ฝาดดอกขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lumnitzera racemosa
วงศ์ COMBRETACEAE
ชื่ออื่น ฝาด (กลาง, ใต้), ขวาด (สมุทรสาคร), กะลูง (ชุมพร)

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 8 เมตร เปลือกขรุขระ สีน้ำตาลแดง มีรากหายใจไม่เด่นชัด

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบกิ่ง กระจายตลอดกิ่ง แผ่นใบแคบ รูปไข่กลับ ขนาด 1-3 x 3-9 ซม. ปลายใบกลมเว้าตื้น ๆ ฐานใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ หรือหยักมนถี่ แผ่นใบสีเขียวอ่อน ก้านใบสั้นมาก

ดอก ออกที่ปลายกิ่งและง่ามใบ เป็นช่อเชิงลด คล้ายช่อกระจะ ยาว 2- 3 ซม. ไม่มีก้านดอก ฐานรองดอก และหลอดกลีบเลี้ยงรูปท่อ แบนด้านข้าง ยาว 0.6-0.9 ซม. แคบลงทางส่วนปลาย ใบประดับย่อย 2 ใบ รูปไข่กว้าง เชื้อมติดกับ ฐานรองดอกในทิศตรงข้าม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สั้น มาก รูปไข่กว้าง เชื่อมติดกับ ฐานรองดอกในทิศทางตรงข้าม กลีบเลี้ยง 54 กลีบ สีขาว รูปรีแคบ ถึงรูปใบหอก เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาวเท่าๆกัน กับกลีบดอก

ผล รูปทรงรี แบนด้านข้าง มีเหลี่ยมมน ขนาด 0.3-0.5 x 1-1.3 ซม. ผิวผลเกลี้ยง หรือมีขนละเอียดสั้นนุ่ม

การเจริญเติบโต ขึ้นตามพื้นที่ราบหาดเลนน้ำท่วมถึงหรือขึ้นเป็นกลุ่มเป็นใหญ่ เมื่อพื้นที่ ป่าเดิมถูกทำลายไป โดยเฉพาะพื้นที่ที่ มีการระบายน้ำดี และดินไม่เป็นทราย มากนัก