของตัวปูเองกับน้ำทะเลภายนอกรูของปูก้ามดาบจะช่วยป้องกันตัวปูเองจากสภาพภายนอกที่มีความเค็มหรืออุณหภูมิเกินไปนอกเหนือจากการป้องกันตัวมันเองจากศัตรูในรูปูมักมีน้ำขังเป็นแอ่งซึ่งมีความเค็มสูงปูก้ามดาบหลังจากขึ้นมาหากินพักหนึ่งก็วิ่งลงรูเพื่อแช่น้ำในแอ่งน้ำที่ขังอยู่นอกจากมันจะได้รับความชื้นแล้วยังเป็นการรักษาระดับเกลือแร่ในตัวให้คงที่อีกด้วยสภาวะอุณหภูมิสูงและสภาวะการสูญเสียน้ำจากตัวปูป่าชายเลนส่วนใหญ่จะสร้างรูเพื่อป้องกันตัวเองจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและความเค็มตลอดจนศัตรูของมันปูจะวิ่งลงรุเป็นระยะๆเวลาหาอาหารในช่วงน้ำลงเพื่อให้ได้ความชื้นและแก้ปัญหาการสูญเสียน้ำจากตัวมันนอกจากนี้กระดองของปูยังช่วยป้องกันตัวของมันด้วยกลยุทธ์อีกประการหนึ่งที่ปูใช้เพื่อต่อสู้กับสภาวะอุณหภูมิสูงโดยเฉพาะช่วงน้ำตายซึ่งน้ำจะลงเป็นช่วงเวลานานมากคือมันจะพยายามรักษาอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าอุณหภูมิภายนอก

 

ปริมาณออกซิเจนและปริมาณซัลไฟด์ในดิน
          ปริมาณออกซิเจนในป่าชายเลนมักจะต่ำเนื่องจากเกิดกระบวนการย่อยสลายอินทรีย์สารโดยจุลชีพเกิดขึ้นตลอดเวลา สัตว์ในป่าชายเลนจะต้องผ่านระยะที่โผล่พ้นน้ำในขณะที่น้ำลงและระยะที่จมใต้น้ำในขณะที่น้ำขึ้น ซึ่งต้องทำให้ต้องปรับเรื่องการหายใจให้สามารถหายใจได้โดยใช้ออกซิเจนจากอากาศหรือใช้ออกซิเจนที่ละลายในน้ำ นอกจากปริมาณออกซิเจนต่ำแล้วยังพบว่าชั้นดินมักเป็นสีดำของสารประกอบซัลไฟด์ สัตว์ทะเลหน้าดินนอกจากจะปรับตัวโดยหายใจที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำแล้วยังทนทานต่อสารประกอบซัลไฟด์ด้วยการที่สัตว์จะทนทานได้ต่อสารประกอบซัลไฟด์มากน้อยแค่ไหนขึ้นกับสภาพแวดล้อมในแหล่งที่อาศัยของมัน ลักษณะผิวหนังและเปลือกหุ้มตัวที่ป้องกันไม่ให้สารประกอบซัลไฟด์ซึมเข้าไปในตัวมันและความสามารถในการกำจัดสารพิษจากตัวมันเอง สัตว์จำพวกครัสตาเซียนโดยเฉพาะกุ้งกุ้งดีดขันและปูที่ทนต่อสารประกอบซัลไฟด์ได้มากเนื่องจากมันมีเปลือกหุ้มเป็นสารประกอบพวกไคติน (chitin)